สภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขตการศึกษา 3 เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยดังกล่าว จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการจัดการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ในครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 140 คน และครูผู้สอนปฐมวัย จำนวน 140 คน รวมทั้งสิ้น 280 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 5 โรงเรียนๆ ละ 2 คน รวม 10 คน โดยโรงเรียนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับข้อเสนอแนะการจัดการศึกษาปฐมวัย 6 ด้าน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ในภาพรวม และรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัย ในภาพรวม และรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย
- เมื่อเปรียบเทียบสภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน พบว่า เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน พบว่าทั้งโดยภาพรวม และรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนที่ทำงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนะ และแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัย คือ ทางโรงเรียนควรขอความอนุเคราะห์ผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์หลักสูตรมาช่วยในการวิเคราะห์ เพื่อจะได้ปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสม ผู้บริหารควรประชุมครูเพื่อให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม และควรสนับสนุนให้มีการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนไปพร้อมๆ กัน ควรมีการจัดอบรมให้ครูผู้สอนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรสนับสนุนบุคลากรและจัดอบรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนให้ศึกษานิเทศก์ที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลออกมาให้ความรู้ในการสร้างเครื่องมือประเมิน เพื่อให้ได้แบบประเมินตรงตามความต้องการของสถานศึกษาและครูผู้สอน และผู้บริหารควรให้ความรู้และประสานความร่วมมือกับชุมชนและผู้ปกครองของเด็กให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมของโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน : รูปแบบที่คัดสรร. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
_______. (2540). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540 – 2544). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ภคมน โถปลาบุษราคัม. (2555). ปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี:สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มงคล กุลเกลี้ยง. (2548). สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วิจิตรา ตั้งตระการพงษ์. (2555). ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอห้วยราชและอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิชาการ, กรม. (2541). คู่มือพัฒนาโรงเรียนด้านการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.
วิเชียร เวชสาร. (2546). ความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี6.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.