ดนตรี เทศกาล และอาชีพในเพลงลูกทุ่ง: อัตลักษณ์และการต่อรองของคนอีสาน

Authors

  • สิริชญา คอนกรีต อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

เพลงลูกทุ่ง, คนอีสาน, อัตลักษณ์, พลัดถิ่น, country song, Isan, identity, diasporas

Abstract

เพลงลูกทุ่งอีสานใช้ดนตรี เทศกาล และอาชีพ เป็นเครื่องบ่งชี้อัตลักษณ์อีสานพลัดถิ่น และต่อรอง ตอบโต้กับมายาคติที่คนนอกมีต่อคนอีสาน เครื่องบ่งชี้อัตลักษณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นตัวตนของคนอีสานที่ขยัน อดทน และสนุกสนาน เพลงลูกทุ่งใช้ดนตรีเพื่อนำเสนออัตลักษณ์ลูกผสม และอุปนิสัยรื่นเริงของคนอีสาน รวมทั้งพรสวรรค์ ด้านการร้องรำของคนอีสานเพื่อต่อรองกับบริบทการทำงานที่ถูกกดทับ ส่วนงานเทศกาลนั้นเป็นช่วงเวลาที่คนอีสานจะมีโอกาสออกจากพื้นที่งานกลับสู่บ้าน ด้านอาชีพ ที่ถูกนำเสนอในเพลงลูกทุ่งมากที่สุด ได้แก่ กรรมกร และหนุ่มสาวโรงงาน ซึ่งเป็นงานระดับล่าง อาชีพดังกล่าวเป็นเครื่องบ่งชี้อัตลักษณ์นักสู้ของคนอีสานเพื่อตอบโต้มายาคติที่คนนอกมองคนอีสานว่ายากจนเพราะเกียจคร้าน อย่างไรก็ตามการประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นนักสู้ยังคงอยู่ภายใต้กรอบความคิดของระบบทุนนิยม

 

Music, Festivals and Occupations: Isan Diasporic Identity and Negotiation

Sirichaya Corngreat *

Lecturer, Department of Thai, Faculty of Arts, Silpakorn University

Music, festivals and occupations were employed in Isan country songs as markers of Isan diasporic identity to negotiate and counteract the myths held by outsiders. These identity markers reflect the personality of the Isan people as hard-working, patient and fun-loving. Music was used to represent the hybrid identity as well as the cheerful character of the Isan people. The musical talent of the Isan people was utilised in negotiating within the context of being suppressed at work, while festivals were considered the time during which the Isan people can leave their work and be home. The two most frequently represented occupations are labourer and factory worker, which are considered low-prestige occupations. These occupations are the Isan identity marker of a fighter to counter the myth that the Isan people are poor because they are lazy; nevertheless, the construction of this identity is still under capitalism.

Downloads

How to Cite

คอนกรีต ส. (2016). ดนตรี เทศกาล และอาชีพในเพลงลูกทุ่ง: อัตลักษณ์และการต่อรองของคนอีสาน. Journal of Letters, 44(2), 71–102. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/48835