TY - JOUR AU - Mekchone , Vilayvanh AU - Phumkeaw, Piyaporn PY - 2020/04/27 Y2 - 2024/03/29 TI - The Development of Mathematical Reasoning Thinking by Lesson Study Process and Open Approach in Pakse Teacher Training College’s Demonstration School, Lao PDR JF - Journal of Roi Et Rajabhat University JA - J Roi Et VL - 14 IS - 1 SE - Research Articles DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/208527 SP - 136-146 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูปากเช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561-2562 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูปากเช นครปากเช แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 28 คน ชึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดความสามารถ ในการคิดอย่างมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัยจำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .35 - .75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 - .80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิดมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านการหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยอาศัยข้อมูล หลักการ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.49 2) ด้านการแสดงแนวคิดในการแก้ปัญหามีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.54 3) ด้านความสามารถในการอธิบาย และการตรวจสอบแนวคิดอย่างสมเหตุ สมผล มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.56</p> ER -