ทิศ ในวรรณคดีสันสกฤตและพุทธศาสนา

Authors

  • ณัชพล ศิริสวัสดิ์ นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

Keywords:

ทิศ, ทิศทาง, สถานที่, วรรณคดีสันสกฤต, วรรณคดีพุทธศาสนา, diś, direction, region, Sansktit literature, Buddhist literature

Abstract

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องทิศที่ปรากฏในวรรณคดีสันสกฤตและพุทธศาสนาเพื่อให้ทราบถึงลักษณะเหมือน ลักษณะคล้ายและลักษณะต่างของแนวคิดดังกล่าวในวรรณคดีทั้งสองอันจะเป็นพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องทิศในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่า ความหมายพื้นฐานของทิศที่ปรากฏในวรรณคดีทั้งสองมี  2 ความหมาย กล่าวคือ ทิศในความหมายแรก หมายถึง ทิศทาง ทิศทางในวรรณคดีสันสกฤตมีนัยถึงทิศทางบนท้องฟ้าและทิศทางบนพื้นดินหรือพื้นโลก ส่วนในวรรณคดีพุทธศาสนากล่าวถึงทิศทางบนพื้นดินหรือพื้นโลกเป็นสำคัญ มุมมองการมองทิศที่ปรากฏในวรรณคดีสันสกฤตและพุทธศาสนามีอยู่ 2 มิติ ได้แก่ การมองทิศในมิติแนวราบ หรือ แนวนอน และการมองทิศในมิติแนวดิ่ง หรือ แนวตั้ง มุมมองการมองทิศดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องโลกของแต่ละศาสนาโดยมีผู้พูดและเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ทิศจึงมีจำนวน คำเรียกชื่อ และการแปลความหมายที่แตกต่างกันออกไปตามแต่มุมมองและบริบทที่ถูกกล่าวถึง จำนวนทิศที่ปรากฏในวรรณคดีสันสกฤตและ พุทธศาสนามีทั้งลักษณะเหมือน ลักษณะคล้ายและลักษณะต่าง ส่วนคำศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อทิศในวรรณคดีทั้งสองมีลักษณะเป็นคำร่วมเชื้อสายกัน โดยคำเรียกชื่อทิศในวรรณคดีสันสกฤตสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวอารยันในการบูชาพระอาทิตย์และลักษณะภูมิศาสตร์สำคัญบางประการของดินแดนชมพูทวีปในสมัยโบราณ ทิศในความหมายที่สอง หมายถึง สถานที่ มีนัยถึงดินแดนที่อยู่บนโลก บรรยากาศ และสวรรค์อันมีความสัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องโลกเช่นกัน นอกเหนือจากความหมายพื้นฐานดังกล่าว ทิศในวรรณคดีพุทธศาสนายังมีความหมายในเชิงอุปลักษณ์เกี่ยวกับหลักธรรมคำสอน นอกจากนี้ ยังพบว่าในวรรณคดีทั้งสองต่างก็มีความคิดว่าทิศต่างๆ มีสิ่งต่างๆ อยู่ประจำทิศเพื่อพิทักษ์คุ้มครองรักษาทิศเหล่านั้น

 

Diś in Sansktit and Buddhist Literature

Natchapol Sirisawad

M.A. students (Pali and Sanskrit), Department of Eastern Languages, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

The purpose of this article was to compare the concept of diś in Sanskrit and Buddhist literatures in order to find the similarities, resemblances, and differences which may be helpful to understand the concept of diś in Thai. The study revealed that the fundamental meanings of diś in both literatures mainly concerned direction and region. Firstly, diś as direction in Sanskrit literature denoted a quarter of the sky and a quarter of the earth whereas in Buddhist literature it denoted mainly a quarter of the world. In both literatures, there were two dimensions of direction including horizontal and vertical as viewed by a speaker and Mount Meru in centric depending on the context. As these two dimensions were related to the concept of the world of each religion, diś was, therefore, different in numbers, names, and meanings depending on the viewpoint of dimensions and contexts. Similarities, resemblance, and differences in the number of the direction were found in both literatures. While the names of the direction in Buddhist and Sanskrit literature were cognate words, the names of the direction in Sanskrit literature also reflected the primitive Āryan religion in sun-worshiping and the geography of ancient India. The second meaning of diś was identified with the region of the world, air, and heaven which also related to the concept of the world. Besides the two fundamental meaning, the concept of diś in Buddhist literature was used as metaphor in Buddhist doctrine. Moreover, both literatures had the concept of the guardians of the direction.

 

Downloads

How to Cite

ศิริสวัสดิ์ ณ. (2016). ทิศ ในวรรณคดีสันสกฤตและพุทธศาสนา. Journal of Letters, 43(1), 1–66. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/49236