ความเหมือนที่แตกต่าง: หุ่นยนต์และแอนดรอยด์ในกระแสการเรียกร้องความเท่าเทียม

Authors

  • อรรถพล ปะมะโข นิสิตปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย
  • สุรเดช โชติอุดมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

หุ่นยนต์, แอนดรอยด์, ทศวรรษ 1960, ความเท่าเทียม, พลเมืองชั้นสอง, Robots, Androids, 1960s, Equality, and Second-class Citizens

Abstract

โดยทั่วไปแล้วบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์หรือแอนดรอยด์มักนำผู้อ่านไปเผชิญหน้ากับเครื่องจักรในฐานะ “สิ่งอื่น” ที่มนุษย์ไม่คุ้นเคย หุ่นยนต์ในเรื่องสั้น “Epilogue” และแอนดรอยด์ในนวนิยายเรื่อง Do Androids Dream of Electric Sheep? จึงทำหน้าที่เป็นอุปลักษณ์แทนพลเมืองชั้นสองในสังคมอเมริกันช่วงทศวรรษ 1960 ได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากพลเมืองชั้นสองคือ “สิ่งอื่น” สำหรับคนผิวขาวนั่นเอง จะเห็นได้ว่าผู้ประพันธ์พยายามใช้กลวิธีการเล่าเรื่องต่างๆ เพื่อแสดงความเหมือนระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์หรือแอนดรอยด์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกของพลเมืองชั้นสองได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามแม้วรรณกรรมสองเรื่องนี้จะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกระแส  การเรียกร้องความเท่าเทียมด้านสิทธิพลเมืองที่เกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 แต่ภายใต้  ความเหมือนก็ยังแฝงไว้ด้วยความแตกต่างที่เผยให้เห็นแนวคิดการยกย่องคนผิวขาวเหนือกว่าชาติพันธุ์อื่นๆ วรรณกรรมทั้งสองเรื่องนี้จึงไม่อาจถ่ายทอดอุดมการณ์การเรียกร้องความเท่าเทียมทางชาติพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์

 

Differences in Similarities: Robots, Androids, and the Fight for Equality

Attapon Pamakho **

Master’s Degree Student, Department of Comparative Literature, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

Suradech Chotiudompant ***

Corresponding Author:  Assistant Professor, Department of Comparative Literature, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

Generally, science fiction works regarding robots and androids tend to guide readers to encounter with machines as unfamiliar “others.” Therefore, robots in the short story “Epilogue” and androids in the novel, Do Androids Dream of Electric Sheep?, can be read as a metaphor for the second-class citizens in American society in the 1960s since these people were “others” to white people. Moreover, the authors employed various narrative techniques, which portray the similarities between humans and robots or androids, in order to convey the second-class citizens’ emotions and feelings to the readers. Although these stories clearly reflect the civil rights movement and the fight for equality which arose in the 1960s, there are also some differences which reveal traces of white supremacy and limit both texts from expressing the ideology of equality for second-class citizens.

Downloads

How to Cite

ปะมะโข อ., & โชติอุดมพันธ์ ส. (2016). ความเหมือนที่แตกต่าง: หุ่นยนต์และแอนดรอยด์ในกระแสการเรียกร้องความเท่าเทียม. Journal of Letters, 44(1), 189–225. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/48872