พัฒนาการวรรณกรรมอาหรับ

Authors

  • มานพ อาดัม อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

อวิชชา, อุมาวีย์, อับบาซีย์, อันดะลุส, ออตโตมัน, ignorance, Umayyad, Abbasid, Andalusia, Ottoman

Abstract

วรรณกรรมอาหรับมีมาตั้งแต่ยุคอวิชชา เนื้อหางานวรรณกรรมจะแสดงออกเป็นบทกวีที่มีลักษณะเรียบง่ายเป็นธรรมชาติปราศจากตรรกะ เป็นการแสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมา เมื่ออิสลามเข้ามาทำให้งานวรรณกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม ศีลธรรมและจริยธรรมถูกนำมาเป็นบรรทัดฐานในงานกวีศิลป์ ยุคอุมาวีย์ วรรณกรรมอาหรับได้พัฒนาขึ้นมาหลายๆ ด้านด้วยกันอย่างบทกวี การกล่าวสุนทรพจน์ นอกจากนี้ยังเกิดศิลปะแขนงใหม่เรียกว่าอันนะกออิฎ (النقائض) คือการโต้ตอบกันทางบทกวีโดยใช้กาพย์กลอนที่สัมผัสเดียวกัน เพื่อหักล้างฝ่ายตรงข้าม ต่อมายุคอับบาซีย์ถือว่าเป็นยุคทองของวรรณกรรมอาหรับทางด้านบทกวี การกล่าวสุนทรพจน์ งานเขียน งานแปล ตรรกะในงานวรรณกรรมเริ่มซับซ้อน การใช้ปรัชญาความคิด การเปรียบเทียบ การอุปมัยเริ่มเกิดขึ้นในบทกวี ถัดมายุคอันดะลุส เอกลักษณ์ของบทกวีคือการใช้คำและความหมายที่ง่ายชัดเจนมีการเปรียบเทียบและการขอยืมคำ การจินตนาการ ศิลปะแขนงใหม่ที่เกิดขึ้นเรียกว่า อัลมุวัชชะฮาต (الموشحات) คือศิลปะแขนงหนึ่งของชาวอันดะลุซีย์ที่รู้จักกันดี ต่อมาศิลปะแขนงนี้ถูกนำมาใช้ในวรรณกรรมตะวันออกและถือเป็นมรดกทางวรรณกรรมอาหรับ ถัดมายุคออตโตมัน วรรณกรรมอาหรับไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เป็นการสืบทอดมรดกทางวรรณกรรมและวัฒนธรรมมากกว่า ผลงานทางด้านกวีศิลป์ ไม่โดดเด่น วรรณกรรมได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในยุคใหม่ ผลงานของนักเขียน นักประพันธ์ จากไคโร ดามัสกัส เบรุต ที่สร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมอาหรับร่วมสมัย อย่างการเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร และอิทธิพลวรรณกรรมตะวันตกและยุโรปที่ได้เข้ามาผสมกับวรรณกรรมอาหรับ ทำให้งานเขียนวรรณกรรมมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปัจจุบัน


The Development of Arabic Literature

Manop Adam

Lecturer, Department of Eastern Languages, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

Arabic literature has existed since the Era of Ignorance (Jahiliah). It was written in a simple and natural poetic style without logic. It expressed genuine, internal feelings. However, it changed after the expansion of Islam. Morals and ethics were deemed the standard for poetic art in the Umayyad Era. The style of Arabic literature became richly varied with forms such as poetry, speech, and a brand new style of writing called AL-Naqa-id, which is a call-and-response poem to rebut the opposition in an argument, using a single rhyme throughout. Next came the Abbasid Era, the golden age of Arabic literature, which included poetry, speech, general writing, and translation. The logic employed in literature became more sophisticated. Also, philosophical thoughts, analogy, and simile prevailed in literary works. Following that was the Andalusia Era. The distinguishing characteristics of poetry in this period lay in the use of simple and understandable words embracing comparisons and loanwords and in imagination. Also, AL-Muwashahat, an avant-garde form belonging to the Andalusi people, became widespread and was later adapted in Eastern literature. Thus, it can be considered part of the heritage of Arabic literature. Later, during the Ottoman Era, Arabic literature was not fully developed; still, cultural and literary heritage was passed on although the poetic art was not outstanding. Literature, however, revived in the New Era. Authors from various places like Cairo, Damascus, and Beirut contributed to contemporary Arabic literature. European and Western styles of writing short stories, novels, and plays became more influential and blended with Arabic literature, resulting in the distinctive character of Arabic literature and its development up till now.


Downloads

How to Cite

อาดัม ม. (2016). พัฒนาการวรรณกรรมอาหรับ. Journal of Letters, 43(1), 159–181. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/49242