ปรารถนาเพียงหนึ่งเดียว: หญิงรักหญิงกับการวิพากษ์ขนบนิยมรักต่างเพศ

Authors

  • ชุติมา ประกาศวุฒิสาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

หญิงรักหญิง, อารมณ์ต้องห้าม, ขนบนิยมรักต่างเพศ, ชนชั้นกลางไทย, lesbian, abject desire, heterosexuality, Thai middle class

Abstract

หญิงรักหญิงถือเป็นอารมณ์ต้องห้ามในสังคมที่ยึดถือความสัมพันธ์แบบรักต่างเพศระหว่างชายและหญิงเป็นบรรทัดฐาน เนื่องจากสังคมยังไม่ยอมรับความสัมพันธ์แบบหญิงรักหญิง ความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงถูกนำเสนอในรูปของการยอมรับด้วยวิธีการปฏิเสธ หรือที่เทียรี แคสเซิล (Terry Castle) เรียกว่า “articulation through negation” แคสเซิลชี้ให้เห็นว่าวิธีการดังกล่าวแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการนำเสนอภาพของหญิงรักหญิงให้เป็นผี เพื่อสื่อให้เห็นความปรารถนาแบบหญิงรักหญิงว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกความจริง ในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาการนำเสนอภาพของหญิงรักหญิงที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง เงาพระจันทร์ ของโสภาค สุวรรณ โดยนำแนวคิดข้างต้นของแคสเซิลมาใช้ในการวิเคราะห์ ความตื่นตระหนกของสังคมที่มีต่อภัยคุกคามจากเลสเบี้ยน (lesbian panic) ส่งผลให้ตัวละครพาณีซึ่งเป็นตัวละครหญิงรักหญิงในเรื่อง ปรากฏในรูปของ “หญิงร้าย” ที่ไม่เพียงแต่เป็นผู้ล่อลวงหญิงสาว หากยังเป็นภัยคุกคามต่อระบอบปิตาธิปไตยอีกด้วย ภาพของพาณีที่นวนิยายนำเสนอแสดงให้เห็นการปฏิเสธอัตบุคคลของเลสเบี้ยนด้วยการเปรียบเทียบตัวละครว่าเป็นเพียง “เงา” ของพระจันทร์ และการนำโครงเรื่องโรมานซ์มาแทนที่โครงเรื่องเลสเบี้ยน เพื่อให้เรื่องราวจบลงในแบบฉบับของความสัมพันธ์แบบรักต่างเพศ ซึ่งเป็นการตอกย้ำแนวคิดเรื่อง “compulsory heterosexuality” ของเอเดรียน ริช (Adrienne Rich) อีกด้วย

 

Educating Desire: Lesbianism and the Critique of Heteronormativity

Chutima Pragatwutisarn

Assistant Professor, Department of Comparative Literature, Faculty of Arts, Chulalongkorn University

Lesbian desire is a forbidden desire in Thai society which recognizes only two sexual categories: male and female. Due to social prejudices against lesbianism, lesbian desire is characteristically a ghostly desire which is articulated through negation. Using Ngao Prachan (1981) written by Sopak Suwan in my discussion, I argue that the ghosting of the lesbian figure in the novel is linked with the abjection of lesbian desire. The narrative shows how fear and terror of lesbianism or the so called lesbian panic, results in the female protagonist’s return to embracing a heterosexual relationship. The haunting, as the narrative reveals it, not only exposes heterosexuality as a necessity to fend off the threat of lesbian desire, thereby reinforcing Adrienne Rich’s year notion of compulsory heterosexuality, it also reveals how heterosexual codes and values are themselves “queered” and thus ineffectual in their prevention of lesbianism.

Downloads

How to Cite

ประกาศวุฒิสาร ช. (2016). ปรารถนาเพียงหนึ่งเดียว: หญิงรักหญิงกับการวิพากษ์ขนบนิยมรักต่างเพศ. Journal of Letters, 44(2), 127–168. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/48838