การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

ผู้แต่ง

  • พระครูวิบูลสิทธิการ (สัมฤทธิ์ อาภาโส) นักศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พระครูใบฎีกาสุระชัย เดโชเม็ง นักศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณัฐพล จันทร์โท นักศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • โชติ บดีรัฐ อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจำหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ, แนวระเบียงเศรษฐกิจ, เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก พบว่าประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งของประเทศที่มีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนแนวระเบียงเศรษฐกิจ เชื่องโยงประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะแนวตะวันออกตะวันตก แนวเหนือแถวใต้ ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ไทยจะสามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ดังนั้น การพัฒนาฐานเศรษฐกิจบริเวณชายแดนเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคโดยรอบเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยกระจายความเจริญยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษจึงได้จัดตั้งขึ้นใน 10 จังหวัดชายแดนได้แก่ ตาก เชียงราย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา นราธิวาส กาญจนบุรี ที่เป็นประตูเศรษฐกิจหลักของประเทศในการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาครัฐเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดนักลงทุนในและต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษตากเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญที่นักลงทุนให้ความสนใจและมีศักยภาพที่โดดเด่นโดยเป็นประตูเศรษฐกิจฝั่งตะวันตกของไทยบนแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตกของอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงเป็นช่องทางการค้าการการขนส่งที่สำคัญของประเทศเมียนมาร์โดยมีมูลค่าการส่งออกปีละเจ็ดหมื่นล้านบาท และในอนาคตจะเป็นช่องทางการค้าไปประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และยูนนานของประเทศจีนต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-02

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)