วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts <p> วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Journal of Liberal Arts, Thammasat University) เป็นวารสารทางวิชาการที่มีกระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (double blinded peer-reviews) จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้และผลการศึกษา การค้นคว้าใหม่ๆ ทฤษฎี การวิจัย วิธีวิทยา และแนวคิดในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ได้แก่ ภาษา วรรณกรรม ภาษาศาสตร์ ปรัชญา การศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ เปิดรับบทความที่เขียนด้วยภาษาไทย ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ หรือบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p> วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับแรก เดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม ทั้งนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบตีพิมพ์ให้เหลือเพียงรูปแบบเดียวคือการตีพิมพ์ออนไลน์เท่านั้น</p> th-TH journal@arts.tu.ac.th (Editorial Team) journal@arts.tu.ac.th (Ms.Ratthanan Vijitkrittapong) Sat, 31 Aug 2024 23:47:05 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/281314 สุภินดา รัตนตั้งตระกูล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/281314 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 “1984” จากมุมมองจิตวิเคราะห์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270981 <p>บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษานวนิยายสมมติเรื่อง “1984” ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่งใช้ในกระบวนการรักษาผู้ป่วยทางจิตตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า การปกครองของรัฐเผด็จการส่งผลให้ผู้คนต้องดำเนินชีวิตอย่างเครื่องจักร ตัวละครเอก “วินสตัน” จึงรู้สึกโดดเดี่ยว โหยหาอดีต ความรักและความเป็นส่วนตัวอยู่ตลอดเวลา ประการต่อมาคือ รัฐเผด็จการมีกลไกในการควบคุมประชาชน ได้แก่ การสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำให้เป็นตัวแทนแห่งความสมบูรณ์พร้อม เพื่อเป็นจุดยึดเหนี่ยวของคนทั้งประเทศ และการเบี่ยงเบนจุดสนใจที่ประกอบด้วยการคงสภาพชีวิตที่ย่ำแย่ เพื่อให้ประชาชนหมกมุ่นอยู่กับปัญหาปากท้อง จนไม่มีเวลาคำนึงถึงเรื่องที่ใหญ่กว่า การควบคุมความคิดและพฤติกรรมของสมาชิกพรรคชั้นนอก และการจัดหาพื้นที่ให้ผู้คนได้ปลดปล่อยความคับข้องใจ ประการสุดท้ายคือ การควบคุมของรัฐทำให้ตัวละครใน “1984” มีอาการเก็บกด และต้องมีกลไกในการปรับความสมดุลทางจิต ได้แก่ การเขียนบันทึกของวินสตัน การปลดปล่อยความคับข้องใจในความฝันที่มีขึ้นกับสมาชิกพรรคชั้นนอกอย่างวินสตัน และพาร์สันส์ ตลอดจนการมีพฤติกรรมที่สวนทางกับแบบแผนของสังคมอย่างเรื่องที่วินสตันไปนอนกับโสเภณี คลุกคลีอยู่กับชนชั้นกรรมาชีพ และครอบครองวัตถุ ส่วนจูเลียก็แอบไปซื้อของในตลาดมืด และมีเพศสัมพันธ์กับชายใดก็ตามที่จริตต้องกัน</p> Truong Thi Hang, นคร เสรีรักษ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270981 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 พุทธวิธีการฟัง เสริมพลังปัญญา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274612 <p>การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิตทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน ทักษะการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น และเข้าใจโลกรอบตัวได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต การฟังเป็นทักษะการสื่อสารที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยเพิ่มพูนความรู้ เสริมสร้างปัญญาและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ดังคำพุทธพจน์ที่กล่าวว่า “สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ” ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา ตั้งใจศึกษาย่อมเกิดปัญญา (ปัญญาแตกฉาน) ปัญญาเปรียบเสมือนแสงสว่างนำทางที่ช่วยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องและมีความสุขอันเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา การฟังเพื่อให้เกิดปัญญาจึงเป็นทักษะที่ควรพัฒนาอย่างยิ่ง ในพระพุทธศาสนา การฟังนับว่าเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยเสริมสร้างให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริง การฟังเสียงภายในช่วยให้เข้าใจตนเอง และการฟังเสียงภายนอกช่วยให้เข้าใจผู้อื่น โดยหลักธรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการฟัง ได้แก่ หลักกัลยาณมิตร หลักกาลามสูตร และโยนิโสมนสิการ บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงประโยชน์ของพุทธวิธีการฟังและสามารถนำแนวทางการพัฒนาการฟังตามหลักพุทธศาสนา ได้แก่ การฝึกสติ การเจริญสมาธิ การฝึกคิด การฝึกฟังเสียงภายใน และการฝึกฟังเสียงภายนอก ไปฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการฟังให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มพูนความรู้ สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดี มีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและมีความสุข</p> พรทิพย์ เกศตระกูล, พระมหานันทวิทย์ แก้วบุตรดี Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274612 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 เกี่ยวกับวารสาร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/281316 กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/281316 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 กองบรรณาธิการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/281313 กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/281313 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 สารบัญ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/281315 กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/281315 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274789 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยว่ามีการใช้หน่วยสร้างประเภทใดบ้าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากวรรณกรรมและงานเขียนเชิงสารคดีภาษาญี่ปุ่น และฉบับแปลเป็นภาษาไทย ผลการศึกษา พบการใช้หน่วยสร้างหลากหลายประเภท เช่น หน่วยสร้างกรรมวาจก “ถูก” หน่วยสร้างอกรรมกริยา หน่วยสร้างกริยาแสดงสภาพการณ์ ฯลฯ โดยอาจจำแนกหน้าที่ของหน่วยสร้างเหล่านี้เป็นหน้าที่ “ยกประธานเด่น” และ “ลดบทบาทผู้กระทำ” รวมทั้งพบการใช้หน่วยสร้างซึ่งประธานเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำ เช่น หน่วยสร้างกรรตุวาจก หน่วยสร้างกริยาบอกผล ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นหน้าที่ของหน่วยสร้างภาษาไทยหลากหลายประเภทว่ามีความสัมพันธ์กับหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาญี่ปุ่น รวมถึงเข้าใจแนวโน้มการแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย</p> สมเกียรติ เชวงกิจวณิช, กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274789 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การแปลคำทางวัฒนธรรมในนิยายจีนกำลังภายใน เฉ้อเตียวอิงสฺยงจฺว้าน ฉบับแปลไทยสามฉบับ โดย จำลอง พิศนาคะ ว. ณ เมืองลุง และ น. นพรัตน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274123 <p>งานวิจัยนี้ศึกษากลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมในนิยายจีนกำลังภายในเรื่อง <em>เฉ้อเตียวอิงสฺยงจฺว้าน </em>ฉบับแปลไทยสามฉบับ โดย จำลอง พิศนาคะ ว. ณ เมืองลุง และ น. นพรัตน์ โดยแบ่งคำทางวัฒนธรรมออกเป็นหมวดตามแนวคิดของนิวมาร์ก และใช้แนวคิดของเบเคอร์ในการวิเคราะห์กลวิธี ผลการศึกษาพบกลวิธีการแปลทั้งสิ้น 18 กลวิธี เมื่อจำแนกกลวิธีที่พบเป็นหมวดการแปลแบบรักษาความแปลกต่างและหมวดการแปลแบบทำให้กลมกลืน พบว่าในการแปลคำทางวัฒนธรรม ผู้แปลเน้นแปลแบบรักษาความแปลกต่างเป็นหลักด้วยกลวิธีการใช้คำยืมและใช้คำยืมร่วมกับคำอธิบาย วิธีการยืมคือถอดเสียงอักษรจีนจากสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋วและบางครั้งเพิ่มการอธิบายคำทับศัพท์นั้นในวงเล็บหรือเชิงอรรถ</p> ประเทืองพร วิรัชโภคี Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274123 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความหมายและการแปลคำว่า “เต๋า” (道) เป็นภาษาไทย : กรณีศึกษา งานแปลคัมภีร์เต๋าของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/269719 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและกลวิธีการแปลคำว่า “เต๋า” (道) จากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย วิเคราะห์ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการแปลคำว่า “เต๋า” (道) จากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยการศึกษาผ่านคัมภีร์เต๋าของนักปราชญ์สามท่าน ได้แก่ คัมภีร์เต๋าของเหลาจื่อ คัมภีร์เต๋าของจวงจื่อ คัมภีร์เต๋าของเลี่ยจื่อ ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยฉบับแปลภาษาไทย ศึกษาผลงานแปลของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ เนื่องจากเป็นบุคคลที่แปลคัมภีร์เต๋าจากต้นฉบับภาษาจีนและแปลครบทั้งสามเล่ม ผลการศึกษาพบว่า การแปลคำว่า “เต๋า” (道) จากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย มีวิธีการแปลที่หลากหลาย พบว่า การแปลคัมภีร์เต๋า ของปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ มีการแปลความหมายของคำว่า “เต๋า” หลากหลายที่สุด นอกจากนี้ ในด้านกลวิธีการแปล ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์กลวิธีการแปลได้ 