วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy <p><span style="font-weight: 400;"><strong>วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online)</strong> (เดิมคือ วารสารจิตวิทยาคลินิก, </span>ISSN<span style="font-weight: 400;">: 0125-1422)</span><span style="font-weight: 400;"> ตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม, กันยายน-ธันวาคม) วารสารจิตวิทยาคลินิกไทยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการทางจิตวิทยาคลินิก จิตบำบัด การวัดการทดสอบทางจิตวิทยาที่มีองค์ความรู้ใหม่ๆและเกี่ยวข้องกับสหวิทยาการอื่นๆ เช่น จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ จิตเวชศาสตร์ ประสาทจิตวิทยา นิติจิตวิทยา และศาสตร์อื่นๆที่ใกล้เคียงกัน </span><span style="font-weight: 400;">โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยา แพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการและนักวิจัย ซึ่งบทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผ่านการพิจารณาความถูกต้องทางวิชาการ (Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน โดยการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้เขียนบทความ (Double - blind peer review)</span></p> <p><strong>วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;"> ISSN : 2774-1087 (Online)</span></p> the Thai Clinical Psychology Association th-TH วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) 2774-1087 <p>เรื่องที่ลงตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาคลินิกแล้วถือเป็นลิขสิทธิ์การเผยแพร่โดยวารสารจิตวิทยาคลินิกแต่เพียงผู้เดียว การตีพิมพ์หรือเผยแพร่ซ้ำในที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารฯ</p> ผลของการใช้ถาดทรายบำบัดสำหรับปัญหาสุขภาพจิตในเด็กที่ถูกทารุณกรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/281889 <p>บทความฟื้นฟูวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประวัติความเป็นมาของถาดทรายบำบัด กระบวนการใช้ถาดทรายเพื่อการบำบัด การใช้ถาดทรายบำบัดสำหรับปัญหาสุขภาพจิตในเด็กที่ถูกทารุณกรรม ยกตัวอย่างการใช้ถาดทรายบำบัดเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในเด็กที่ถูกทารุณกรรม ผู้นิพนธ์ได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต้ังแต่ปีค.ศ. 2009-2024 โดยใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของ Thai Journal Online (ThaiJO) และ Google Scholar ผลการรวบรวมข้อมูลแสดงให้เห็นว่า มีหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประโยชน์ของการบำบัดด้วยถาดทรายที่สามารถช่วยปรับแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในวัยเด็กที่ถูกทารุณกรรมได้เช่น การลดระดับความวิตกกังวล การปรับตัวให้เข้ากับความทรงจำไม่ดีที่เกิดขึ้นในอดีต รวมไปถึงการพัฒนาอารมณ์และความคิดของเด็กให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการบำบัดด้วยถาดทรายเหมาะสำหรับเด็กที่ประสบปัญหาในการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกเป็นคำพูด เด็กเป็นศูนย์กลาง นักบำบัดชวนให้เด็กนึกคิดถึงปัญหาหรือสถานการณ์ทำให้เด็กสามารถแสดงออกผ่านถาดทรายได้อย่างอิสระ ดังนั้น การบำบัดด้วยถาดทรายเป็นหนึ่งในการเล่นบำบัดเพื่อให้เด็กได้ระบายความรู้สึกภายในใจ มีข้อจำกัดในการสื่อสาร ช่วยให้เด็กได้สำรวจและแสดงออกถึงความคิด อารมณ์ความรู้สึกของตนเองมากกว่าการเล่าเรื่อง เทคนิคนี้เข้าไปในระดับลึกของจิตใจจนเกิดความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับตนเองในเชิงบวก นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการเติบโตและเสริมสร้างการพัฒนาเชิงคิดสร้างสรรค์มีการอธิบายถึงวิธีการ เทคนิคและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในถาดทรายบำบัดสำหรับเด็ก