@article{ละตา_2019, place={Chiang Mai, Thailand}, title={การสร้างและประยุกต์ใช้สื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา}, volume={7}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/222271}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาอินโฟกราฟิกแนะแนวทางในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำนวน 2 โรงเรียน คือโรงเรียนผดุงนารีและโรงเรียนมหาสารคามพิทยาคม รวมจำนวน 120 คน ได้มาด้วยวิธีการการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ใช้ประกอบไปด้วยสื่ออินโฟกราฟิกแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามและแบบประเมินประสิทธิภาพของสื่ออินโฟกราฟิกที่พัฒนาขึ้น โดยมีสถิติที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีขนาดที่ใช้คือ A2 และผ่านคุณภาพการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน  3 ท่านซึ่งได้ผลการประเมินคุณภาพเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก(= 4.77)  2) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 120 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 18 ปี และมีเขตพื้นที่ของโรงเรียนที่ศึกษาอยู่ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม เรียนแผนการเรียนวิทย์-คณิต รองลงมาคือ ศิลป์-ภาษา เกรดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.01-3.50 และมากกว่า 3.50 โดยส่วนใหญ่ใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางในการรับสื่อทางการศึกษา 3) การประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.69 - 4.23</p> <p>            นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนที่เรียนในแผนการเรียนที่แตกต่างกัน มีการประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยรวม และการประเมินว่าสัญลักษณ์ในสื่ออินโฟกราฟิกสามารถทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้นนั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มแผนการเรียนศิลป์-ภาษาให้ระดับการประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยรวมโดยเฉลี่ยมากกว่า กลุ่มแผนการเรียนอื่น ๆ และกลุ่มแผนการเรียนวิทย์-คณิตให้ระดับการประเมินว่าสัญลักษณ์ในสื่ออินโฟกราฟิกสามารถทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้นโดยเฉลี่ย มากกว่ากลุ่มแผนการเรียนศิลป์-ภาษา</p> <p>            และยังพบว่า ช่องทางในการรับสื่อทางการศึกษาแตกต่างกันมีการประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รายด้าน ได้แก่ สื่ออินโฟกราฟิกมีความสวยงาม การจัดเรียงเนื้อหาและภาพกราฟิกในสื่ออินโฟกราฟิกมีความเหมาะสม เนื้อหาที่นำเสนอและภาพกราฟิกในอินโฟกราฟิกมีความสมดุลกันและสีสันของอินโฟกราฟิกสามารถดึงดูดความสนใจให้เข้ามาอ่านเนื้อหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>}, number={2}, journal={วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ}, author={ละตา สิริวิวัฒน์}, year={2019}, month={ธ.ค.}, pages={104–141} }