6 อย่าง ได้แก่ 1) การแปลโดยการถอดเสียง 2) การแปลโดยการแปลตรงตัว 3) การแปลโดยใช้คำเทียบเท่าภาษาต้นทาง 4) การแปลโดยการใช้คำที่มีความหมายกว้าง 5) การแปลโดยใช้กลวิธีการแปลมากกว่าหนึ่งวิธีร่วมกัน 6) การแปลแบบการใช้อุปมาโวหาร ทั้งนี้ ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับค่านิยมทางความเชื่อ และศาสนา เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแปลคัมภีร์ทั้งสามฉบับเป็นอย่างมาก ผู้แปลได้คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนามาใช้แปลคำว่า “เต๋า” ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางความคิดระหว่างปรัชญาเต๋าและพระพุทธศาสนาที่สะท้อนให้เห็นในฉบับแปลภาษาไทย</p> ศิรินภา บุญผ่องศรี, กนกพร นุ่มทอง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/269719 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 “ภัยคุกคาม” “ปัญหา” และ “คนอื่น” : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนแรงงานต่างด้าวในวาทกรรมข่าวหนังสือพิมพ์ไทยตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/275363 <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนแรงงานต่างด้าวในวาทกรรมข่าวหนังสือพิมพ์ไทยตามแนวทางการศึกษาวาทกรรม วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ภาษาเป็นเครื่องมือที่ถูกนำ มาใช้ในการนำเสนอภาพและประกอบสร้างความหมายบางประการให้แก่แรงงานต่างด้าว โดยเกิดจากมุมมองของนักข่าว ซึ่งผ่านการตัดสิน ประเมินค่า ตีความ และเลือกนำเสนอเฉพาะบางแง่มุม ภาพตัวแทนแรงงานต่างด้าวปรากฏอย่างเด่นชัด 5 ภาพ ได้แก่ 1. แรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มคนลักลอบเข้าเมืองและทำอาชีพผิดกฎหมาย 2. แรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมโหดเหี้ยมมักก่อเหตุความรุนแรงและคดีอาชญากรรม 3. แรงงานต่างด้าวเป็นปัญหาความมั่นคงที่ภาครัฐต้องบริหารจัดการ 4. แรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโรคระบาด 5. แรงงานต่างด้าวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ซึ่งมีสถานภาพด้อยกว่าคนไทย โดยกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการนำเสนอภาพตัวแทนเหล่านี้มีหลายกลวิธี กลวิธีที่โดดเด่น คือ การอ้างถึงแรงงานต่างด้าว โดยใช้การประเมินค่าโดยนัยเชิงลบ การใช้ชนิดกระบวนการเกี่ยวกับการกระทำเพื่อสื่อภาพการกระทำที่ “ไม่พึงประสงค์” ของแรงงานต่างด้าว การใช้มูลบทเพื่อแนะความว่าแรงงานต่างด้าวมักมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และสร้างปัญหาซ้ำ การใช้อุปลักษณ์เพื่อนำเสนอแรงงานต่างด้าวในฐานะ “ภาระ” และ “ความเป็นอื่น” ภาพตัวแทนเหล่านี้น่าจะส่งผลต่อมุมมองหรือความคิดของผู้รับสาร ซึ่งเป็นคนในสังคมไทยให้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวเฉพาะในทางลบ และอาจจะส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อคนกลุ่มนี้ด้วยความหวาดระแวง ไม่เท่าเทียม และขาดความเห็นอกเห็นใจโดยที่ผู้เขียนข่าวหรือหนังสือพิมพ์เองอาจไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบเหล่านี้</p> นพดล บุญกัน, ศิริพร ภักดีผาสุข Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/275363 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 ภาษาและค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อพรรคการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2498-2566 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/275198 <p>ชื่อของพรรคการเมืองเป็นตัวแทนที่สามารถสะท้อนให้เห็นค่านิยมของพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของชื่อพรรคการเมือง จัดกลุ่มความหมายของชื่อพรรคการเมือง รวมถึงศึกษาค่านิยมจากชื่อพรรคการเมืองไทยต่าง ๆ งานวิจัยนี้ใช้ไวยากรณ์พึ่งพาศัพทการก แนวคิดอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ และแนวคิดการจำแนกประเภทในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลที่ใช้ศึกษา คือ ชื่อพรรคการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2498-2566 จำนวน 408 ชื่อ ผลการวิจัยพบว่า ชื่อพรรคการเมืองไทยมีโครงสร้างทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ โครงสร้างคำเดี่ยว โครงสร้างคำประสาน โครงสร้างคำประสม โครงสร้างนามวลี โครงสร้างกริยาวลี โครงสร้างบุพบทวลี และประโยค ในการจัดกลุ่มความหมายของชื่อพรรคการเมืองพบกลุ่มความหมายทั้งหมด 13 กลุ่ม โดยกลุ่มความหมายเกี่ยวกับอำนาจเป็นกลุ่มความหมายที่มีการนำมาตั้งชื่อพรรคการเมืองมากที่สุด ส่วนค่านิยมที่สะท้อนผ่านชื่อพรรคการเมืองไทยพบค่านิยมทั้งหมด 5 ประการ ได้แก่ ค่านิยมเกี่ยวกับความรักชาติ ค่านิยมเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย ค่านิยมเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ค่านิยมเกี่ยวกับสิ่งที่พึงปรารถนา