การตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565

ผู้แต่ง

  • แสงจันทร์ ทองนาค Student of Master of Political Science Program, Siam University
  • ยุวัฒน์ วุฒิเมธี Lecturer of Graduate School of Political Science, Siam University

คำสำคัญ:

การตัดสินใจในการเลือกตั้ง, สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, พรรคเพื่อไทย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2565 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกผู้สมัคร ส.ก.ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2565 และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ส.ก. งานวิจัยนี้เป็นการเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกรุงเทพมหานครในพื้นที่ เขตบางกะปิ เขตวังทองหลาง เขตดุสิต และเขตธนบุรี ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า 1) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกผู้สมัคร ส.ก.ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2565 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ส.ก.สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565 แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และอาชีพที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ส.ก.สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565 ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกผู้สมัคร ส.ก.ที่สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ.2565พบว่า ปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ ปัจจัยการสื่อสารทางการเมือง และปัจจัยการตลาดทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในการเลือกตั้ง ส.ก.สังกัดพรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2565 ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ส.ก. ได้แก่ การใช้สื่อให้เหมาะสมกับการรณรงค์การเลือกตั้ง และผู้สมัครจำเป็นต้องมีการเลือกใช้ประเภทของสื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในการเลือกตั้ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)