ราพณาสูร: บทละครเล่าย้อนความขัดแย้ง

Authors

  • ดังกมล ณ ป้อมเพชร อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การละครไทยร่วมสมัย, รามเกียรติ์, การเล่าเรื่องต่างมุมมอง, ความขัดแย้งทางการเมืองของไทย, จริยธรรมกับการเมือง, ละครหลังสมัยใหม่, การรื้อสร้างเรื่องเก่า, drama, contemporary Thai drama, Ramakien, Rashomon Effects, Thai political conflicts, morality and polit

Abstract

ราพณาสูร: บทละครเล่าย้อนความขัดแย้ง เป็นหนึ่งในสี่โครงการย่อยในโครงการวิจัย รามเกียรติ์: ก้าวหน้าจากรากแก้ว ซึ่งศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ละคร/การแสดง  ร่วมสมัยจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ว่าจะสามารถสะท้อนประเด็นปัญหาทางจริยธรรมของสังคมไทยร่วมสมัยในประเด็นใด ได้อย่างไรบ้าง

แนวคิดหลักที่ผู้วิจัยใช้ในการสร้างบทละครเรื่อง ราพณาสูร คือการเล่าเรื่องที่ต่างมุมมองเพื่อยืนยันและเยียวยาอัตลักษณ์และคุณค่าของตนเอง (Rashomon Effects) และการวิเคราะห์เหตุแห่งความขัดแย้งด้วยหลักพุทธธรรม อันได้แก่ ปปัญจธรรม (ตัณหา ทิฏฐิ มานะ) และอกุศลมูล (โลภะ โทสะ โมหะ)

ผู้วิจัยตั้งสมมุติฐานว่าบทละครที่สร้างโดยใช้แนวคิดข้างต้นน่าจะเป็นเครื่องมือที่สะท้อนให้ผู้ชมไทยร่วมสมัยได้เห็นประเด็นเรื่องความจริงหลากมิติหลายมุมมอง ความหลากเลื่อนในนิยามของคำว่า “คุณค่า” “คุณธรรม” “ความชอบธรรม” และ “ความยุติธรรม” ตลอดจนเหตุและผลแห่งความขัดแย้งของสังคมไทยในปัจจุบันได้  

คำถามหลักของบทละครเรื่องนี้ก็คือจริยธรรมที่แต่ละคนทั้งตัวละครในเรื่องและผู้ชม ยึดถือนั้นเป็นสำนึกส่วนตน สำนึกเฉพาะกลุ่มหรือเป็นสำนึกสากล เป็นเหตุผลเชิงประโยชน์นิยม เชิงฉันทามติ เป็นกลไกในการป้องกันตัวเอง เป็นอภิสัจจะหรือเป็นมายาคติ

ผู้วิจัยได้ใช้คำถามข้างต้นสอบทานบทละครร่างแรกที่เขียนเช่นกันและพบว่าในฐานะผู้เขียนบท ผู้วิจัยก็ต้องกำจัดปปัญจะและอกุศลมูลออกไปให้ได้ก่อน เพื่อที่จะได้มองเรื่องราวทั้งหมดจากมุมมองของตัวละครแต่ละตัวและเล่าเรื่องจากมุมมองใหม่ ไม่ใช่จากกรอบความคิดและการเล่าเดิม ผลคือผู้วิจัยได้บทละครฉบับใหม่ที่สะท้อนการเล่าเรื่องต่างมุมมองและการแสดงซ้ำความขัดแย้งของตัวละครที่เป็นกลางยิ่งขึ้น

บทละครนำเสนอเหตุการณ์ช่วงที่ไพนาสุริยวงศ์ได้รับการเปิดเผยความจริงจากวรณีสูรว่า เขาคือบุตรของทศกัณฐ์ มิใช่ท้าวทศคิริวงศ์ (หรือพิเภก) กับนางมณโฑ จากนั้นชุดข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับศึกลงกา เกี่ยวกับอดีต เกี่ยวกับตัวละครสำคัญในเหตุขัดแย้งระหว่างธรรมะกับอธรรม ตลอดจนสิ่งที่ตัวละคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ดำเนินเรื่องทั้ง 7 คือ     ไพนาสุริยวงศ์ วรณีสูร อสุรผัด มณโฑ สำมนักขา เบญกายและสุวรรณกันยุมา ต้องการจะเชื่อ กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ก็ค่อยๆ ถูกเปิดออกมาเรื่อยๆ จากการเล่าเรื่องและแสดงซ้ำผ่านมุมมองของตัวละครทั้งเจ็ด ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งที่คล้ายคลึง แตกต่าง ตรงกันข้ามและกลับตาลปัตร ทั้งจากความเชื่อเดิมของตัวละครแต่ละตัวเอง และจากข้อมูลชุดที่ผู้ชมได้รับในช่วงก่อนหน้า ปัญหาร่วมของตัวละครก็คือตนจะดำรงชีวิตอยู่ต่อไปและร่วมกันได้อย่างไร ในขณะที่ยังต้องแสวงหา รักษา กอบกู้หรือเยียวยาเกียรติและการเคารพตนเองให้ได้ด้วย แต่ยิ่งตัวละครพยายามสร้างความจริงใหม่เพื่อเยียวยาตนเองเท่าไร ก็ยิ่งพูดมากกว่าฟัง ยิ่งปฏิเสธความรับผิดชอบและยิ่งสร้างผลกระทบที่ทำร้ายผู้อื่นทั้งในและ  นอกวงของตนมากขึ้นเรื่อยๆ จนแทบสืบสาวหาต้นเหตุไม่ได้ เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีส่วนร่วมในการก่อและขยายปัญหาความขัดแย้งนั้นๆ ไม่มากก็น้อย โดยที่ตนไม่ได้นึกถึง

