ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการของวัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ผู้แต่ง

  • รามณรงค์ นิลกำแหง อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • โชคดี คู่ทวีกุล
  • สรณ์สิริ รวีโรจน์วรกุล

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, วัดศาลาลอย, ไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)

บทคัดย่อ

การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาหรือวัดต่าง ๆ นั้น เป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว ในการพลิกฟื้นการท่องเที่ยวช่วงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในการเตรียมความพร้อมเปิดประเทศ และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในจังหวัด บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและเปรียบเทียบความแตกต่างความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการของวัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) มีเครื่องมือเป็นแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample: t-test F-test/ANOVA และสถิติ Least Significant Difference (LSD) เพื่อทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการศึกษา พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยววัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโบราณสถานและร่องรอยทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญและมีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านด้านกิจกรรม และพิธีกรรมทางศาสนาภายในวัด ส่วนด้านการเดินทางและป้ายบอกเส้นทางเป็นองค์ประกอบสุดท้าย ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยทางประชากรศาสตร์แตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจในการมาท่องเที่ยววัดศาลาลอย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาแตกต่างกันในทุก ๆ ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)