@article{รอดสว่าง_อรนพ ณ อยุธยา_ร่วมพุ่ม_2022, place={Chiang Mai, Thailand}, title={กระบวนการมีส่วนร่วมของนักเรียนมัธยมปลายเพื่อสร้างการรู้เท่าทันความรุนแรงในสื่อและการเล่าเรื่องตามแนววารสารศาสตร์เชิงข้อมูล}, volume={10}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/254525}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการเล่าเรื่องตามแนววารสารศาสตร์เชิงข้อมูลกับความรู้เท่าทันเนื้อหาความรุนแรงในสื่อของนักเรียนมัธยมปลาย โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งมีกระบวนการแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนการปฏิบัติ (Pre-action phase) และ ช่วงหลังการปฏิบัติ (Post-action phase)</p> <p>ช่วงก่อนการปฏิบัติ (Pre-action phase) ดำเนินการด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยเฉพาะในเนื้อหาสื่อ และเกี่ยวกับวารสารศาสตร์เชิงข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ การร่างหลักสูตรการอบรม “<em>Young Data Journalists </em><em>สร้างเยาวชน สร้างนวัตกรรมสื่อ เพื่อสร้างความตระหนักและรู้เท่าทันความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน</em>” และจัดการอบรมดังกล่าว สำหรับช่วงหลังการปฏิบัติ (post-action phase) ดำเนินการภายหลังจากกลุ่มเป้าหมายผ่านกระบวนการอบรมแล้วเพื่อสำรวจ ตรวจสอบผลจากการปฏิบัติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ภาพ เสียง และข้อความที่ปรากฏในสื่อต้นแบบที่ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ผลิตขึ้น</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่ใช้แนวคิดวารสารศาสตร์เชิงข้อมูลมาเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบหลักสูตร ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานจากการใช้ข้อมูลเป็นฐานในการเล่าเรื่อง เพื่อสื่อสารประเด็นความรุนแรงให้กลุ่มเยาวชนและคนในสังคมรับทราบปัญหา และเสนอแนวทางแก้ไขควบคู่กันไป ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการคิดอย่างมีวิจารณญาณหรือการคิดเชิงวิพากษ์ ความคิดสร้างสรรค์และผลิตสื่อด้วยความตระหนักรู้ถึงผลของความรุนแรงในเนื้อหาสื่อที่จะมีต่อกลุ่มผู้รับสาร นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงระหว่างการเก็บข้อมูล คัดเลือกข้อมูล และผลิตสื่อวารสารศาสตร์ข้อมูล (Data Journalism) สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการนี้มีผลในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม (Social Change Process) กล่าวคือในทุกกระบวนการอบรมและการผลิตสื่อเป็นกิจกรรมที่ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรง ทั้งในฐานะผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ ผู้เห็นเหตุการณ์ และยกระดับให้กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการเป็นผู้ผลิตสื่อลดความรุนแรง</p>}, number={1}, journal={วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ}, author={รอดสว่าง สุดถนอม and อรนพ ณ อยุธยา ชนัญสรา and ร่วมพุ่ม การดา}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={35–59} }