This is an outdated version published on 2023-02-07. Read the most recent version.

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3

ผู้แต่ง

  • วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์ Adviser in Educational Administration at Graduate School, Chiangrai College Corresponding author
  • เรวัฒน์ ไชยบาล Master of Educational Administration, Graduate School, Chiangrai College
  • จำนงค์ แจ่มจันทรวงษ์ Adviser in Educational Administration at Graduate School, Chiangrai College Corresponding author

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, สมรรถนะหลักของครู

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) สมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา และ 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครู สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 328 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และสมรรถนะหลักของครู ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.979 0.984 และ 0.988 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน    

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mean 4.52 SD 0.49) 2) ระดับสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mean 4.63 SD 0.40) และ 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 คือ ด้านจินตนาการ (X1) ด้านความยืดหยุ่น (X2) และ ด้านวิสัยทัศน์ (X3) ที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยภาพรวม (Ytot) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณในการทำนายเท่ากับ 0.704 มีประสิทธิภาพการทำนาย ร้อยละ 49.6 และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย 0.26 ซึ่งสามารถเขียนเป็น สมการวิเคราะห์การถดถอย ได้ดังนี้

Ytot = 2.175+0.233 (X3)+0.161 (X1)+0.150 (X2)

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-07

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)