ผู้บำบัดควรมีความเชี่ยวชาญและผ่านการฝึกอบรมการทำถาดทรายบำบัด</p> พรอุมา กำเหนิดนนท์ ปภาพร ไวยวุฒิ พนมพร พุ่มจันทร์ สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์ เอื้ออนุช ถนอมวงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-08 2025-02-08 56 1 80 90 ประสบการณ์การรับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาของผู้ที่เคยเผชิญความรุนแรงในความสัมพันธ์แบบคู่รัก: การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/282330 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์การรับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในผู้ที่เคยประสบกับความรุนแรงในความสัมพันธ์แบบคู่รัก <br /><strong>วัสดุและวิธีการ </strong>การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างเป็นเวลา 74-123 นาที ผู้เข้าร่วมวิจัยเพศหญิงจำนวน 4 คน อายุ 21-28 ปี ที่เคยเข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความรุนแรงในความสัมพันธ์แบบคู่รัก<br /><strong>ผลการศึกษา </strong>บทความวิจัยนี้นำเสนอสองประเด็นหลักของผลการวิจัย คือ 1) การปรึกษาทำให้ตระหนักถึงสภาวะที่เผชิญในความสัมพันธ์ ประกอบไปด้วย 4 ประเด็นย่อยดังนี้ (1) การปรึกษาช่วยให้ตระหนักรู้มุมมองที่มีต่อปัญหา (2) การลดการกล่าวโทษตนเอง (3) การตระหนักรู้ถึงอุปสรรคในการออกจากความสัมพันธ์ และ (4) ความขัดแย้งในตนเองทำให้เลี่ยงการปรึกษาต่อ และ 2) การปรึกษาช่วยให้มั่นคงในการยืนหยัดเพื่อตนเอง ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นย่อยดังนี้ (1) การปรึกษาช่วยสร้างขอบเขตในการอยู่ในความสัมพันธ์ (2) ความเปลี่ยนแปลงในใจจากการปรึกษาช่วยให้สามารถยุติความสัมพันธ์ได้และ (3) การปรึกษาช่วยให้เกิดความมั่นคงในการยุติความสัมพันธ์<br /><strong>สรุป</strong> ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่มีต่อการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองเกี่ยวกับการเผชิญกับความรุนแรงในความสัมพันธ์แบบคู่รกั และการพัฒนาความมั่นคงทางจิตใจในการยืนหยัดออกจากความสัมพันธ์ที่รุนแรงจากมุมมองผู้รับบริการ ซึ่งผู้ให้การปรึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของผู้รับบริการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป</p> สาธิดา เต็มกุลเกียรติ ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-08 2025-02-08 56 1 1 16 ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ทำงานกับผู้รับบริการที่มีความคิดฆ่าตัวตาย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/282360 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ทำงานกับผู้รับบริการที่มีความคิดฆ่าตัวตาย<br /><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ มีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ทำงานกับผู้รับบริการที่มีความคิดฆ่าตัวตายจำนวน 5 ราย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนผ่านการบันทึกประเด็นสำคัญ ระบุใจความสำคัญ และจัดหมวดหมู่ใจความสำคัญ การตรวจสอบความน่าเชื่อถือข้อมูลโดยอาจารย์ที่ปรึกษา (peer debriefing)<br /><strong>ผลการศึกษา</strong> ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทางจิตใจและการดูแลตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด พบ 2 ใจความสำคัญหลัก ได้แก่ ใจความสำคัญหลักที่ 1 คือ ความกลัวและไม่เชื่อมั่นในการรับมือกับความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งประกอบด้วย 2 ใจความสำคัญรอง คือ ความไม่เชื่อมั่นจากการคิดว่าตนเองด้อยความสามารถ และความกลัวว่าจะไม่สามารถป้องกันการฆ่าตัวตายได้และใจความสำคัญหลักที่ 2 คือ การเรียนรู้เพื่อรับมือกับความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งประกอบด้วย 2 ใจความสำคัญรอง คือ การมองเห็นตามความเป็นจริง และการดูแลและพัฒนาตนเอง <br /><strong>สรุป</strong> ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดแม้จะมีความกลัวและไม่เชื่อมั่น แต่ก็เรียนรู้การรับมือกับผู้รับบริการที่มีความคิดฆ่าตัวตายด้วยการมองตามความเป็นจริง ดูแลและพัฒนาตนเองจนสามารถทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ชิษณุชา เลิศพัฒนกุลธร วรัญญู กองชัยมงคล ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล Copyright (c) 2025 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-08 2025-02-08 56 1 17 32 ประสบการณ์ของบุคคลวัยทำงานที่มีต่อการเข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล: การวิจัยเชิงคุณภาพ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/282899 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของบุคคลวัยทำงานที่มีต่อการเข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอลแบบเรียลไทม์ในสังคมไทยช่วงสถานการณ์การระบาดโควิด-19<br /><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ และเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับมุมมองและปัจจัยในการเลือกใช้ก่อนเข้ารับบริการ อารมณ์ความรู้สึกและแนวคิดการปรับตัวระหว่างเข้ารับบริการ ตลอดจนสิ่งที่ได้เรียนรู้เชิงประสบการณ์หลังเข้ารับบริการ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคลวัยทำงาน จำนวน 7 ราย อายุระหว่าง 28-42 ปี ซึ่งท้ังหมดล้วนมีประสบการณ์ในการเข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาท้ังแบบพบหน้าและผ่านวิดีโอคอล อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป และสิ้นสุดการเข้ารับบริการแล้ว<br /><strong>ผลการศึกษา</strong> พบ 5 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) สิ่งที่ค านึงก่อนเข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอล 2) การรับรู้อารมณ์และความพยายามในการสื่อสารผ่านวิดีโอคอล 3) การรับรู้ถึงอรรถประโยชน์ของบริการปรึกษาผ่านวิดีโอคอล 4) การรับรู้การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกหลังเข้ารับบริการปรึกษาผ่านวิดีโอคอล และ 5) ความมุ่งหวังของผู้รับบริการต่อบริการปรึกษาทางวิดีโอคอล<br /><strong>สรุป</strong> ผลการศึกษาช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจหลากหลายมิติเกี่ยวกับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอลในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ก าลังแสวงหาความช่วยเหลือ และเริ่มเข้าสู่บริการปรึกษาด้านสุขภาพจิตในการประยุกต์ใช้เป็นแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของตนเองในช่องทางออนไลน์ผ่านวิดีโอคอลตลอดจนเป็นแนวทางปฏิบัติส าหรับนักจิตวิทยาและบุคลากรด้านสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผ่านวิดีโอคอลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> กิตินัดดา อิทธิวิทย์ ณัฐสุดา เต้พันธ์ Copyright (c) 2025 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-08 2025-02-08 56 1 33 49 ประสบการณ์วัยเด็กของผู้ที่เติบโตมากับพ่อแม่ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/282190 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาประสบการณ์วัยเด็กของผู้ที่เติบโตมากับพ่อแม่ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า<br /><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ เก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยค าถามแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก 6 รายเป็นบุคคลท่ัวไปที่เคยมีประสบการณช่วงอายตุ่ำกว่า 18 ปีอาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลผ่านการบันทึกประเด็นสำคัญ ระบุประเด็นสำคัญ และจัดหมวดหมู่ประเด็นสำคัญ<br /><strong>ผลการศึกษา</strong> พบแก่นสาระประสบการณ์ 3 ประเด็น คือ (1) การรับรู้ความไม่ปกติในชีวิต แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นโรคซึมเศร้า (รับรู้ว่าพ่อแม่มีอาการซึมเศร้าแต่ไม่เข้าใจโรคนี้ กังวลและรู้สึกผิด คิดว่าตนมีส่วนทำให้เกิดความเจ็บป่วย รู้ว่าพ่อแม่ที่ป่วยอ่อนไหวง่าย ชีวิตครอบครัวเปลี่ยนไป) (2) ความรู้สึกท่วมท้นและไม่แน่ใจว่าจะต้องทำตัวอย่างไรในช่วงวิกฤติของพ่อแม่ (กังวลเกี่ยวกับสุขภาพของพ่อแม่ที่ป่วย ลำบากใจเมื่อต้องรับมือกับพ่อแม่ที่ป่วยตอนอาการกำเริบ หงุดหงิดและไม่พอใจ ขาดความเชื่อมั่นในตัวพ่อแม่ สงสารและเห็นใจพ่อแม่ที่เป็นผู้ดูแล) (3) การปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อให้อยู่กับพ่อแม่ที่ป่วยได้(พยายามปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตร่วมกับพ่อแม่ที่ป่วย กำหนดเป้าหมายในชีวิตและรับผิดชอบต่อตนเอง ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยดูแลพ่อแม่ที่ป่วย มีบทบาทใหม่เป็นที่พึ่งทางใจให้พ่อแม่)<br /><strong>สรุป</strong> ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงผลทางลบในการเติบโตและอาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ซึ่งนักจิตวิทยานักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ครอบครัวควรได้ตระหนักรู้เพื่อให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา</p> ศุภวิชญ์ วชิรบรรจง อรัญญา ตุ้ยคําภีร์ Copyright (c) 2025 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-08 2025-02-08 56 1 50 65 การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการเล่นบำบัดที่ส่งผลต่ออาการของโรคสมาธิสั้นในเด็ก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015-2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/280483 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อทบทวนและสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประสิทธิผลของการเล่นบำบัดในการลดอาการของโรคสมาธิสั้นในเด็ก รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลดังกล่าว จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 2015-2024<br /><strong>วัสดุและวิธีการ </strong>การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการเล่นบำบัดที่ส่งผลต่ออาการของโรคสมาธิสั้น ในเด็กที่ตีพิมพ์ต้ังแต่ ค.ศ. 2015-2024 จากฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5 ฐานข้อมูล ได้แก่ PsycLit, PubMed, ScienceDirect, APA PsycInfo, และ ThaiJo โดยสืบค้นตามแนวทาง PRISMA คัดเลือกบทความซ้าออก พิจารณาตามเกณฑ์คัดเข้า-คัดออก และประเมินคุณภาพบทความด้วย JBI’s critical appraisal tools จากนั้นจึงดำเนินการสกัดข้อมูลด้วยการสังเคราะห์เนื้อหา<br /><strong>ผลการศึกษา </strong>งานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกมีจำนวน 23 บทความ เมื่อสังเคราะห์เนื้อหาพบประเด็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเล่นบำบัดที่ช่วยลดอาการสมาธิสั้นในเด็ก โดยปัจจัยสำคัญของการเล่นบำบัดที่มีอิทธิพลต่อการลดอาการโรคสมาธิสั้น ได้แก่ 1) การพัฒนาการสื่อสารและการตระหนักรู้ 2) การเสริมสร้างความมั่นใจในการแก้ไขปัญหา 3) การพัฒนาทักษะทางสังคมภายใต้ความสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และ 4) การเสริมสร้างทักษะการควบคุมตนเองผ่านกิจกรรมการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้อาจมีอคติในการเลือกบทความ เนื่องจากการรวบรวมเฉพาะบทความที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่<br /><strong>สรุป</strong> การเล่นบำบัดที่ประกอบด้วยปัจจัยการสื่อสาร ตระหนักรู้แก้ไขปัญหา พัฒนาทักษะทางสังคม และการควบคุมตนเอง ช่วยลดอาการของโรคสมาธิสั้นท้ังอาการขาดสมาธิและอาการอยู่ไม่นิ่ง/หุนหันพลันแล่นในเด็กได้มีประสิทธิภาพขึ้น</p> พิมพ์นิภาภัค ศรีน้อยเมือง ฐิตาภา ชินกิจการ พลากร สืบสำราญ Copyright (c) 2025 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-02-08 2025-02-08 56 1 66 79