ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน กรณีศึกษา เยาวชนในอำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการมีส่วนร่วม, การเมือง, เยาวชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เยาวชนโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายนและโรงเรียนสตรีพังงา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 2,117 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบโควตา (Quota Sampling) ระดับชั้นละเท่า ๆ กัน จำนวนระดับชั้นละ 102 คน รวมถึง เยาวชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที(t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และ Pearson's product moment correlation coefficient
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับรูปแบบพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน กรณีศึกษา เยาวชนในอำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา พบว่า เยาวชนมีรูปแบบพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ 2) ปัจจัยการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชน ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ความสนใจทางการเมืองการปกครองของครอบครัว ความรู้ทางการเมืองการปกครองของประเทศไทย มีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนในอำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน