แปล(ง) เรื่องให้เป็นเรื่อง: ภาษาศาสตร์ระบบ-หน้าที่กับ ความตลกในบทละครฝรั่งเศส เรื่อง เดอ กัว ซาฌี ติล (De quoi s’agit-il?) ของ ฌ็อง ตาร์ดิเยอร์ (Jean Tardieu)

Authors

  • ปาลิตา จุนแสงจันทร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

บทละครสุขนาฏกรรม, การแปลง, การแปล(ง), ภาษาศาสตร์ระบบ-หน้าที่, สัมพันธสารวิเคราะห์ในงานแปล, Comedy, Adaptation, Tradaptation, Systemic Functional Linguistic, Discourse Analysis in Translation

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงว่าการแปลตัวบทวรรณกรรมที่นำเอาระบบและลักษณะเฉพาะของภาษามาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินเรื่องและถ่ายทอดนัยสำคัญ  ทางความคิดและวัฒนธรรม ไม่อาจทำได้ด้วยการแปลแบบเน้นความเท่าตรงตามหน่วยของภาษาต้นฉบับ ผู้ศึกษาเลือกนำบทละครสุขนาฎกรรมภาษาฝรั่งเศสเรื่อง เดอกัว ซาฌี ติล (De quoi s’agit-il?) เขียนโดย ฌอง ตาร์ดิเยอร์ (Jean Tardieu) มาใช้เป็นตัวบทศึกษา เนื่องจากเป็นบทละครที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจผิดอันเกิดจากการสื่อสารด้วยภาษาฝรั่งเศสที่มีระบบการแยกเพศ (gender) และพจน์ (number) ของคำนาม และระบบการใช้สรรพนามเดียวกันเพื่อเรียกแทนคำนามเพศเดียวกันแม้จะสื่อความหมายถึงสิ่งที่ต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าบทละครดังกล่าวที่ดำเนินเรื่องราว  ความตลกผ่านการเล่นกับลักษณะของภาษาฝรั่งเศส และใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดแนวคิดเรื่องความไร้ประสิทธิภาพในการสื่อสารของตัวภาษานั้น ไม่สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้โดยการแปลแบบเท่าตรงตามหน่วยคำของภาษาต้นฉบับแต่สามารถเลือกใช้วิธีแปลทางเลือกหรือการ “แปล(ง)” ตัวบท (Tradaptation) ที่เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างการดัดแปลง (adaptation) กับการแปล (translation) เป็นรูปแบบการแปลที่ไม่เท่าตรงในส่วนของความหมายระหว่างหน่วยคำในสองระบบ แต่เป็นการแปลที่พยายามคงวัตถุประสงค์และแนวคิดสำคัญของผู้เขียนเอาไว้ให้ได้มากที่สุด จากวัตถุประสงค์หลักของการแปลทางเลือกดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงนำเอาภาษาศาสตร์ระบบ-หน้าที่ (Systemic Functional Linguistic) โดย ไมเคิล ฮัลลิเดย์ (Michael Halliday) มาช่วยวิเคราะห์สัมพันธสารในบทละครก่อนการแปล(ง) เพื่อเผยวาทกรรมและชุดความคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้การเล่นกับตัวภาษา การแปลทางเลือกและการใช้ภาษาศาสตร์ระบบ-หน้าที่เพื่อเผยชุดความคิดของผู้วิจัยมุ่งนำเสนอการแปลสู่ทางเลือกอื่นและนำเสนอลักษณะการแปลที่คำนึงถึงทั้งมิติทางวัฒนธรรมและความเป็นไปได้ที่ผู้อ่านจะได้รับแนวคิดแบบเดียวกับผู้อ่านในภาษาต้นฉบับ รวมไปถึงได้รับอรรถรสตามที่ตัวบทต้นฉบับได้นำเสนอด้วย


Tradaptation: Systemic Functional Linguistic and Humor in Jean Tardieu’s comedy “De quoi s’agit-il?”

Palita Chunsaengchan

Faculty of Arts, Chulalongkorn University

This article intends to demonstrate that a literary translation of a text, in which the story, cultural references and significant meanings are constructed by specific linguistic elements, cannot be translated by the literal methods and equivalence to the original text. The French comedy “De quoi s’agit-il?” written by Jean Tardieu was chosen to be the case study in this research. This play is about a misunderstanding between characters which is caused by the ambivalent use of the French language. The humor produced by these linguistic elements cannot be translated word-for-word or sense-for-sense. The article aims, also, introduce an alternative method for such a difficult translation; the Tradaptation. Since this latter concept deals with both the translation and the adaptation, it has been obligatory to analyze the implicit meanings within the use of language. Systemic Functional Linguistic (SFL) by Michael Halliday is used here as a tool for discourse analysis in the translation before the process of Tradaptation. In this regard, this research hopes to contribute to a broader perspective for translation and its socio-cultural aspects.

Downloads

How to Cite

จุนแสงจันทร์ ป. (2016). แปล(ง) เรื่องให้เป็นเรื่อง: ภาษาศาสตร์ระบบ-หน้าที่กับ ความตลกในบทละครฝรั่งเศส เรื่อง เดอ กัว ซาฌี ติล (De quoi s’agit-il?) ของ ฌ็อง ตาร์ดิเยอร์ (Jean Tardieu). Journal of Letters, 43(2), 61–104. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/48898