การบริหารจัดการที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ธีรศักดิ์ ยะกันทะ Master of Educational Administration, Graduate School , Chiang Rai College
  • ธงชาติ วงษ์สวรรค์ Lecturer of Chiangrai College
  • วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์ Lecturer of Chiangrai College. Corresponding author

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการสถานศึกษา, การบริหารความเสี่ยง, กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.)

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารจัดการของผู้บริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงราย 2) ระดับการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงราย และ 3) การบริหารจัดการที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงสถานศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 198 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามระดับการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และระดับการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการของผู้บริหาร ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation=  4.51 มี SD เท่ากับ 0.40) 2) ระดับการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.54 มี SD เท่ากับ 0.40) และ 3) การบริหารจัดการที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษามี 3 ตัวแปร ที่มีอำนาจพยากรณ์การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาดีที่สุด คือ การควบคุม (X4) การวางแผน (X1) และการจัดการองค์กร (X2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (R2) เท่ากับ 0.727 สามารถร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนการบริหารสถานศึกษา ได้ร้อยละ 72.70 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานพยากรณ์ เท่ากับ =±  0.21193 สามารถเขียนเป็นสมการ ดังนี้

            equation = 0.736 + 0.403(X4) + 0.270(X1) + 0.169(X2)

            equation = 0.476(X4) + 0.280 (X1) + 0.186 (X2)

           

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)