การศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเมืองสำโรงขามป้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเมืองสำโรงขามป้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จำนวน 42 ข้อ และสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล จำนวน 42 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงเท่ากับ 0.95 และสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น หรือ Modified Priority Needs Index : PNIModified
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพที่เป็นจริงในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเมืองสำโรงขามป้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังนี้ ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักคุณธรรม
- สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเมืองสำโรงขามป้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ดังนี้ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความมีส่วนร่วม ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักคุณธรรม
- ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเมืองสำโรงขามป้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 พบว่า ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยรวมมีค่าเท่ากับ .09 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญจากสูงไปหาต่ำ ดังนี้ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความมีส่วนร่วม ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักความคุ้มค่า
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
ฐิติรัตน์ เอี่ยมสกลุ.(2555). พฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นัยนา เจริญพล. (2552). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
พระปลัดไพรวัลย์ ชาคโร (ศรีเมือง). (2558.) การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวิรัช เอี่ยมศรีดี. (2554). การประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารงานที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลของครูและบุคลากรของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิชญาภา จันทศรี. (2553). ปัญหาและความต้องการในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร สังกัดสถาบันการพลศึกษา. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 2(2),115-126.
มุตตา คงคืน. (2551). พฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชัย โนนทิง. (2551). สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นทีการศึกษาหนองคาย เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาบันพระปกเกล้า. (2545). การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี. รายงานการวิจัยเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : กองสำนักงาน ก.พ.
สุภัทรมาศ จริยเวชชวัฒนา (2547). การบริหารการจัดการเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านฉาง. ปัญหารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวรรณ ทองคำ. (2544). สภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาสิงห์บุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2542). ความรู้ชายแดนด้านการประเมินผลการศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 7(2), 52-67.
อรทัย แสงทอง. (2551). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงานสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร:กรณีศึกษาสถานศึกษาในเขตตลิ่งชัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต,สาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
Graham,J.,Amos,B., and Plumptre,T.(2003) Principles for Good Governance in the 21st Century. Policy Brief. 15(August), 1-6.