@article{รักชาติ_สุทธิสีมา_2020, place={Chiang Mai, Thailand}, title={เหตุผลของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของสังคมไทย }, volume={8}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/244659}, abstractNote={<p>งานวิจัยเรื่อง “เหตุผลของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของสังคมไทย” เป็นการศึกษาเหตุผลต่าง ๆ ของการ<br>ปั่นจักรยานที่ปรากฏขึ้นในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ เพื่อการหาเหตุผลทั้งที่ปรากฏ<br>ในสื่อมวลชนและเหตุผลที่แท้จริงของประชาชนทั่วไปในฐานะของผู้บริโภคสินค้าจักรยาน เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้<br>ในการสนับสนุนให้เกิดการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้นอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อค้นหา<br>เหตุผลของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทย 2) เพื่ออธิบายสาเหตุของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน<br>ของคนในสังคมไทย และ 3) เพื่อเข้าใจถึงความหมายของการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทย การศึกษา<br>เลือกใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยอาศัยกรอบแนวคิดที่ว่าด้วยตรรกวิทยาแห่งการบริโภค และทฤษฎี<br>สัญวิทยาแนววิพากษ์มาใช้ โดยทำการศึกษาจากผู้ใช้จักรยานทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูล<br>ด้วยการแจกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ นอกจากนี้ ยังศึกษาสื่อมวลชนทั้งจากรายการโทรทัศน์<br>ที่รณรงค์ในการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันสองรายการและศึกษาชิ้นงานโฆษณาสินค้าจักรยานในนิตยสารที่เกี่ยวกับจักรยาน<br>จำนวนสองหัวที่ตีพิมพ์ในปี 2559 ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันในพื้นที่<br>กรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่เลือกใช้ คือ เหตุผลจากคุณค่าจริงในการใช้ประโยชน์ของจักรยานในฐานะที่เป็นพาหนะ<br>สำหรับการเดินทาง อุปกรณ์สำหรับเพื่อใช้ในการออกกำลัง และอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสร้างความเพลิดเพลินเป็นเหตุผลหลัก ทั้งนี้ <br>ยังมีการเลือกใช้จักรยานร่วมกับเหตุผลจากมูลค่าที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในคุณลักษณะของราคาของตัวจักรยานที่ไม่เน้นราคา<br>แพงมาก เพื่อให้สามารถซื้อจักรยานเพื่อใช้ตอบสนองเป้าหมายของการปั่นจักรยานเพื่อการออกกำลังกายในเส้นทางระยะสั้น <br>และไม่ใช้เวลาในการปั่นมากนัก ขณะที่ผู้ปั่นให้ความสำคัญกับเหตุผลของการปั่นจักรยานจากคุณค่าเชิงสัญลักษณ์<br>ของจักรยานน้อยกว่า โดยเมื่อเปรียบเทียบจากพื้นที่สื่อทั้งรายการทางโทรทัศน์และโฆษณาจักรยานในนิตยสารที่ทำการศึกษา <br>การปั่นจักรยานในพื้นที่สื่อเน้นไปที่การใช้เวลาว่างในการปั่นเพื่อการท่องเที่ยวซึ่งเดินทางในระยะไกลและใช้เวลามาก <br>และใช้เงินทุนทั้งการเดินทางและการซื้อหาอุปกรณ์สำหรับการปั่นจักรยาน มากกว่าผลที่ได้จากการศึกษากลุ่มประชาชนผู้ใช้<br>จักรยานในชีวิตประจำวันทั่วไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ ที่เน้นไปที่การปั่นออกกำลังการในระยะเวลาสั้น<br>และเส้นทางในการปั่นที่ไม่ไกลมาก รวมทั้งอยู่ในพื้นที่ปิดซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าพื้นที่สาธารณะที่เป็นเส้นทางร่วม<br>กับผู้ใช้ทางด้วยพาหนะอื่น ๆ นอกจากนี้ ราคาของสินค้าจักรยานในสื่อทั้งโทรทัศน์และนิตยสารส่วนมากราคาสูงเกินกว่า<br>ที่บุคคลทั่วไปจะซื้อเพื่อเหตุผลสำหรับการใช้ประโยชน์จริงในชีวิตประจำวัน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงสื่อมวลชน<br>ควรเน้นไปที่การนำเสนอเหตุผลในแง่การใช้ประโยชน์จริงของจักรยาน รวมทั้งสนับสนุนให้สินค้าจักรยานที่มีราคาถูกลง<br>เพื่อให้คนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทยสามารถซื้อได้</p>}, number={2}, journal={วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ}, author={รักชาติ จิรเวทย์ and สุทธิสีมา วิโรจน์}, year={2020}, month={ธ.ค.}, pages={1–35} }