@article{กิติกำธร_2019, place={Chiang Mai, Thailand}, title={การกำหนดวาระข่าวสารในบริบทสื่อดิจิทัล: สถานภาพองค์ความรู้และทิศทางงานวิจัยในอนาคต}, volume={7}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/169959}, abstractNote={<p>จากจุดเริ่มต้นของทฤษฎีในปี ค.ศ. 1972 ทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร มีการพัฒนาต่อเนื่องยาวนานกว่า 46 ปี เรียกได้ว่า งานวิจัยภายใต้ทฤษฎีนี้ ก็มีการปรับแนวทางการศึกษาให้สอดรับกับภูมิทัศน์สื่อยุคดิจิทัลซึ่งเปลี่ยนไปจากจุดกำเนิดมาก งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพองค์ความรู้การวิจัยในเรื่องการกำหนดวาระข่าวสารของสื่อในยุคดิจิทัล ตั้งแต่ยุคแนวคิดก่อนกำเนิดทฤษฎี พัฒนาทฤษฎีจนถึงปัจจุบันปี ค.ศ. 2018 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ คือ การศึกษาเอกสาร (documentary research) ผลการศึกษาสามารถสรุปได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ผลการศึกษาสถานภาพองค์ความรู้การวิจัยที่แสดงแนวทางการวิจัยหลักในภูมิทัศน์สื่อดิจิทัล ในที่นี้คือ แนวทางการศึกษาการกำหนดวาระข่าวสารข้ามสื่อ 2) ช่องว่างของงานวิจัย: 2.1) การศึกษาในมิติเชิงจริยธรรมของการกำหนดวาระข่าวสารข้ามสื่อ 2.2) การศึกษาวาระสื่อและอิทธิพลการกำหนดวาระข่าวสารข้ามสื่อที่ให้ความสนใจสื่อที่เกิดในโลกออนไลน์ 2.3) การศึกษาต่อยอดเพื่อหาข้อสรุปเรื่องหน่วงเวลาที่ฉีกจากแนวทางหลัก (การเมืองการเลือกตั้ง) 2.4) การทดสอบทฤษฎีการกำหนดวาระข่าวสาร หรือการวัดผลการกำหนดวาระข่าวสารกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากร Generation Z โดยมองรุ่นอายุหรือช่วงวัยเป็นตัวแปรสำคัญ และ 2.5) การกำหนดวาระข่าวสารแบบผันกลับในบริบทสื่อสังคมออนไลน์</p>}, number={1}, journal={วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ}, author={กิติกำธร อภิภู}, year={2019}, month={มิ.ย.}, pages={99–132} }