https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/issue/feed วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) 2024-06-26T08:42:06+07:00 Wattana Prohmpetch wattana.ph@psu.ac.th Open Journal Systems <p><span style="font-weight: 400;"><strong>วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online)</strong> (เดิมคือ วารสารจิตวิทยาคลินิก, </span>ISSN<span style="font-weight: 400;">: 0125-1422)</span><span style="font-weight: 400;"> ตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม, กันยายน-ธันวาคม) วารสารจิตวิทยาคลินิกไทยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิชาการทางจิตวิทยาคลินิก จิตบำบัด การวัดการทดสอบทางจิตวิทยาที่มีองค์ความรู้ใหม่ๆและเกี่ยวข้องกับสหวิทยาการอื่นๆ เช่น จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ จิตเวชศาสตร์ ประสาทจิตวิทยา นิติจิตวิทยา และศาสตร์อื่นๆที่ใกล้เคียงกัน </span><span style="font-weight: 400;">โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยา แพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการและนักวิจัย ซึ่งบทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผ่านการพิจารณาความถูกต้องทางวิชาการ (Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 3 ท่าน โดยการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้เขียนบทความ (Double - blind peer review)</span></p> <p><strong>วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online)</strong></p> <p><span style="font-weight: 400;"> ISSN : 2774-1087 (Online)</span></p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273701 การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมช่วงวัยเด็กตอนต้น: ในบริบทประเทศไทย 2023-12-17T18:19:52+07:00 รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช rangsirat.wo@go.buu.ac.th พีร วงศ์อุปราช Peera.wo@go.buu.ac.th นิสรา คำมณี ์Nissara@go.buu.ac.th ภัทรา ลอออรรถพงศ์ Pattra@go.buu.ac.th <p> การศึกษาในต่างประเทศที่ผ่านมาพบว่า การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่อาศัยปฏิสัมพันธ์ของบริบททางสังคมรอบตัว ซึ่งช่วยพัฒนาพฤติกรรมเชิงบวกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตลอดจนนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจในรูปแบบต่าง ๆ ของเด็กอย่างได้ผล แต่เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาในบริบทของประเทศไทยแม้จะพบว่า มีการศึกษาและกล่าวถึงแนวคิดดังกล่าวอยู่บ้างแต่กลับยังไม่มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของโปรแกรมหรือเครื่องมือที่มีความเป็นมาตรฐานเพื่อการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของวัยเด็กตอนต้น<br /> ผู้เขียนจึงต้องการผลักดันให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเล็งเห็นถึงความสำคัญและมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าว โดยผู้เขียนได้ศึกษาแนวทางการสร้างโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมจากบทความวิชาการและงานวิจัยหลายประเทศท่ัวโลก ซึ่งพบว่า การสร้างโปรแกรมฯ มักใช้หลักการเซเฟอร์ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้ปรับปรุงหลักการดังกล่าวให้มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคม เพื่อนำไปใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของวัยเด็กตอนต้นในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต<br /> นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้สังเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมให้มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมบ่งชี้ของพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของวัยเด็กตอนต้นในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้ในการสร้างแบบประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของวัยเด็กตอนต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/274147 การจัดการอารมณ์ด้านลบของวัยรุ่นที่ได้รับผลจากเทคโนโลยีดิจิทัล 2024-02-05T12:31:39+07:00 สาโรจน์ วรรณโภคิน sarijwannapokin@gmail.com หัฎฐกร สำเร็จดี hattakorn@kku.ac.th <p>วัยรุ่นเจนเนอเรชั่น Z เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยี มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์เกือบตลอดเวลา ข้อดีคือสามารถปรับตัวและใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างเชี่ยวชาญ ข้อเสียของการเข้าถึงข้อมูลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สามารถส่งผลต่อการคิด อารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่ดีได้ โดยปัจจัยที่สำคัญต่อการจัดการผลกระทบทางด้านลบจากเทคโนโลยีดิจิทัลคือ การจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับวัยรุ่นที่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัลกับการจัดการอารมณ์พบว่า วัยรุ่นสามารถจัดการอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง โดยการฝึกฝนเทคนิคการจัดการอารมณ์อย่างเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการอารมณ์หรือด้วยความช่วยเหลือจากผู้ปกครองและครู ผู้นิพนธ์จึงมุ่งหวังให้บทความเกี่ยวกับการจัดการอารมณ์ด้านลบซึ่งเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำความเข้าใจวัยรุ่นและสามารถนำข้อมูลใช้เป็นแนวทางช่วยเหลือวัยรุ่นให้มีทักษะจัดการกับอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/273726 คำตอบรอส์ชาคของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องการผ่าตัดปลูกถ่ายไต 2023-12-18T12:30:59+07:00 อลิสา กุณฑลบุตร bkunthon@yahoo.com กุลธิดา พิพัฒน์จรัสสกุล kulathida_pk@hotmail.com ปุณฑริกา ศรีจันทร์ Tarikapsy@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาคำตอบรอส์ชาคของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ต้องการปลูกถ่ายไต <strong>วัสดุและวิธีการ </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง (retrospective study) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องการผ่าตัดปลูกถ่ายไตและมารับบริการการตรวจทางจิตวิทยาที่คลินิกจิตเวชโรงพยาบาลราชวิถีตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวนทั้งสิ้น 115 ราย ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทั่วไปและแบบทดสอบรอส์ชาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติดังนี้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ยังคงทำงานและใช้สิทธิการรักษาประกันสังคม โดยพบลักษณะคำตอบรอส์ชาค ด้านตำแหน่งเนื้อที่ของภาพ (location) ส่วนใหญ่ให้คำตอบ W ร้อยละ 61.44 ด้านเหตุผลของคำตอบ (determinant) ส่วนใหญ่ให้คำตอบ F ร้อยละ 60.2 ด้านเนื้อหาหรือชนิดของคำตอบ (content) ส่วนใหญ่ให้คำตอบ A ร้อยละ 50.3 จำนวนคำตอบทั้งหมด (total response) มีค่าเฉลี่ย 16.4 คำตอบที่คนส่วนใหญ่มักจะตอบ (popular response) มีค่าเฉลี่ย 4.5 <strong>สรุป </strong>กลุ่มตัวอย่างให้คำตอบ W และ คำตอบ A ทั้งคู่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ ส่วนจำนวนคำตอบทั้งหมดและคำตอบที่คนส่วนใหญ่มักจะตอบ ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติทั้งคู่ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังน่าจะมีความสามารถจำกัดหรือมีปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ จึงควรมีการตรวจประเมินหรือคัดกรองเพิ่มเติม หากพบปัญหาดังกล่าวควรส่งต่อ พบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อร่วมดูแลรักษา</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/272408 การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเองสำหรับวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ 2024-01-17T19:25:16+07:00 วันวิสาข์ พันธ์สกูล pskwanwisa@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาผลของการใช้กลุ่มกิจกรรมศิลปะที่มีต่อระดับความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ในช่วงก่อน หลัง และติดตามผล 3 เดือนหลังเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมทางศิลปะ และเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมศิลปะ<strong> วัสดุและวิธีการ </strong>การวิจัยกึ่งทดลอง ประเมินความภาคภูมิใจของกลุ่มตัวอย่าง 3 ครั้งได้แก่ ก่อน หลัง และติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์อายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 12 คน เข้าร่วมกิจกรรรมทางศิลปะ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง จำนวนทั้งหมด 8 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความภาคภูมิใจในตนเอง แบบสอบถามความพึงพอใจและความคิดเห็นต่อกิจกรรม ค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหา <strong>ผลการศึกษา </strong>พบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะคะแนนเฉลี่ยความภาคภูมิใจในตนเองของกลุ่มตัวอย่างมากขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และระยะติดตามผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างสะท้อนให้เห็นว่า ผลของการวาดรูปทำให้ได้สื่อถึงตัวเองผ่านรูปวาด กล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเอง ร่วมกันทำงานกลุ่ม และการเสนอผลงานตัวเองผ่านงานนิทรรศการ <strong>สรุป</strong> ผลของกลุ่มกิจกรรมศิลปะสามารถเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเองและสร้างความพึงพอใจระดับมากที่สุด คาดว่าเป็นผลจากการสะท้อนมุมมองความรู้สึกทางบวกร่วมกันในวัยรุ่นสถานสงเคราะห์ จึงสามารถเป็นแนวทางส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเองได้</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/275624 การพัฒนาแบบประเมินการรู้คิดทางสังคมเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง 2024-02-25T11:45:26+07:00 ภัทรวรรธน์ สุขยิรัญ talnamon@hotmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> 1) พัฒนาแบบประเมินการรู้คิดทางสังคมสำหรับผู้ป่วยจิตเภท 2) ศึกษาคุณสมบัติทางการวัดทางจิตวิทยา (psychometric properties) ของแบบประเมินที่พัฒนาขึ้น <strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) แบ่งเป็น 2 ระยะคือ 1) พัฒนาแบบประเมินการรู้คิดทางสังคมสำหรับผู้ป่วยจิตเภทและศึกษาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 2) ศึกษาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเที่ยงตรงตามสภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทอายุ18-59 ปีที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 140 คน วิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วย factor analysis วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’ s alpha coefficients ) เพื่อทดสอบความเชื่อมั่นและความสอดคล้องภายใน และศึกษาความเที่ยงตรงตามสภาพร่วมกับแบบทดสอบ WAIS-III ด้วย Pearson’s correlation <strong>ผลการศึกษา</strong> แบบประเมินฉบับร่างประกอบด้วย 4 ด้าน จำนวน 31 ข้อ คือ 1) ด้านการรับรู้อารมณ์ 2) ด้านทฤษฎีของจิต 3) ด้านการรับรู้ทางสังคม และ 4) ด้านอคติในการระบุเหตุผ่านเกณฑ์ความตรงเชิงเนื้อหา 22 ข้อวิเคราะห์ข้อคำถามผ่านเกณฑ์จำนวน 20 ข้อและมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.86, 0.74, 0.80 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ส่วนความเที่ยงตรงตามสภาพพบว่า ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กับแบบทดสอบย่อย Picture Arrangement, Picture Completion และ Object Assembly อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<strong> สรุป</strong> แบบประเมินที่ได้ประกอบด้วย 4 ด้าน จำนวน 20 ข้อ มีคุณสมบัติด้านความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นสามารถใช้ในการประเมินการรู้คิดทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทได้และควรศึกษาเพื่อหาจุดตัดที่เหมาะสมต่อไป</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/tci-thaijclinicpsy/article/view/276265 ความเชื่อตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับความเป็นหญิงด้านการดื่มสุราและ drunkorexia ในนักศึกษาปริญญาตรีหญิง 2024-04-02T10:05:00+07:00 ศจีแพรว โปธิกุล sajeepraew.pot@gmail.com ภัคจิรา ชินวัตร phukjira.shin@gmail.com ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ sk_chaiyun@hotmail.com <p>Drunkorexia เป็นแบบแผนพฤติกรรมที่บุคคลควบคุมปริมาณอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหนักเกินไปเพื่อคุมแคลอรี่และทำให้สามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือให้บุคคลที่มี drunkorexia ประสบกับความเสี่ยงที่เกิดทั้งพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติกับปัญหาจากการดื่มสุราร่วมกัน <strong>วัตถุประสงค์ </strong>เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเชื่อตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับความเป็นหญิงด้านการดื่มสุราที่ส่งผลต่อ drunkorexia ของนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรี <strong>วัสดุและวิธีการ </strong>กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่เคยดื่มสุราในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาจำนวน 290 คน การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างตามสะดวกผ่านการเก็บข้อมูลออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย Drunkorexia Motives and Behaviors Scale และแบบประเมิน Femininity-Related Intermediate Beliefs about Alcohol use Questionnaire การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง <strong>ผล </strong>ความเชื่อตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับความเป็นหญิงด้านการดื่มสุราสามารถทำนาย drunkorexia ได้ร้อยละ 34.5 ความเชื่อตัวกลางเกี่ยวกับการดื่มที่สอดคล้องกับความเป็นหญิงมีอิทธิพลทางบวกต่อ drunkorexia อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .658) ในขณะที่ความเชื่อตัวกลางเกี่ยวกับการดื่มที่ต่อต้านความเป็นหญิงไม่มีอิทธิพลต่อ drunkorexia อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <strong>สรุป</strong> ความเชื่อตัวกลางที่เกี่ยวกับความเป็นหญิงด้านการดื่มสุรามีความ สัมพันธ์กับ drunkorexia การดำเนินการป้องกันปัญหาการดื่มสุราในนักศึกษาหญิงอาจจะต้องคำนึงพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติด้วย</p> 2024-06-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online)