ข้อพินิจบางประการเกี่ยวกับสำนวนภาษาของสัทธรรมธรรมปุณฑรีกสูตรฉบับภาษาจีน
คำสำคัญ:
สัทธรรมปุณฑรีกสูตร, พระธรรมรักษ์, พระกุมารชีพ, พระสูตรมหายาน, การแปลบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสำนวนภาษาจีนของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้รับการถ่ายทอดเป็นสำนวนภาษาจีนหลายฉบับ ฉบับที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 3 ฉบับ คือ ฉบับพระธรรมรักษ์ ฉบับพระกุมารชีพ และฉบับพระชญาณคุปต์และพระธรรมคุปต์ ฉบับหลังเป็นฉบับที่นำสำนวนพระกุมารชีพมาเพิ่มเติมในบางปริวรรต จึงไม่ใช่เป็นการแปลใหม่ ในบรรดาสัทธรรมปุณฑรีกสูตรฉบับภาษาจีนที่กล่าวถึงข้างต้น ฉบับพระกุมารชีพเป็นฉบับที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จากการศึกษาความแตกต่างระหว่างสำนวนแปลของพระกุมารชีพกับสำนวนแปลของพระธรรมรักษ์พบความแตกต่างในหลายประเด็น ได้แก่ การใช้คำบ่งจำนวน การทับศัพท์วิสามานยนาม การใช้ศัพท์ตามบริบททางศาสนา การใช้ถ้อยคำ 4 ตัวอักษร การใช้คำซ้ำต่อเนื่องกัน การใช้ภาษาบรรยายที่กระชับได้ใจความ การใช้ภาษาพูดแทนภาษาโบราณ และความแตกต่างด้านเนื้อความบางตอน ส่วนสำนวนภาษาของสัทธรรมปุณฑรีกสูตรฉบับพระกุมารชีพในมหาปิฎกฉบับต่าง ๆ ได้แก่ ฉบับจักรพรรดิเฉียนหลง หย่งเล่อฉบับเหนือ ฉบับเกาหลี และฉบับไทโช พบว่ามีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในด้านการใช้คำพบความแตกต่างใน 2 ลักษณะคือ การใช้คำเดียวกันแต่มีรูปเขียนต่างกันและการใช้คำที่มีรูปและความหมายต่างกัน ในด้านเนื้อความพบว่า ในปริวรรตที่ 23 ไภษัชยปูรวโยคปริวรรตของฉบับเกาหลีและฉบับไทโชมีบางคาถาไม่ปรากฏในฉบับจักรพรรดิเฉียนหลงและหย่งเล่อฉบับเหนือ สันนิษฐานว่าน่าจะเพิ่มเติมเข้าไปในภายหลัง การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนภาษาจีนในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแต่ละฉบับนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระสูตรแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาลักษณะของภาษาจีนที่ใช้ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรฉบับภาษาจีนด้วย
References
ภาษาไทย
Prapod Asavavirunhakarn ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. 2014. Phothi sattawa chanya: Makkha phue mahachon โพธิสัตวจรรยา: มรรคาเพื่อมหาชน [Bodhisatva Caryā: The Path for All Living Things]. Bangkok: Research and Publication Division, Faculty of Arts, Chulalongkorn University.
ภาษาต่างประเทศ
Lopez, D., Jr. 2016. The lotus sutra: A biography. New Jersey: Princeton University Press.
Miaofa Lianhua Jing妙法蓮華經 [Lotus Sutra],Gaoli Dazangjing高麗大藏經 [Korean Great Piṭaka] (Number 116). https://ed29.com/wiki/%E9%AB%98%E9%BA%97%E8%97%8F_K.0116_%E5%A6%99%E6%B3%95%E8%93%AE%
E8%8F%AF%E7%B6%93
Miaofa Lianhua Jing妙法蓮華經 [Lotus Sutra],Qianlong Dazangjing 乾隆大藏經 [Qianlong Great Piṭaka] (Volume 32, Number 130). http://www.suttaworld.org/Collection_of_Buddhist/Chiarnlurng_Tripitaka/pdf/32.pdf.
Miaofa Lianhua Jing妙法蓮華經 [Lotus Sutra],Yongle Northern Piṭaka永樂北藏 [Yongle Northern Piṭaka] (Volume 36, Number 130). https://ourartnet.com/Yong-Lebeizang/SUTRA/036.pdf
Miaofa Lianhua Jing妙法蓮華經 [Lotus Sutra],法華部 [Fahua Section] , Taishō Revised Piṭaka大正新脩大藏經 (Volume 9, Number 262). https://21dzk.l.u-tokyo.ac.jp/SAT/index_en.html Tamura, Yoshiro. 2014. Introduction to the Lotus Sutra (G. Reeves & M. Shinozaki, Trans.). Boston: Wisdom Publications.
Tianpin Miaofa Lianhua Jing添品妙法蓮華經 [Extended Lotus Sutra],Qianlong Dazangjing 乾龍大藏經 [Qianlong Great Piṭaka] (Volume 33, Number 135).
http://www.suttaworld.org/Collection_of_Buddhist/Chiarnlurng_Tripitaka/pdf/33.pdf Zhengfahua Jing正法華經 [Lotus Sutra],Qianlong Dazangjing乾隆大藏經 [Qianlong Great Piṭaka] (Volume 32-33, Number 134).
http://www.suttaworld.org/Collection_of_Buddhist/Chiarnlurng_Tripitaka/pdf/32.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
การป้องกันปัญหาด้านลิขสิทธิ์และการคัดลอกผลงาน
ผู้เขียนบทความมีหน้าที่ในการขออนุญาตใช้วัสดุที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้เขียนบทความมีความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายในการคัดลอกและทำสำเนาวัสดุที่มีลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด การคัดลอกข้อความและการกล่าวพาดพิงถึงเนื้อหาจากวัสดุตีพิมพ์อื่น ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มากำกับและระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจนในส่วนบรรณานุกรม การคัดลอกข้อความหรือเนื้อหาจากแหล่งอื่นโดยไม่มีการอ้างอิงถือเป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการที่ร้ายแรง และเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีใด ๆ เกิดขึ้น ผู้เขียนบทความมีความรับผิดชอบทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว