วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm <p><strong>วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ</strong></p> <p>เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำโดยคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ผ่านการรับรองคุณภาพวารสาร Thai-Journal Citation Index: TCI Group II</p> <p>มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์<br />และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านการสื่อสารมวลชน วารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่มีผลงานเกี่ยวเนื่องกับศาสตร์ทางด้านนี้ และเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการสื่อสารในสาขาวิชาต่างๆ มากขึ้น</p> <p><span lang="th">กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่<br /></span><span lang="th">- ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน กำหนดเผยแพร่ในเดือน มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม กำหนดเผยแพร่ในเดือน ธันวาคม</span></p> <p><strong>ISSN: <span class="WdYUQQ text-decoration-none text-strikethrough-none">2985-0665</span> (Print) </strong><strong>ISSN: <span class="WdYUQQ text-decoration-none text-strikethrough-none">2985-0673 </span>(Online)</strong></p> th-TH <p>ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ</p> journalmc.cmu@gmail.com (Assistant Professor Siwaporn Sukittanon, Ph.D.) journalmc.cmu@gmail.com (นางสาวณัจฉรียา ก๋าบุตร) Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สื่อเพื่อเปลี่ยน : เนื้อหาและกลยุทธ์ของสารเพื่อโน้มน้าวใจในคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกของประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/270546 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางเนื้อหาและกลยุทธ์ของสารเพื่อโน้มน้าวใจในคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกประจำประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2566 จำนวน 36 คำขวัญ โดยรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ https://ashthailand.or.th/content/lists/94/10 พบว่ากลวิธีทางเนื้อหาของคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกประจำประเทศไทยที่พบมากที่สุด คือ 1. การบอกวิธีการปฏิบัติ 2. การอ้างผลที่เกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติในเรื่องที่รณรงค์ 3. การอ้างความเป็นพวกพ้อง และ4. การอ้างบุคคล ส่วนกลยุทธ์ของสารเพื่อโน้มน้าวใจของคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกประจำประเทศไทยที่พบมากที่สุด คือ 1.กลยุทธ์ของสารด้วยการสร้างอารมณ์ 2.กลยุทธ์ของสารด้วยการสร้างความกลัว 3.กลยุทธ์ของสารด้วยการสร้างเอกลักษณ์ และ4.กลยุทธ์ของสารด้วยการเปรียบเทียบไม่พบกลยุทธ์ของสารด้วยอารมณ์ขัน นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่ากลวิธีทางเนื้อหาสัมพันธ์กับกลยุทธ์ของสารเพื่อโน้มน้าวใจบางประการ</p> ดำรงค์ นันทผาสุข Copyright (c) 2024 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/270546 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยด้านการสื่อสารที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจวิ่งเพื่อออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/273218 <p>งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยด้านการสื่อสารที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจวิ่งเพื่อออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาช่องทางสื่อที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจวิ่งออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการวิ่งออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มีต่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการวิ่งออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็นนักวิ่งที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสำรวจ จำนวน 400 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน และใช้ทฤษฎีอิทธิพลอันจำกัดของสื่อ (Limited Effect Theory) เป็นแนวทางในการวิจัย</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง 210 คน คิดเป็นร้อยละ 52.50 และเพศชายจำนวน 190 คน ส่วนใหญ่มี อายุ 18-30 ปี จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 51.7 ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี จำนวน 307 คน คิดเป็นร้อยละ 76.80 ระยะเวลาที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งส่วนมากคือ 2 – 3 ปี จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 47.80 ส่วนมากวิ่งระยะทางเฉลี่ย 11-15 กม. จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ 36.00 สถานที่ที่ใช้ในการวิ่งส่วนมากใช้สนามกีฬา จำนวน 241 คน คิดเป็นร้อยละ 60.30 ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการเลือกรองเท้าวิ่งในระดับดีมาก จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 49.50 ความรู้เรื่องพัฒนาท่าวิ่งส่วนมากอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 205 คิดเป็นร้อยละ 51.20 ความรู้เรื่องการพัฒนากล้ามเนื้อและการบริหารร่างกายเพื่อการวิ่งส่วนมากอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 49.80</p> <p>ปัจจัยด้านการสื่อสารที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกการวิ่งเป็นการออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.95, S.D. = 1.05) โดย “เพื่อนหรือคนรู้จักชักชวนให้วิ่ง” = 4.22, S.D. = 0.85 เป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด สอดคล้องกับการสัมภาษณ์เจาะลึกที่พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมากคือคนใกล้ชิดทั้งทางกายภาพ หรือผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้านการสร้างแรงบันดาลใจให้ออกไปวิ่งมากที่สุด ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลักในการค้นหาข้อมูล ทั้งจากการใช้ search engine เฟซบุ๊ก และมักเลือกสื่อสารกับคนที่รู้จักกัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจข้อมูลข่าวสารด้านการสร้างแรงบันดาลใจไปวิ่งในระดับมาก จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 42.8</p> <p>จากผลการวิจัยทำให้อภิปรายผลการวิจัยได้ว่า 1) คนใกล้ชิดมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการตัดสินใจเลือกการวิ่งเป็นการออกกำลังกาย ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยว่า กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจวิ่งจากเพื่อหรือคนรู้จักชักชวนให้วิ่งมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างไม่ได้ต้องการข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ แต่ต้องการข้อมูลจากคนที่เข้าถึงได้ง่าย 2)สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในการเผยแพร่เรื่องการวิ่งมากกว่าสื่อมวลชน ดังจะเห็นได้จากทั้งสื่อที่ทำให้ตัดสินใจเลือกการวิ่ง ที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ และกลุ่มตัวอย่างก็ยังเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าสื่อมวลชน 3) การใช้อารมณ์ความรู้สึกมีความสำคัญในการจูงใจให้คนเลือกการวิ่งเป็นการออกกำลังกายได้ ดังจะเห็นได้ว่า จุดที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างหลายคนตัดสินใจวิ่งนั้น เกิดขึ้นฉับพลันทันที จากความรู้สึก โดยไม่มีการเตรียมตัวก่อนวิ่งแต่อย่างใด และ 4) สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทเป็นสิ่งสนับสนุนการตัดสินใจ จากผลวิจัยที่ทำให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างหลายคนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคนในสื่อสังคมออนไลน์ สามารถเป็นแรงผลักดันให้เกิดการตัดสินใจได้ อย่างไรก็ตาม ก็นับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนมากกว่าจะเป็นปัจจัยหลัก และสื่อสังคมออนไลน์ ยังสนับสนุนกลุ่มตัวอย่างให้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยง่าย จามความต้องการของตนเอง จึงทำให้สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในการสนับสนุนการตัดสินใจวิ่งเป็นอย่างยิ่ง</p> นันทสิทธิ์ กิตติวรากูล Copyright (c) 2024 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/273218 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความต้องการใช้คลังสื่อมัลติมีเดียล้านนาสร้างสรรค์ของกลุ่มบุคลากรในอุตสาหกรรมสื่อและผู้ใช้งานรายบุคคล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/273457 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการใช้งานคลังสื่อมัลติมีเดียล้านนาสร้างสรรค์ของผู้ผลิตสื่อในภาคอุตสาหกรรมและผู้ใช้งานรายบุคคล ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ มีเครื่องมือเป็นแบบสอบถามออนไลน์พัฒนาคำถามจากกรอบคิดคุณค่าที่นำเสนอ (Value Proposition) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้ผลิตสื่อที่เป็นหัวหน้างานในอุตสาหกรรมสื่อในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และนานาชาติ ส่วนผู้ใช้งานรายบุคคลเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟล์สื่อ มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 262 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ใช้งานรายบุคคลระบุอุปสรรคในการใช้บริการเว็บไซต์จำหน่ายไฟล์ในท้องตลาดว่ามีขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์ยุ่งยาก ต้องสมัครสมาชิก ต้องการให้เว็บไซต์คลังสื่อล้านนาแยกจำหน่ายไฟล์รายชิ้น ด้านผู้ใช้งานจากอุตสาหกรรมสื่อระบุอุปสรรคในการใช้บริการเว็บไซต์จำหน่ายไฟล์คือ ระบบค้นหาไฟล์ให้ผลไม่ตรงกับความต้องการ โฆษณาบนหน้าแพลตฟอร์มทำให้รำคาญตา หมวดหมู่เนื้อหา “ภาพนิ่งและเคลื่อนไหว” ที่ผู้ใช้งานทั้งสองกลุ่มต้องการคือภาพมุมกว้างสถานที่สำคัญของล้านนา ภาพเทศกาลประเพณี และภาพประวัติศาสตร์หายาก ส่วนไฟล์เสียงที่ผู้ใช้งานทั้งสองกลุ่มต้องการคล้ายกันคือเสียงเพลงบรรเลงที่มีท่วงทำนองล้านนา และเสียงเครื่องดนตรีล้านนา ผู้ใช้งานจากอุตสาหกรรมสื่อกำหนดคุณภาพไฟล์ที่ต้องการใช้งานอย่างเจาะจง ผู้พัฒนาเว็บไซต์คลังสื่อมัลติมีเดียล้านนาสร้างสรรค์ควรนำข้อค้นพบเหล่านี้ไปพัฒนาสินค้าและบริการสำหรับผู้ใช้งาน โดยจะทำให้เว็บไซต์จำหน่ายมัลติมีเดียล้านนาสร้างสรรค์มีความพอดีทั้งด้านผลิตภัณฑ์พอดีกับความต้องการของตลาด (Product - Market Fit) และผลิตภัณฑ์เป็นทางออกที่พอดีของผู้บริโภค (Product - Solution Fit)</p> ศิวพร สุกฤตานนท์, วีรภัทร บุญมา Copyright (c) 2024 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/273457 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของชนชั้นนำต่อการควบคุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย: กรณีศึกษา พ.ศ. 2440-2479 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/275010 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของชนชั้นนำที่มีต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในช่วง พ.ศ. 2440-2479 ในลักษณะของการควบคุมครอบงำว่ามีอิทธิพลใดก่อให้เกิดขึ้น ชนชั้นนำมีการแสดงออกถึงบทบาทอย่างไรและส่งผลกระทบอย่างไร โดยเป็นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารประวัติศาสตร์และใช้วิธีการสรุปประเด็น มีขอบเขตศึกษาข้อมูลในภาพรวมเชิงประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5-7 จำแนกการศึกษาวิจัยออกเป็นลักษณะของการควบคุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์โดยรัฐและชนชั้นนำ ประกอบด้วย การแสดงอำนาจเหนือกิจการภาพยนตร์ การตรวจสอบภาพยนตร์ก่อนเข้าฉาย (เซนเซอร์) และการออกกฎหมายควบคู่กับการตรวจสอบภาพยนตร์ก่อนเข้าฉาย ผลการวิจัยพบว่า ชนชั้นนำมีบทบาทในการควบคุมครอบงำอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยที่มีมาก่อนหน้านี้ โดยปรากฏหลักฐานว่าการควบคุมครอบงำมีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวทางการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยด้วยการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา มีการนำภาพยนตร์เข้ามาในเผยแพร่ในประเทศผ่านชนชั้นนำ หลังจากนั้นชนชั้นนำจึงได้แสดงบทบาทการควบคุมครอบงำต่อการร่างและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมภาพยนตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นการสร้างวัฒนธรรมความหวาดกลัวสำหรับผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยที่จะผลิตเนื้อหาแตกต่างจากบรรทัดฐานด้านความมั่นคงและศีลธรรมอันดีที่รัฐวางไว้</p> วินิจพรรษ กันยะพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/275010 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 การเผยแพร่ (Distribution) ภาพยนตร์ไทยในภาพยนตร์สตรีมมิ่ง ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรณีศึกษา Netflix https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/274961 <p>การวิจัยเรื่อง การเผยแพร่ (Distribution) ภาพยนตร์ไทยในภาพยนตร์สตรีมมิ่ง ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) กรณีศึกษา Netflix มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทัศนะของผู้ผลิตภาพยนตร์ไทย ต่อสภาพแวดล้อมและศักยภาพของภาพยนตร์ไทยที่ใช้การเผยแพร่ภาพยนตร์สตรีมมิ่ง Netflix เป็นช่องทางแรก (First Window) และศึกษาวิเคราะห์ทัศนะกลยุทธ์ทางการตลาดของ Netflix ต่อการเผยแพร่ภาพยนตร์สตรีมมิ่ง Netflix ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019-(โควิด-19) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยที่เผยแพร่ภาพยนตร์ไทยจำนวนทั้งหมด 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ประการแรก ด้านสภาพแวดล้อมและศักยภาพของของภาพยนตร์ไทย ผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยได้รับผลกระทบจากการปิดโรงภาพยนตร์ชั่วคราว ทำให้ช่องทางการเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยสื่อออนไลน์และสตรีมมิ่งภาพยนตร์ไทยมากขึ้น โดยเฉพาะทาง Netflix และบุคลากรส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ดีเมื่อเทียบกันในภูมิภาคเอเชียนับเป็นจุดแข็ง ส่วนจุดอ่อนเป็นบทภาพยนตร์ที่สะท้อนเพียงบริบทความเป็นไทยเท่านั้น ผลงานภาพยนตร์ไทยส่วนหนึ่งก็ยังได้รับโอกาสในการเผยแพร่ภาพยนตร์สตรีมมิ่ง Netflix สู่ตลาดโลก การพิจารณาภาพยนตร์ไทยของหน่วยงานภาครัฐยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาพยนตร์ไทยในระดับสากล ประการที่สอง ด้านกลยุทธ์ทางการตลาด พบว่า Netflix ใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์เป็นกลยุทธ์หลัก โดยพิจารณาจากบทภาพยนตร์เป็นลำดับแรก และปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางด้านราคาและการลงทุนร่วมด้วย มีการซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไทยไปเผยแพร่ในสตรีมมิ่ง Netflix เป็นช่องทางแรก (First Window) ตลอดจนมีการลงทุนผลิตภาพยนตร์ไทยและเผยแพร่เป็น Netflix Original กลยุทธ์การโฆษณาและการตลาด ส่วนมาก Netflix เป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง</p> ทนงศักดิ์ สุวรรณรัตน์, รินบุญ นุชน้อมบุญ Copyright (c) 2024 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/274961 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสร้างสรรค์ภาพยนตร์ไทยซ่อนสัญญะทางการเมืองในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/273496 <p>งานวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์ภาพยนตร์ไทยซ่อนสัญญะทางการเมืองในประเทศไทย<a href="#_ftn1" name="_ftnref1">[1]</a> มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพยนตร์ไทยและสร้างสรรค์บทภาพยนตร์ไทย โดยศึกษาว่าภาพยนตร์ไทยมีการใช้สัญญะในการสื่อความหมายประเด็นทางการเมืองอย่างไร รูปแบบใด โดยศึกษาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือทฤษฎีสัญวิทยาเป็นหลัก (Semiology) เพื่อนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์บทภาพยนตร์ไทย สำหรับงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) คือภาพยนตร์ไทยในช่วง พ.ศ.2558-2562 ซึ่งเป็นช่วงของรัฐบาลทหารและเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับผลกระทบจากกระแสสังคม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 6 เรื่อง ด้วยการวิเคราะห์ผ่านตัวบท (Textual analysis) จากการวิจัยพบว่าสัญญะที่ปรากฎในภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่อง พบว่า 1.การวิเคราะห์หน่วยการเล่าเรื่องในการสื่อความหมาย พบว่า ภาพยนตร์ไทยใช้รูปแบบ เน้นการเล่าเรื่องเป็นหลัก ในการสื่อความหมาย 2.มายาคติในการสื่อความหมาย พบว่า ภาพยนตร์ไทยใช้รูปแบบของเหตุการณ์เป็นหลัก รองลงมาคือ ตัวละคร ในการสื่อความหมาย 3.ระยะห่างของสัญญะในการสื่อความหมาย พบว่า ภาพยนตร์ไทยใช้รูปแบบของสัญญะห่างกันในระดับ 3 หรือ สัญลักษณ์เป็นหลัก โดยภาพยนตร์ทั้ง 6 เรื่อง ใช้สัญญะสื่อความหมายถึงประเด็นและปัญหาในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ 1.โครงสร้างสังคม 2.การแสดงออก 3.อุดมการณ์ 4.สังคมในอุดมคติ 5.ชนชั้นสูง 6.ชนชั้นล่าง</p> <p><a href="#_ftnref1" name="_ftn1"></a></p> พงศรัณย์ จิตต์สวาสดิ์, ปรวัน แพทยานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/273496 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสร้างและสื่อสารตราพรรคอนาคตใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/275497 <p>การวิจัยการสร้างและสื่อสารตราพรรคอนาคตใหม่นี้มีวัตถุประสงค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและสื่อสารตราพรรคอนาคตใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคพรรคอนาคตใหม่ พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่และเจ้าหน้าที่พรรคอนาคตใหม่ฝ่ายยุทธ์ศาสตร์พรรค จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลและวิจัยเอกสารจาก หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เอกสารและเว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพรรคอนาคตใหม่ ร่วมกับการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของพรรค เช่น การปราศรัย การหาเสียง โดยผู้วิจัยได้แยกแยะข้อมูลออกเป็นประเด็นตามประเภทหลังจากนั้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดเรื่องกระบวนการสร้างและสื่อสารตรามาเป็นกรอบในการทำความเข้าใจและอธิบายถึงกระบวนการสร้างและสื่อสารตราพรรคอนาคตใหม่</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า พรรคอนาคตใหม่มีกระบวนการสร้างพรรค 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ตราพรรคการเมือง พรรคอนาคตใหม่คืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบเสรีนิยมก้าวหน้า และเน้นความเป็นประชาธิปไตยที่ชัดเจน ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ ขั้นตอนที่ 3 ปฏิบัติการสร้างตรา พรรคอนาคตใหม่สร้างตราพรรคการเมืองด้วยจุดยืนฝ่ายซ้าย อุดมการณ์เสรีนิยมก้าวหน้าประชาธิปไตย ขั้นตอนที่ 4 การบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับพรรคอนาคตใหม่ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสังคมและขั้นตอนที่ 5 ติดตามและการประเมินผลการสร้างพรรคอนาคตใหม่ ได้แก่ สำรวจความนิยม สำรวจการตระหนักรู้ถึงพรรคการเมืองและหัวหน้าพรรคอื่น นโยบายของพรรคอื่นและนโยบายที่ประชาชนต้องการเพื่อนำผลสำรวจมาใช้สร้างนโยบายที่กลุ่มเป้าหมายถูกใจและนำมาปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์</p> <p>ด้านการสื่อสารตรา พรรคอนาคตใหม่ พบว่ามีการสื่อสาร 3 ขั้นตอน คือ 1. ใช้ตราสินค้าเป็นตัวสื่อสารเอง 2. การใช้สื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ 3. การใช้การสร้างความสัมพันธ์</p> ปองคุณ รุ่งสว่าง, คมสัน รัตนะสิมากูล, เกศกนก ชุ่มประดิษฐ์, ณัฐพงศ์ รักงาม Copyright (c) 2024 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/275497 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารการลดอันตราย (Harm Reduction) จากการใช้สารเสพติดประกอบการมีเพศสัมพันธ์ (Chemsex) กรณีศึกษาการดำเนินงานมูลนิธิ Apcom https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/272256 <p>ปัญหายาเสพติดยังคงเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของสังคมไทย และในปัจจุบันการแก้ไขปัญหาโดยแนวทางเศรษฐศาสตร์นั้นอาจยังไม่ประสบความสำเร็จเหมือนในอดีต รวมถึงในปัจจุบันได้มีการใช้ยาหรือสารเสพติดร่วมกับการมีเพศสัมพันธ์ หรือที่เรียกว่า Chemsex ซึ่งยิ่งทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ใช้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะความเสี่ยงในด้านของสุขภาพ ทำให้ในปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดการลดอันตรายมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และปัญหาการใช้ยาหรือเสพติดประกอบการมีเพศสัมพันธ์ (Chemsex) โดยการศึกษาในครั้งนี้ ได้มีการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทความวิชาการ บทความออนไลน์ สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการ นักจิตวิทยาบำบัด และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการใช้ยาหรือเสพติดประกอบการมีเพศสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าการใช้ Chemsex ประกอบไปด้วยหลายเหตุผลและมีความเป็นปัจเจกเป็นอย่างมาก การเข้ามาบริหารจัดการปัญหาเรื่อง Chemsex ไม่ใช่เพียงแค่ปัญหายาเสพติด ปัญหาสุขภาวะทางเพศ ปัญหาสุขภาพจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ผลการศึกษายังพบว่าปัญหาในการสื่อสารการลดอันตรายจาก Chemsex นั้นอยู่ที่ข้อจำกัดของกฎหมาย และความเข้าใจในแนวคิดการลดอันตรายของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ที่ยังไม่มีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการตามแนวทางการลดอันตราย และยังพบว่าการดำเนินงานของมูลนิธิ Apcom เกี่ยวกับการลดอันตรายจาก Chemsex กับชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (Men who have sex with men) ผ่านโครงการ Test BKK นั้นใช้วิธีการสื่อสารทางการตลาดประกอบไปด้วย การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข่าว การสื่อสาร หรือนำเสนอโดยบุคคล การตลาดเจาะตรง ผ่านช่องทางออนไลน์ประกอบไปด้วยเวปไซด์ TestBKK.com และสื่อสังคมออนไลน์ประกอบไปด้วย Facebook , Instagram , X นั้นประสบความสำเร็จมีกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเยียมชมเวปไซด์ ซึ่งถือว่าเป็นประตูสำคัญของโครงการสูงถึง 3.5 ล้านครั้ง และสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ </p> ณัฐเดช ยอแซฟ Copyright (c) 2024 วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/272256 Mon, 17 Jun 2024 00:00:00 +0700