และค่านิยมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ</p> ธนัฏฐากุล พรทิพยพานิช Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/275198 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 คำวิจารณ์ของ “จือเยี่ยนไจ” : หลักฐานสำคัญในการศึกษาวรรณคดีจีนเรื่องความฝันในหอแดง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276355 <p>จือเยี่ยนไจคือผู้เขียนคำวิจารณ์ในนิยายเรื่องบันทึกของศิลา ต่อมาได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นความฝันในหอแดง โดยตัดคำวิจารณ์ออกไป ทำให้ผู้อ่านทราบเนื้อหาตัวบทวรรณคดีเพียงด้านเดียว อีกทั้งมีการคัดลอกและทำสำเนาคำวิจารณ์ของจือเยี่ยนไจหลากหลายสำนวน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาคำวิจารณ์ของจือเยี่ยนไจและบทบาทสำคัญที่มีต่อการศึกษาวรรณคดีจีนเรื่องความฝันในหอแดง โดยใช้แนวคิดการศึกษาตัวบทวรรณคดีควบคู่กับการศึกษาคำวิจารณ์จากแหล่งข้อมูลหนังสือ 3 เล่ม เพื่อสอบทานความถูกต้องของเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. รูปแบบการเขียนคำวิจารณ์ ส่วนใหญ่มีการเกริ่นนำและคำวิจารณ์สรุปท้ายเรื่อง ในตัวบทวรรณคดีพบคำวิจารณ์รูปแบบต่าง ๆ พร้อมระบุชื่อฉบับคัดลอก และ 2. ด้านเนื้อหาของคำวิจารณ์สะท้อนให้เห็นถึง 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ กลวิธีการประพันธ์และเจตนารมณ์ของเฉาเสวี่ยฉิน เอกลักษณ์และชะตาชีวิตของตัวละคร สภาพสังคมศักดินาจีนในช่วงราชวงศ์ชิง สถานภาพตระกูลเฉาของผู้ประพันธ์ อรรถาธิบายตัวบทวรรณคดี และวิจารณ์การใช้ภาษาและการอธิบายคำศัพท์ สำนวน ความหมายที่แฝงอยู่</p> ภูเทพ ประภากร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276355 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 วรรณกรรมเพื่อสอนสตรีในประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ : การพัฒนาแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274896 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ที่ปรากฏในประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์รายคาบในสมัยรัชกาลที่ 5 ฉบับแรกที่พิมพ์เผยแพร่ความรู้สำหรับสตรีผู้ครองเรือนอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเพื่อสอนสตรีในสิ่งพิมพ์รายคาบฉบับนี้ สอนความรู้เรื่องปากะวิชาแบบสมัยใหม่ หลักการจัดการครัวเรือนแบบตะวันตก และวิธีการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว คำสอนดังกล่าวแสดงแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดเรื่องแม่ศรีเรือน สะท้อนว่า สังคมสยามสมัยใหม่ยังคงคาดหวังให้สตรีเป็นผู้รับภาระหน้าที่ในครัวเรือน แต่ต้องมีมุมมอง ความคิด ความรู้อย่างสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเมืองและความก้าวหน้าของประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ ได้แก่ การรับอิทธิพลด้านเนื้อหามาจากคู่มือการเรือนตะวันตก การสร้างงานบนพื้นฐานวรรณกรรมคำสอนสตรีแนวขนบ การปฏิรูปการศึกษา การเปิดรับวัฒนธรรมและความรู้จากตะวันตกของชนชั้นนำสยามเพื่อสร้างความศิวิไลซ์ ความเจริญด้านการแพทย์และมาตรฐานสุขอนามัยใหม่ รวมทั้งการกำหนดคุณค่าของผู้หญิงตามค่านิยมที่มีมาแต่เดิม</p> พฤฒิชา นาคะผิว, ธานีรัตน์ จัตุทะศรี, อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274896 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การนำเสนอภาพผู้หญิงในผลงานเรื่อง “ผู้หญิงสิ้นชีพ” ของมัตสึดะ อาโอโกะ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278691 <p>ผลงานรวมเรื่องสั้น “<em>ผู้หญิงสิ้นชีพ</em>” ของมัตสึดะ อาโอโกะ ประกอบด้วยเรื่องสั้นและความเรียงสั้น ๆ รวม 53 เรื่อง บทความชิ้นนี้เลือกศึกษาผลงานเรื่องสั้น 6 เรื่องในประเด็นที่ว่ามีการนำเสนอภาพของผู้หญิงอย่างไร ผลพบว่า ในผลงานเรื่องนี้มีการถ่ายทอดภาพผู้หญิงในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างแบบแผนบทบาทให้กับผู้หญิงจนกลายเป็นภาพจำ ทำให้เกิดอคติทางเพศสภาพ ซึ่งเมื่อผู้หญิงถูกพันธนาการด้วยความคิดดังกล่าวก็จะไม่สามารถหลุดพ้นไปจากกรอบที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้สังคมปิตาธิปไตยได้ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงแนวความคิด “เกลียดชังผู้หญิง” ซึ่งมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับแนวคิดปิตาธิปไตย อย่างไรก็ดีแม้ว่าผู้หญิงยังคงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ชาย แต่ผู้เขียนก็ให้กำลังใจ และพยายามกระตุ้นให้ตระหนักถึง “ความเป็นผู้หญิง” และ “คุณค่าของตนเอง” ตลอดจนแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงต่างก็มีพลังที่จะสามารถขึ้นมามีอำนาจนำเหนือผู้ชายได้ นับว่าผู้เขียนเป็นนักเขียนแนวสตรีนิยมที่พยายามชี้ให้เห็นถึงปัญหาการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมในสังคมญี่ปุ่นที่แนวคิดปิตาธิปไตยได้ฝังรากลึกมาเป็นเวลาช้านาน</p> ปิยะนุช วิริเยนะวัตร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278691 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 汉语龟隐喻成语中的龟意象认知研究及其在对泰汉语教学中的应用建议 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270330 <p>本研究以《中华成语大词典》收录的29个汉语龟隐喻成语中的龟意象为研究对象, 运用认知语言学的隐喻、意象理论解析龟意象的隐喻机制, 探讨理解汉语龟隐喻成语语义的途径, 对研究发现在对泰汉语龟 隐喻成语教学中的应用提出建议。