ผลกระทบการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีภาครัฐ (FORMULA) ที่มีผลต่อคุณภาพงบการเงินของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีภาครัฐ (FORMULA) ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาคุณภาพการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีภาครัฐ และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีภาครัฐ ที่มีผลต่อคุณภาพงบการเงิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในส่วนกองคลังและทรัพย์สิน ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย จำนวน 108 คน ใช้วิธีการแบ่งขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีภาครัฐของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย ได้แก่ ระบบบัญชีแยกประเภท และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพของงบการเงินของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย ความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ความเชื่อถือได้ และการเปรียบเทียบกันได้ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) การวิเคราะห์ผลกระทบ พบว่า การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีภาครัฐ ประเภทระบบบัญชีแยกประเภท มีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพงบการเงิน ในความเข้าใจได้ ความเชื่อถือได้ และการเปรียบเทียบกันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพงบการเงิน และประเภทระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพงบการเงิน ในความเข้าใจได้ ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และการเปรียบเทียบกันได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความเชื่อถือได้ ไม่มีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพงบการเงิน
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
จำเริญ อุ่นแก้ว. (2553). สถิติเพื่อการวิจัย. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
จิรารัตน์ ดวงเต็มใจ. (2559). ปัญหาระบบสารสนเทศทางการบัญชีของข้าราชการฝ่ายการเงินในกองทัพเรือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, สาขาวิชาการบัญชี.
ชนากานต์ มงคลพร. (2558). คุณค่าของข้อมูลทางการบัญชีที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจ:ก่อนและหลังปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, สาขาวิชาการบัญชี.
ชัยรัตน์ รอดเคราะห์. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการงานปริญญานิพนธ์และสารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม.
ดวงฤดี ชีวานุกุล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ขององค์กรกับประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีของธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต.
ธิราวรรณ วิวัฒนากรวงศ์. (2558). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อคุณภาพข้อมูลงบการเงินในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, สาขาวิชาการบัญชี.
นันทิยา อังกุรวัฒนานุกุล. (2557). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงการปฏิบัติงานในระบบ GFMIS ที่มีผลต่อคุณภาพของงบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บริษัท คริสตอลฟอร์มูล่า จำกัด. (2559). คู่มือระบบโปแกรม FORMULA.
พรปวีณ์ สายพรหม. (2558). ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของข้าราชการส่งผลต่อลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินของสำนักการคลังและงบประมาณสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สารนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, สาขาวิชาการบัญชี.
ไพรินทร์ ขำคมเขตต์. (2556). ผลกระทบของความรอบรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อความสามารถในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สาขาวิชาการบัญชี.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). ประวัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://www.mcu.ac.th/site/history.php. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559.
_______. (2561). ระบบบัญชี : Formula Financial and Accounting. สืบค้นจาก http://www.crystalformula.co.th/products.asp เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560.
Jonas, G.J. and Blanchet, J. (2000). Assessing quality of financial reporting. Accounting Horizons, 14(3). pp.365-363.
Shahwan, Y. (2008). Qualitative Characteristics of Financial: a Historical Perspective. Journal of Applied Accounting Research, 9(2), 192-202.
Timothy J, O’Linda I. O’Linda, (2006). Computing Essentials 2006 Complete Edition, McGraw Hill Higher Education,301. 01 Jul 2006