วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy <p><span style="font-weight: 400;"><strong>วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online)</strong> (เดิมคือ วารสารจิตวิทยาคลินิก, </span>ISSN<span style="font-weight: 400;">: 0125-1422)</span><span style="font-weight: 400;"> ตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม, กันยายน-ธันวาคม) วารสารจิตวิทยาคลินิกไทยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการทางจิตวิทยาคลินิก จิตบำบัด การวัดการทดสอบทางจิตวิทยาที่มีองค์ความรู้ใหม่ๆและเกี่ยวข้องกับสหวิทยาการอื่นๆ เช่น จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ จิตเวชศาสตร์ ประสาทจิตวิทยา นิติจิตวิทยา และศาสตร์อื่นๆที่ใกล้เคียงกัน </span><span style="font-weight: 400;">โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยา แพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการและนักวิจัย ซึ่งบทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผ่านการพิจารณาความถูกต้องทางวิชาการ (Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน โดยการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้เขียนบทความ (Double - blind peer review)</span></p> <p><strong>วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;"> ISSN : 2774-1087 (Online)</span></p> th-TH <p>เรื่องที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาคลินิกแล้วถือเป็นลิขสิทธิ์การเผยแพร่โดยวารสารจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์หรือเผยแพร่ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารฯ</p> [email protected] (Wattana Prohmpetch) [email protected] (Penprapa Prinyapol) Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 อิทธิพลของการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนต่อภาวะซึมเศร้าผ่านการเปิดเผยเพศวิถีและการรับรู้การกีดกันในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/271766 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนกับภาวะซึมเศร้า โดยมีการเปิดเผยเพศวิถีและการรับรู้การกีดกันเป็นกลไกที่ร่วมอธิบายความสัมพันธ์<strong> วัสดุและวิธีการ </strong>การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถีจำนวน 263 คน ผ่านการตอบแบบวัดรายงานตนเองของตัวแปรที่ศึกษาทางออนไลน์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล<strong> ผลการศึกษา</strong> โมเดลสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ พบอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนต่อภาวะซึมเศร้า โดยพบอิทธิพลทางบวกของการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนต่อภาวะซึมเศร้าในทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมผ่านการรับรู้การกีดกันไปยังภาวะซึมเศร้า รวมถึงอิทธิพลทางอ้อมผ่านการเปิดเผยเพศวิถีและการรับรู้การกีดกันไปยังภาวะซึมเศร้า <strong>สรุป </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในลำดับต้นๆ ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน ภาวะซึมเศร้า การเปิดเผยเพศวิถี และการรับรู้การกีดกันของคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถีในไทย ข้อค้นพบจากการศึกษาสามารถนำมาใช้ต่อยอดในการส่งเสริมประสิทธิภาพของการทำงานเชิงจิตวิทยาทั้งในแง่ของการป้องกันและการบำบัดภาวะซึมเศร้าในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี</p> ณัชชา ศรีพิบูลพานิช, กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/271766 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความนิยมความสมบูรณ์แบบกับสุขภาวะเชิงอัตวิสัย ในนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยมีความเมตตากรุณาเป็นตัวแปรส่งผ่าน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273322 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความนิยมความสมบูรณ์แบบในมิติความมุ่งมั่นสู่ความสมบูรณ์แบบ และมิติความกังวลในความสมบูรณ์แบบ โดยมีความเมตตากรุณาต่อตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน <strong>วัสดุและวิธีการ </strong>เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป มาตรวัดลักษณะยึดติดความสมบูรณ์แบบ มาตรวัดสุขภาวะเชิงอัตวิสัย มาตรวัดความพึงพอใจในชีวิต มาตรวัดความรู้สึกด้านบวกและด้านลบและมาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง ในกลุ่มตัวอย่างนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 273 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง <strong>ผล</strong><strong>การศึกษา</strong> อิทธิพลทั้งหมดถึงระดับนัยสำคัญ ยกเว้นอิทธิพลทางตรงของความมุ่งมั่นและความกังวลในความสมบูรณ์แบบต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัย และอิทธิพลทางอ้อมของความมุ่งมั่นสู่ความสมพลทางตรงของความมุ่งมั่นและความกังวลในความสมบูรณ์แบบต่อสุขภาวะเชิงอัตวิสัย และอิทธิพลทางอ้อมของความมุ่งมั่นสู่ความสมบูรณ์แบบที่ส่งผ่านความจมทุกข์กับตนเอง โดยในมิติความมุ่งมั่นสู่ความสมบูรณ์แบบมีผลทำให้เกิดความเมตตากรุณาต่อตนเองสูงและความจมทุกข์กับตนเองต่ำแล้วส่งผลทำให้สุขภาวะเชิงอัตวิสัยเพิ่มขึ้น และในมิติความกังวลในความสมบูรณ์แบบส่งผลทำให้ความเมตตากรุณาต่อตนเองต่ำและความจมทุกข์กับตนเองสูง ส่งผลให้สุขภาวะเชิงอัตวิสัยลดลง <strong>สรุป</strong> ความเมตตาต่อตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างความนิยมความสมบูรณ์แบบและสุขภาวะเชิงอัตวิสัย</p> วรัญญู กองชัยมงคล Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273322 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบปรับความคิดอาศัยสติเพื่อเสริมสร้างความผาสุกทางจิตในแม่เลี้ยงเดี่ยว https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273199 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความผาสุกทางจิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวกลุ่มทดลองก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความผาสุกทางจิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวระหว่างแม่เลี้ยงเดี่ยวกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม <strong>วัสดุและวิธีการ</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีกลุ่มควบคุมวัดก่อน-หลัง (pretest-posttest control group design) กลุ่มเป้าหมาย คือ แม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องรับผิดชอบลูกที่เกิดจากตนเองตามลำพังจากสถานคุ้มครองและฝึกอาชีพบ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร ที่คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 22 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 11 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบปรับความคิดอาศัยสติและ 2) แบบวัดความผาสุกทางจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบจับคู่และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ <strong>ผลการศึกษา</strong> 1) ค่าเฉลี่ยความผาสุกทางจิตของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ในระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความผาสุกทางจิตสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <strong>สรุป</strong> โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มแบบปรับความคิดอาศัยสติสามารถเสริมสร้างความผาสุกทางจิตให้แก่แม่เลี้ยงเดี่ยว</p> พรฤดี ปิยะคุณ, นฤมล พระใหญ่ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273199 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการเผชิญความเครียด ที่มีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/272603 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเอง การเผชิญความเครียดที่มีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 <strong>วัสดุและวิธีการ</strong> กลุ่มตัวอย่าง 320 คนเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565 โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในตนเอง 3) แบบสอบถามวิธีการเผชิญความเครียดและ 4) แบบสอบถามการปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ <strong>ผลการศึกษา</strong> การรับรู้ความสามารถในตนเอง (β = .56)และการเผชิญความเครียด (β = .17) สามารถร่วมกันท านายการปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ร้อยละ 47.20 (R<sup>2</sup> = .472) ที่ระดับนัยส าคัญทางสถิติที่ .01 โดยตัวแปรที่สามารถทำนายได้ดีที่สุดคือ การรับรู้ความสามารถในตนเอง <strong>สรุป</strong> การรับรู้ความสามารถในตนเองและการเผชิญ ความเครียด ร่วมกันทำนายการปรับตัวของนักศึกษาได้โดยการรับรู้ความสามารถในตนเองเป็นทักษะสำคัญที่ควรส่งเสริมให้นักศึกษา เพราะหากนักศึกษามีการรับรู้ความสามารถในตนเองมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะมีการปรับตัวที่ดีมากขึ้น</p> นนทิมา สิริเกียรติกุล Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/272603 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้น ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครปฐม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273616 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้น ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครปฐม <strong>วัสดุและวิธีการ</strong> เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นที่มารับบริการ ณ ห้องตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดความสามารถในการดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้น สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเช่อ และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก <strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า ความสามารถในการดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (<em>M</em> = 279.78, <em>S.D.</em>=36.540 โดยตัวแปรพยากรณ์ทางด้านบวกที่มีผลต่อความสามารถในการดูแล คือ ผู้ดูแลเพศหญิง การมีรายได้ 20,001 บาทขึ้นไป การมีผู้ร่วมดูแล และผลการเรียนของเด็ก 3.00 ขึ้นไป ส่วนตัวแปรพยากรณ์ทางด้านลบคือ การมีโรคประจำตัวของผู้ดูแล และการมีโรคทางจิตเวชของผู้ดูแล โดยตัวพยากรณ์ท้ังหมดมีค่าอิทธิพลต่อความสามารถของผู้ดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นร่วมกัน ร้อยละ 53.00 <strong>สรุป</strong> ผู้ดูแลที่เป็นเพศหญิง การมีรายได้ 20,001 บาทขึ้นไป การมีผู้ร่วมดูแล และผลการเรียนของเด็ก 3.00 ขึ้นไป คาดว่าจะมีผลต่อการเพิ่มความสามารถในการดูแล ส่วนการมีโรคประจำตัวและการมีโรคทางจิตเวชของผู้ดูแลอาจทำให้ความสามารถของผู้ดูแลลดลง ดังนั้นผู้ดูแลที่มีโรคประจำตัวและโรคทางจิตเวช จึงควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเด็กและวัยรุ่นสมาธิสั้นอย่างเหมาะสมต่อไป</p> จารุวรรณ มีต้องปัน Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273616 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพัน การผูกมัดในความสัมพันธ์ และการรักษาความสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273492 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพัน การผูกมัดในความสัมพันธ์ และการรักษาความสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี <strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ได้แก่ มาตรวัดความผูกพัน (ECR-R-18) มาตรวัดการผูกมัดในความสัมพันธ์และมาตรวัดพฤติกรรมการรักษาความสัมพันธ์ (RMBM)ในนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยประจำภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่กำลังมีความสัมพันธ์เชิงคู่รักกับเพศตรงข้าม อย่างน้อย 6 เดือนและยังไม่ได้แต่งงาน จำนวน 89 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน <strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า ความผูกพันแบบวิตกกังวลและความผูกพันแบบหลีกหนีมีความสัมพันธ์ทางลบกับทุกพฤติกรรมการรักษาความสัมพันธ์ (r = -.217 ถึง -.617) การผูกมัดในความสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเกือบทุกพฤติกรรมการรักษาความสัมพันธ์ (r = .23 ถึง .54) ยกเว้นด้านเครือข่ายทางสังคม <strong>สรุป</strong> หากนักศึกษามีความผูกพันแบบวิตกกังวลและผู้พันธ์แบบหลีกหนีอยู่ในระดับน้อย แต่มีความผูกมัดในความสัมพันธ์อยู่ในระดับ จะส่งผลให้บุคคลแสดงพฤติกรรมการรักษาความสัมพันธ์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีให้สามารถดำเนินความสัมพันธ์นั้นต่อไปได้</p> ภัทรนิศวร์ ธนกูลอัครชัย, กมลพร วรรณฤทธิ์, ธนยศ สุมาลย์โรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273492 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700