การศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย พวงพิลา นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • อภิสิทธิ์ สมศรีสุข อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ประสิทธิผลของโรงเรียน, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก การดำเนินการมี 3 ระยะ คือ 1. ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและองค์ประกอบประสิทธิผลของโรงเรียน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก 3. ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.67 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.63-0.74 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.91

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ 2. ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 3. ด้านการติดตามและประเมินกลยุทธ์
  2. ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 53) และ ( x = 4.56)
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก ภาพรวม ( x=729) สัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01
  4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนกลยุทธ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.76) ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.64) ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (  x=92) ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x=4.80) ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (  x=4.92) ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x=4.88)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)