การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
คำสำคัญ:
การพัฒนาบุคลากร, ครู, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการพัฒนาบุคลากร 2 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 291 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที t-test F-test และเปรียบเทียบรายคู่ ด้วยวิธี LSD
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของการพัฒนาบุคลากร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือการพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือวิทยฐานะ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การส่งเสริม สนับสนุนการให้ไปศึกษาต่อ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นการพัฒนาบุคลากร เมื่อจำแนกเพศ ไม่พบความแตกต่าง จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่าการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง การส่งเสริมสนับสนุนการให้ไปศึกษาต่อ การฝึกอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการส่งเสริมการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาแตกต่างกันที่ .05 ด้านประสบการณ์การทำงานพบว่าด้านการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง การส่งเสริม สนับสนุนการให้ไปศึกษาต่อ การส่งเสริม สนับสนุนการฝึกอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ส่วนด้านขนาดสถานศึกษาพบว่าด้านการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง การส่งเสริม สนับสนุนการให้ไปศึกษาต่อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการส่งเสริม สนับสนุนการฝึกอบรม แตกต่างกันที่ระดับ .05