การใช้ประสบการณ์ตรงในสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก: กรณีศึกษานักศึกษารายวิชาการบริหารสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556

Main Article Content

ชวนคิด มะเสนะ
สมาน อัศวภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลประสบการณ์และสาระการเรียนรู้ของบทเรียนเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 เพื่อประเมินความเข้าใจของนักศึกษา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อประสบการณ์ตรงในการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอกก่อนศึกษาภาษาสนาม 2) นักศึกษาเก็บข้อมูลภาคสนาม 3) สะท้อนประสบการณ์ภาคสนามและความพึงพอใจต่อประสบการณ์และการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เรียนวิชาการบริหารสำหรับครู จำนวน 43 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากสถานศึกษาภาคสนาม จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 แบบประเมินความเข้าใจเกี่ยวการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 3 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อประสบการณ์ภาคสนาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


          ผลการวิจัยเป็นดังนี้


  1. จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่านักศึกษาได้ประสบการณ์และการเรียนรู้เชิงลึกในการเตรียมการรับการประเมินภายนอก รอบ 3 และเข้าใจสาระสำคัญของการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 โดยเฉพาะ ตัวบ่งชี้การประเมิน 12 ตัวบ่งชี้ ด้านผู้เรียน 5 ตัวบ่งชี้ ด้านการดำเนินงานของครู 1 ตัวบ่งชี้ และที่เหลืออีก 6 ตัวบ่งชี้เป็นการประเมินคุณภาพในการบริหารสถานศึกษา ส่วนการเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 นั้น สถานศึกษาแต่งตั้งหัวหน้าคณะทำงานเป็นรายตัวบ่งชี้ และมีคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์ กำหนดกรอบ และเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการรายงานแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ครบทุกมาตรฐาน

  2. ผลการศึกษาความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบ 3 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่านักศึกษาร้อยละ 80 ประเมินตนเองว่าเข้าใจเนื้อหาทุกเรื่อง ตามเกณฑ์ คือ สเกล 8 จาก 10 แต่เรื่องที่นักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจ คือ การเตรียมการเพื่อรับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การประเมินตามตัวบ่งชี้ที่ 5 การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก รอบ 3 พบว่า นักศึกษาทุกคนมีความพึงพอใจต่อประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบ 3 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีความพึงพอใจระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

นิวัฒน์ สิงข์ศิริ และคณะ. (2556). รายงานเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลคณะกรรมการสถานศึกษา. เอกสารอัดสำเนา.

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก.สำนักงาน. (2553). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2548) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ.
2554. กรุงเทพฯ: แม็ทพอยท์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม 2542).

ศูนย์เครือข่าย สมศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (2553). รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการจัดประชุมการส่งเสริมให้สถานศึกษา เตรียมความพร้อมรับการประเมินภายนอกรอบสาม
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ 2553. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี: เอกสารสำเนาเย็บเล่ม.

สมาน อัศวภูมิ. (2551). เส้นทางสู่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา.อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซ็ทการพิมพ์.

_______. (2554). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซ็ทการพิมพ์.

_______. (2555). ทำอย่างไรจึงจะผ่านการประเมินคุณภาพรอบ 3. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซ็ทการพิมพ์.

สุภาวรรณ จันทะบุตรและคณะ. (2556). รายงานเก็บข้อมูลตามตัวบ่งชี้ที่ 1. เอกสารอัดสำเนา.

Arcaro, Jerome S. (1995). Quality in Education: An Implementation Handbook. Florida: St. Lucie Press.

Campbell, Ronald F., Corbally, John E., and Nystrand, Raphael O. (1983). Introduction to Educational Administration. Boston: Allyn and Bacon.

Foster, S.T. (2004). Managing Quality: An Integrative Approach. 2nd ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kaufman, Roger and Zahn Douglas.(1993).Quality Management Plus: The Continuous Improvement of Education. California: Corwin Press.

Knezevich, Stephen J. (1962). Administration of Public Education. New York: Harper & Row Publisher.

Peters, T.J. and Waterman, (1982). R.H. In Search of Excellence: Lessons from America’s Best-Run Companies. New York: Harper Collins.

Sallis, Edward. (1997).Total Quality Management in Education. 2nd ed. London: Kogan Page. Stone, John. (2006f). Increasing Effectiveness: A Guide to Quality
Management. 2nd ed. London: Routledge.