研究发现: 汉语龟隐喻成语用灵 龟、普通龟隐喻构建了14类龟意象来展现语义; 成语还利用并 列、对比两种组合方式构建了13种其他意象辅助龟意象展现语义; 理解汉语龟隐喻成语的语义, 可以以解析龟意象的隐喻机制为 主。根据研究发现, 建议教师在对泰国学生的汉语龟隐喻成语教学 中重视对龟意象的隐喻机制的解析, 采用意象教学法, 将本研究 的研究发现融入教学, 帮助学生更好地理解成语语义, 习得成语。</p> XIAOLING LIU, Nathakarn Thaveewatanaseth, Chatuwit Keawsuwan Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270330 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 จอมพลสฤษดิ์รอมชอม จอมพลถนอมยิงเป้า : ผู้นำเผด็จการทหารกับการจัดการปัญหาอาชญากรรมทางเพศในสังคมไทย (พ.ศ. 2500-2516) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274589 <p>บทความวิจัยนี้ศึกษาการจัดการอาชญากรรมทางเพศในสังคมไทยสมัยรัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ช่วงปี พ.ศ. 2500-2516 ซึ่งได้อาศัยอำนาจทางการเมืองและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบเรียบร้อยของสังคม แล้วนำเสนอต่อสาธารณชน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของรัฐสมัยใหม่ แม้ทั้งสองรัฐบาลจะใช้กฎหมายเดียวกันในการควบคุมและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเพศ แต่กลับมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละรัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ของตนอย่างไร</p> อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ, วิศรุต พึ่งสุนทร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274589 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การก่อร่างสร้างรัฐสยาม : กรณีศึกษาข้าราชการนักสำรวจเขตแดนชาวสยามในบริเวณพรมแดนระหว่างภาคเหนือของสยามและพม่าในศตวรรษที่ 19 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276266 <p>บทความวิจัยฉบับนี้ศึกษาการก่อร่างสร้างรัฐสยามผ่านกรณีศึกษาการสำรวจเขตแดนของข้าราชการชาวสยามบริเวณสาละวิน และภาคเหนือของสยามในศตวรรษที่ 19 งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยหลัก 2 ข้อ คือ 1) ศึกษาบริบททางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างสยามและอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 ในบริเวณสาละวินและภาคเหนือของสยาม และ 2) ศึกษาถึงการก่อให้เกิดการก่อร่างสร้างรัฐสยามสมัยใหม่ของข้าราชการนักสำรวจเขตแดนชาวสยามในบริเวณสาละวินและภาคเหนือของสยาม ผลการศึกษา คือ 1) นับตั้งแต่ทศวรรษ 1880 เป็นต้นมา รัฐบาลอังกฤษในพม่าและรัฐบาลสยามประสบกับปัญหาเรื่องเขตแดน และการปักปันเขตแดนในบริเวณสาละวินและภาคเหนือของสยาม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นทั้งสองรัฐบาลได้แก้ไขปัญหาจนนำมาสู่การตั้งคณะสำรวจเขตแดน (The Anglo-Siamese Boundary Commission) ใน ค.ศ. 1888 นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลสยามจึงส่งคณะสำรวจเขตแดนข้าราชการชาวสยามไปทำการสำรวจและปักปันเขตแดนที่บริเวณสาละวินและภาคเหนือของสยาม 2) คณะสำรวจเขตแดนชาวสยามสมัยใหม่ได้มีส่วนในการก่อร่างสร้างรัฐสยามผ่านการเจรจากับเจ้าท้องถิ่น การสำรวจสำมะโนครัว และประวัติศาสตร์</p> นิตยาภรณ์ พรมปัญญา Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276266 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การค้นหาชาวตันกา : ประวัติศาสตร์ชาวตันกาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276459 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำนานและประวัติศาสตร์ชาวตันกา การอพยพและการตั้งถิ่นฐานของชาวตันกา อัตลักษณ์จีนตันกา และความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนตันกากับชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า คนจีนบนเรือในสุราษฎร์ธานี ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเรียกว่า ‘ดันแก๋’ คือ คนกลุ่มเดียวกับคน ‘ตันกา’ ในจีน ตามตำนาน ‘หลูถิง’ มนุษย์ครึ่งปลาคือบรรพบุรุษคนตันกา และพวกเขาน่าจะเป็นทายาทชาวไป่เยว่ คนตันกาในสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะไหหลำ และตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเกาะพะงัน คนตันกานับว่าเป็น ‘จีน’ เนื่องจากนับถือศาสนาประชานิยมจีน ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวเรือจีนตันกาย้ายขึ้นมาอยู่บนบกที่ชุมชนจีนท้องศาลาในอำเภอเกาะพะงัน ทำให้คนจีนตันกาผสมกลมกลืนเข้ากับสังคมจีนไหหลำจนกลืนกลายเป็นคนจีนไหหลำ</p> ทวิรัฐ สองเมือง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276459 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความหมาย และประวัติศาสตร์ของ ‘แพ็กจาช็อลฮวา อุนรยง มุนโฮ’ เครื่องปั้นกระเบื้องขาวสีใต้เคลือบเหล็กลายมังกรเมฆแห่งเกาหลี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276664 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาประวัติศาสตร์ ความหมายลักษณะของลวดลาย และความสำคัญของการใช้ “แพ็กจา ช็อลฮวาอุน-รยง มุนโฮ” หรือเรียกย่อเป็น ‘ช็อลฮวา-ยงจุน’ หรือเครื่องปั้นกระเบื้องขาวสีใต้เคลือบเหล็กลายมังกรเมฆในราชวงศ์โชซ็อน โดยศึกษาด้วยวิธีประติมานวิทยาเพื่อหาวัตถุประสงค์ของการใช้ และการบริโภคของศิลปวัตถุชนิดนี้ โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากภาพวาดและบันทึก หรือเอกสารสำคัญต่าง ๆ สมัยโชซ็อน ผลการศึกษาพบว่า ช็อลฮวา-ยงจุนได้ถูกผลิตขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ คือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 ภาชนะนี้มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมเครื่องปั้นเกาหลี เนื่องจากถูกใช้เป็นภาชนะประกอบพิธีและงานสำคัญต่าง ๆ ของราชวงศ์โชซ็อน เช่น กิล-รเย หรือฮยุง-รเยของราชวงศ์ และที่มาของการผลิต สะท้อนสภาวะของสังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลานั้นที่ประเทศตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพทางความมั่นคง เนื่องจากผ่านภาวะสงครามอิมจินกับญี่ปุ่น เหตุนี้ได้กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะการผลิตเครื่องปั้นสำหรับใช้ประกอบพิธีสำคัญของราชสำนัก แม้ระยะเวลาการผลิตจะสั้น แต่ช็อลฮวา-ยงจุนนี้บอกเล่าหลากหลายเรื่องราวของสมัยโชซ็อน และเผยอารมณ์สุนทรียะของยุคสมัยอีกด้วย</p> ฮเยริม ว็อน, วีรญา กังวานเจิดสุข Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276664 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 เทพเจ้าเห้งเจียแห่งชายแดนใต้ : บทบาทหน้าที่ของการบูชาเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/277673 <p>เจ้าพ่อไต่เสี่ย หรือเห้งเจีย (หงอคง) ซึ่งเป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง <em>ไซอิ๋ว</em> เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญของศาลเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง จังหวัดนราธิวาส <br />มีผู้เคารพบูชาในรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และชาวมาเลเซีย บทความวิจัยนี้ ใช้แนวคิดบทบาทหน้าที่ของคติชนในการศึกษาบทบาทหน้าที่ของการบูชาเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง ผลการวิจัยพบบทบาทหน้าที่ของการบูชา 2 บทบาทหลัก ได้แก่ (1) บทบาทต่อปัจเจกบุคคล จำแนกได้ 3 บทบาทย่อย ได้แก่ 1. การเป็นที่พึ่งทางใจเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้ที่สักการบูชา 2. การให้ความหวังเรื่องความสำเร็จหรือสมหวังด้านต่าง ๆ และ 3. การอบรมสั่งสอนและแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตให้ชาวบ้าน (2) บทบาทต่อชุมชน จำแนกได้ 4 บทบาทย่อย ได้แก่ 1. การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีให้ดำรงอยู่ 2. การสร้างความเข้มแข็งและความสามัคคีในสังคมพหุวัฒนธรรม 3. การให้ความบันเทิง และ 4. การกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวท้องถิ่น ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งดำรงอยู่ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ของประเทศไทย</p> นิสรินดา บินนิโซะ, สุชาวดี บัวผัน, ศุภธัช คุ้มครอง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/277673 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 The Impact of the Inner Court’s Internal Reform on Palace Women during the Reign of King Chulalongkorn https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278265 <p>The internal reform that took place in the inner court of Siam during the reign of King Chulalongkorn was motivated by the increase in the number of palace women and rising criticisms of their restricted roles by Westerners. The inferior status of Siamese women as seen in accounts by Western visitors served as the inspiration for the Thai monarchs to transform the inner court. This article aims to demonstrate that the court of King Chulalongkorn’s reign underwent a significant reform, which highlights newly defined roles of the inner court women and the emergence of both aristocratic and non-aristocratic women’s public roles. Through the analyses of primary accounts, scholarly works, and relevant internet sources, this article argues that the transition of inner court women from the domestic sphere into the public sphere had begun by the end of the nineteenth century as the impact of the palace’s new administrative reform. From the senior roles to the female guards, the doors were opened for the first time to inner court women of all classes. The findings demonstrate that palace women enjoyed a certain level of autonomy and had strengthened their training and skills, which contributed to the enhancement of women’s status in the subsequent decades. This article emphasises the evidence of women’s active roles in the absolutist years that is not represented in Thai official historiography and highlights the beginning of the rise of aristocratic women in the public sphere.</p> Natanaree Posrithong Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278265 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การบังคับเกษียณในฐานะที่เป็นการเหยียดอายุ : ข้อโต้แย้งทางปรัชญา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/275800 <p>บทความนี้โต้แย้งว่าการบังคับเกษียณในระบบราชการและในระบบมหาวิทยาลัยคือการเหยียดอายุ (ageism) เพราะเป็นการคิดว่ามีอายุกลางสำหรับทุกคนที่เมื่อเข้าถึงอายุนี้แล้วจะเรียกว่า “ผู้สูงอายุ” และเมื่อเป็น “ผู้สูงอายุ” แล้ว รัฐจะสามารถรู้ได้ว่าคนในกลุ่มนี้มีสมรรถภาพเหมือนกันหมดในการทำงาน นัยของความคิดนี้คือว่า ผู้ที่ถูกมองว่าสูงอายุจะมีสมรรถภาพในการทำงานด้อยลงกว่าเมื่อก่อน และด้อยกว่าบุคคลอื่นที่อายุน้อยกว่า อีกทั้งยังมีการตั้งสมมติฐานว่างานทุกงานเหมือนกัน เช่นตำแหน่งที่ต้องใช้สมรรถนะทางกายภาพมาก เช่น นักผจญเพลิง ตำรวจ ทหาร แพทย์ที่ต้องทำหัตถการในการผ่าตัด นักบินและผู้ควบคุมหอการบิน ก็ต้องใช้สมรรถนะทางกายภาพเท่ากับงานทางวิชาการ จึงพูดได้ว่างานทุกงานสามารถบังคับเกษียณได้ในอายุเดียวกันหมด ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการอนุโลมงานบางประเภทให้สามารถทำได้เกินกว่าอายุ 60 ปี โดยไม่มีคำอธิบายว่าต่างกับงานอื่นในลักษณะเดียวกันอย่างไร เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์และสมุหราชองครักษ์ บทความนี้แสดงว่างานบางอย่างเช่นการเป็นนักวิชาการ โดยยกตัวอย่างนักปรัชญา ผู้ทำงานทำงานได้ดีขึ้น ไม่ได้ด้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสมรรถภาพการทำงานแบบเหมารวมจึงผิดจากข้อเท็จจริง บทความนี้พิจารณาประเด็นการบังคับเกษียณในฐานะที่เป็นข้อโต้แย้งทางปรัชญา เกี่ยวพันกับหลักความเท่าเทียมกันและสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ชี้ให้เห็นว่าข้อโต้แย้งที่สนับสนุนการบังคับเกษียณเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่อาจแสดงให้เห็นได้ว่าสมเหตุสมผล ดังนั้นจึงควรพูดได้ว่าการบังคับเกษียณเป็นสิ่งผิดจริยธรรม ผิดหลักความเท่าเทียมกันของพลเมือง เป็นการเลือกปฏิบัติ และเป็นการแสดงออกของการเหยียดอายุ</p> เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/275800 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 สหวาทกรรมและเรื่องเล่าจากบุคคล Intersex ในสังคมไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274938 <p>ร่างกายของบุคคล Intersex เผชิญกับข้อจำกัดด้านความรู้ แม้กระทั่งในการขับเคลื่อนด้านความหลากหลายทางเพศ ประเด็น Intersex ยังไม่มีสถานะเป็นความจริงกระแสหลัก บทความวิจัยนี้วิเคราะห์และตีความเรื่องเล่าชีวิตของบุคคล Intersex ในบริบทสังคมไทยด้วยแนวคิดสหวาทกรรม รวบรวมเรื่องเล่าจากการสัมภาษณ์ที่เผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะ บทความวิจัยนี้ดำเนินตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อตอบคำถามในประเด็นร่างกายและตัวตน รวมถึงแนวปฏิบัติที่สัมพันธ์กับวาทกรรมหลายเสียง ผลการวิจัยพบว่าความเป็นจริงเรื่อง Intersex ในบริบทสังคมไทยไม่มีเอกภาพ วาทกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และวาทกรรมเพศคู่ตรงข้ามเชื่อมต่อกันเพื่อสร้างความเข้าใจว่า พัฒนาการทางเพศในกลุ่ม Intersex ผิดปกติ คลุมเครือ รับรู้ไม่ได้ และจำเป็นต้องรักษา แต่เมื่อวาทกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และวาทกรรมเพศคู่ตรงข้ามเชื่อมต่อกับวาทกรรม Intersex หลังสมัยใหม่ ร่างกายบุคคล Intersex ในขอบเขตนี้สามารถรับรู้ได้ในฐานะของความหลากหลายทางกายวิภาค ซึ่งไม่ใช่อาการผิดปกติความหมายใหม่อนุญาตให้บุคคล Intersex โต้ตอบและปฏิเสธขั้นตอนแทรกแซงทางการแพทย์ได้ ซึ่งสนับสนุนความเป็นไปได้ที่ร่างกายของบุคคล Intersex จะถูกรับรู้มากขึ้นในสังคมไทย</p> พรชัย เตชะ, จันทิมา อังคพณิชกิจ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274938 