กลับอีสาน: ภาพฝันอันหลอกหลอนและความรุนแรงของมหานคร ในภาพยนตร์เรื่อง คืนพระจันทร์เต็มดวง และ ลุงบุญมีระลึกชาติ

Authors

  • ชัยรัตน์ พลมุข นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวรรณคดี ศาสนา และวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยคอร์แนล

Keywords:

เมืองกับชนบท, อีสาน, ความรุนแรงทางชาติพันธุ์, บาดแผลฝังจำ, urban-rural relations, Isan, ethnic violence, trauma

Abstract

บทความนี้ศึกษาพลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบทในภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย 2 เรื่องคือ คืนพระจันทร์เต็มดวงของมิ่งมงคล โสณกุล (2545) และลุงบุญมีระลึกชาติ ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (2553) ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเดินทางออกจากกรุงเทพมหานครสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน อันนําไปสู่การทบทวนความหมายของพื้นที่เมืองในฐานะภาพฝันอันหลอกหลอนและประวัติศาสตร์แห่งความรุนแรง แม้ว่าเนื้อหาของภาพยนตร์จะเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับปัจจุบัน แต่ใช้กลวิธีต่างๆ เพื่ออ้างถึงบริบททางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามเย็นอันเป็นช่วงเวลาที่อีสานเป็นเป้าหมายของนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ทั้งโดยการใช้วาทกรรมการพัฒนาและการใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ในภาพยนตร์เรื่องคืนพระจันทร์เต็มดวง ละครวิทยุเป็นสัญลักษณ์ของ “ความทันสมัย” และ “การพัฒนา” ในยุคสงครามเย็นและเป็นเครื่องมือเผยแพร่ภาพฝันเกี่ยวกับชีวิตที่ดีสู่ชนบท ขนบละครประโลมโลกของละครวิทยุถูกนำเสนอผ่านองค์ประกอบของสุนทรียศาสตร์แบบแคมป์ เช่น ความล้นเกินและ การเล่นสวมบทบาทเพื่อบ่อนเซาะภาพฝันอันเกิดจากวาทกรรมการพัฒนาที่ยังคง หลอกหลอนคนชนบทจนถึงปัจจุบัน ส่วนในภาพยนตร์ลุงบุญมีระลึกชาติ ประวัติศาสตร์ความรุนแรงเกี่ยวกับการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็นถูกรื้อฟื้นผ่านเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ ผี และการเวียนว่ายตายเกิด ความสัมพันธ์ข้ามสายพันธุ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นกระบวนการแบ่งแยกชาติพันธุ์และการลดทอนความเป็นมนุษย์ซึ่งรัฐใช้อ้างความชอบธรรมในการควบคุมกลุ่มชาติพันธุ์ลาว-อีสาน การทบทวนบาดแผลฝังจำทางประวัติศาสตร์ในภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นการวิพากษ์อำนาจรัฐผ่านการปลุก “ผี” จากอดีตให้กลับมาหลอกหลอนปัจจุบัน กล่าวได้ว่าการทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและชนบทในภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องมีลักษณะร่วมกันคือ การวิพากษ์มุมมองแบบกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางและการรื้อฟื้นความรุนแรงที่ศูนย์กลางกระทําต่อชนบททั้งโดยกระบวนการทางวัฒนธรรมและการใช้อํานาจ

 

Isan Bound: Haunting Fantasies and the Violence of the City in I-San Special and Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives

Chairat Polmuk *

Ph.D. Student in Asian Literature, Religion, and Culture, Cornell University

This paper investigates the dynamism of urban-rural relations in two contemporary Thai films: Mingmongkol Sonakul’s I-San Special (2002) and Apichatpong Weerasethakul’s Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives (2010). These films narrate the journeys of their characters to the northeastern region of the country known as Isan, profoundly revisiting conceptions of urban space with haunting fantasies and histories of violence. Although set in the present, the films allude to the historical context of the Cold War during which Isan became the target of anti-communist policy, both by the propagation of development discourse and direct military suppression. In I-San Special, radio soap operas both represent the concepts of “modernity” and “development” during the Cold War era and simultaneously serve as a means to disseminate romanticized fantasies of the good life in rural areas. The melodramatic conventions of the radio soap opera are bent, by the characters in the film, through a camp performance featuring aesthetics of excess and role-playing. The contemporary film thereby undermines the good-life fantasies perpetuated by Cold War development discourses that still haunt rural people. In Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives, the violent history of anti-communist purges during the Cold War is revisited through stories about animals, ghosts, and rebirth. A trope of interspecies intimacy exposes processes of ethnicization and dehumanization by which the state legitimates its power to control the Lao-Isan ethnic group. The film revisits historical trauma in order to criticize state power by invoking ghosts of the past to haunt the present. Reconfigurations of urban-rural relations in both films thus share their critiques of Bangkok-centric perspectives by reenacting episodes of violence against the rural areas caused by processes of cultural assimilation and political suppression.

Downloads

How to Cite

พลมุข ช. (2016). กลับอีสาน: ภาพฝันอันหลอกหลอนและความรุนแรงของมหานคร ในภาพยนตร์เรื่อง คืนพระจันทร์เต็มดวง และ ลุงบุญมีระลึกชาติ. Journal of Letters, 44(2), 33–70. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/48834