การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อ การเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

ผู้แต่ง

  • สกาวเดือน แสนทิยะ Master of Education Program in Educational Administration Graduate School, Chiangrai College
  • คฑาเทพ จันทร์เจริญ Dr., Advisor Graduate School, Chiangrai College
  • ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช Assistant Professor Dr., Advisor, Chiangrai College

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา, การเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสอบถามการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation= 4.01, S.D. = 0.31) 2) ค่าเฉลี่ยการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation= 4.00, S.D. = 0.36) และ 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรเชิงนวัตกรรม  (ꞵ = 0.582) ด้านการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (ꞵ = 0.266) และ ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลงเชิงนวัตกรรม (ꞵ = 0.168) ส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 และตัวแปรทั้ง 3 ด้านสามารถร่วมกันทำนายการเป็นพลเมืองดิจิทัลของครูได้ ร้อยละ 80.4

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)