บทละครได้รับการนำเสนอการอ่านบทเมื่อวันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2555 ในงานจุฬาฯวิชาการ’55 ณ ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล และเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2556 ในงานเวทีวิจัยและเทศกาลละครร่วมสมัยไทย/อาเซียน Our Roots D Right Now คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแสดงแต่ละครั้งมีความยาวประมาณ 1 ชั่วโมง

ช่วงที่สำคัญยิ่งของกระบวนการวิจัย ไม่แพ้ช่วงการทดลองสร้างสรรค์ การปรับมุมมองของบท การพัฒนาบทกับผู้แสดงและการนำเสนอบทละครสู่สาธารชน ก็คือช่วงการสนทนาหลังจบการแสดงในแต่ละรอบ เพราะบทละครเรื่องนี้มีแนวคิดหลักที่เป็นคำถามปลายเปิด การให้พื้นที่แก่ผู้ชมและผู้ร่วมงานได้สะท้อนความคิดความรู้สึก ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความเห็น ได้ถอดบทเรียนร่วมกัน ได้สอบทวนปฏิกิริยาและวิจารณญาณของตนเอง จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้ “ชุมชนในการแสดงรอบนั้นๆ” ได้ผ่านประสบการณ์เสมือนของกระบวนการจัดการความขัดแย้งในสังคม ทั้งในเรื่องเล่ารามเกียรติ์และในชีวิตจริง

 

Ravanasura: Replay the Rashomon Effects and Revise Our Conflicts

Dangkamon Na-pombejra

Lecturer, Department of Dramatic Arts, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

“Ravanasura: Replay the Rashomon Effects and Revise Our Conflicts” is one of four sub-projects in the research project entitled Ramakien:  Progress from the Roots which studies the process of drama/contemporary performing arts creation based on the Ramakien. The aim of the project is to examine the ways in which such creation can reflect ethical and moral issues in contemporary Thai society.

The major theoretical framework employed in the writing of Ravanasura is to employ the “Rashomon Effects”, or a narration from different perspectives, in order to affirm and remedy self-identity and self-worth. In addition, the Buddhist precepts of the Papañca-dhamma, or mental diffusion (craving, pride, conceit) and the Akusala-mūla, or the roots of the unwholesome thoughts (greed, hatred, temper) are applied to analyse the causes of conflict.

The hypothesis is that the aforementioned concepts can encourage a contemporary Thai audience to realize the multi-dimensional realities, the différance in the definitions of “values,” “morals,” “righteousness,” and “justice,” as well as the causes and results of the conflicts in contemporary Thai society.

The play asks major questions of whether the moral values held by each character and audience are individual, group-specific, or universal; are they based on utilitarian or consensual reasoning; are they defined mechanisms, meta-truths, or myths.

Upon applying the aforementioned questions to the verification of the first draft of the play, it was found that in order to achieve fresh perspectives from each character’s point of view and a narration that is not restricted by an existing framework, the playwright had to first eliminate his own Papañca-dhamma and Akusala-mūla. As a consequence, a new play produced can more fairly reflect the Rashomon Effects and reiterate the conflicts between characters.

The play addresses the events following the revelation made to Phainasuriyawong by Woraneesoon that he is in fact the son of Thotsakan, not of Totsiriwong (or Phiphek) and Nang Montho. The information concerning the Lanka war, the past, the major characters in the conflict between good and evil, as well as the beliefs of the seven main narrators, namely Phainasuriyawong, Woraneesoon, Asuraphat, Nang Montho, 

Sammanakkha, Benyagai, and Suwankanyuma, in relation to the actual events are gradually revealed through retelling and re-performing from seven perspectives. The information presented is similar, different, contrary, and reverse, both from what each character believes and from the information previously revealed to the audience. The mutual conflict of the characters is how they can continue to live and coexist while seeking to maintain, salvage, or remedy their dignity and self-respect. As the characters try to create a new reality to heal themselves, they in turn speak more than listen, deny responsibility, and induce consequences adverse to those inside and outside of their social circles. In the end, the root of the conflict is lost since each one is complicit in creating and expanding the conflict inadvertently.

The play was performed as play-reading during November 14-17, 2012, in the 12th Chulalongkorn Academic Fair at the Sodsai Pantoomkomol Center for Dramatic Arts, and on January 19, 2014, in the Research Forum Festival of Thai/ASEAN Contemporary Theatre: Our Roots D Right Now.

A step in the research with no less significance than creating and adapting the play, developing the play with the actors, and presenting the play to the public is the discussion session after each performance. Thanks to the open-ended nature of the play’s major concept, allowing the audience to reflect on and exchange their opinions and their lessons-learned, as well as review their reactions and judgements is beneficial in that the “community of the performance”  can virtually experience the process of managing social conflicts both in Ramakien and in real life.

Downloads

How to Cite

ณ ป้อมเพชร ด. (2016). ราพณาสูร: บทละครเล่าย้อนความขัดแย้ง. Journal of Letters, 44(1), 21–89. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/48868