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การใช้อัตลักษณ์ของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการส่งเสริมการเป็นมุสลิมที่ดี : กรณีศึกษาของชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/273289 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของกลุ่ม ดะอ์วะฮ์ตับลีฆที่ทำงานเผยแผ่ศาสนาอิสลามในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) การใช้อัตลักษณ์ของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการเผยแผ่หลักธรรมอิสลาม และ 3) การตอบรับที่มีต่อบทบาทของกลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆในการเผยแผ่หลักธรรมอิสลาม การดำเนินการวิจัยเป็นตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มดะอ์วะฮ์ตับลีฆมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น 3 ประการคือ 1) ผู้ฝึกฝนตนเองด้วยวิธีการที่เชื่อว่าสืบทอดจากท่านศาสดามูฮัมหมัด 2) ผู้ปฏิบัติตนในแนวทางของศาสนาอิสลาม และ 3) ผู้สืบทอดภารกิจการเผยแผ่ศาสนาอิสลามต่อจากท่านศาสดามูฮัมหมัด ซึ่งแสดงออกผ่านการปฏิบัติตนและวิธีการเผยแผ่ศาสนาด้วยการเดินทางไปยังชุมชนต่าง ๆ โดยใช้วิธีการสนทนาแบบตัวต่อตัวกับคู่สนทนา เพื่อส่งเสริมให้มุสลิมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติศาสนกิจให้ครบถ้วน ผลตอบรับจากคนในชุมชนมีสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ 1) เชิงบวก ทำให้มุสลิมปฏิบัติตนอยู่ในแนวทางของศาสนาอิสลามมากขึ้น และ 2) เชิงลบ ทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบในมัสยิดที่พวกเขาไปพัก</p> ประสิทธิ์ เซาะมัน, อาแว มะแส Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/273289 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 Coco และ Encanto : ภาพครอบครัวชาวลาตินอเมริกาในภาพยนตร์แอนิเมชัน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276555 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาการนำเสนอชุดคุณค่าทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับครอบครัวตามแนวคิดครอบครัวนิยมของชาวลาตินอเมริกาที่ปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง <em>Coco</em> (วันอลวน วิญญาณอลเวง) และ <em>Encanto</em> (เมืองเวทมนตร์คนมหัศจรรย์) โดยอาศัยกรอบแนวคิดทางสังคมเกี่ยวกับครอบครัวชาวลาตินอเมริกาเพื่อวิเคราะห์ภาพครอบครัวในภาพยนตร์ประกอบกับใช้โครงสร้างสามองก์เพื่อทำความเข้าใจกลวิธีเล่าเรื่องและวิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์ และใช้ทฤษฎีสัญญะวิทยาเพื่อแปลความหมายของสัญญะที่ปรากฏ จากการศึกษาพบว่า (1) ภาพยนตร์ <em>Coco</em> และ <em>Encanto</em> นำเสนอภาพครอบครัวที่สมาชิกทุกคนยึดถือคุณค่าวัฒนธรรมเกี่ยวกับครอบครัวว่ามีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด (2) บทบาทความสำคัญของเพศหญิงต่อครอบครัว โดยเฉพาะผู้เป็นย่าและยายในฐานะหัวหน้าครอบครัว (3) ตัวเอกผู้เป็นหลานคือตัวแทนในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นของสมาชิกภายในครอบครัว และ (4) ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องสะท้อนภาพนำเสนอตามอุดมคติและความถวิลหาอดีตของทีมผู้สร้างเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาตินอเมริกาอันเป็นรากเหง้าของตน</p> อุดมลักษณ์ ปั้นทอง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276555 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 แบบจำลองการเรียนรู้เครื่องแบบกลุ่มสำหรับประเมินความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279247 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเรียนรู้เครื่องแบบกลุ่ม (ensemble learning) ด้วยอัลกอริทึม boosting สามแบบ ได้แก่ adaptive boosting (ADA) gradient boosting (GB) และ eXtreme gradient boosting (XGB) เพื่อหาแบบจำลองที่มีความเหมาะสมในการประเมินความอ่อนไหวของการเกิดดินถล่มในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยใช้ข้อมูลจุดเกิดและไม่เกิดดินถล่มที่ถูกบันทึกไว้ย้อนหลัง 30 ปี ในการฝึกสอนและทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลอง ใช้ข้อมูล 14 ประเภท ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความอ่อนไหวในการเกิดดินถล่ม ประกอบไปด้วยปัจจัยทางธรรมชาติและปัจจัยที่ได้รับอิทธิพลจากมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อลดอิทธิพลจากความสัมพันธ์กันเองของตัวแปรอิสระ งานวิจัยนี้ได้ทดสอบ multicollinearity โดยกำหนดเกณฑ์ค่า VIF น้อยกว่า 5 และค่า TOL มากกว่า 0.10 มีปัจจัยที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่แบบจำลอง 9 ปัจจัย และประสิทธิภาพของแบบจำลองจะถูกทดสอบด้วยค่าสถิติเพื่อให้ได้แบบจำลองที่ดีที่สุด ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านธรณีวิทยามีความสำคัญของปัจจัยสูงสุดในทุกแบบจำลอง 2) ทั้งสามแบบจำลองสามารถใช้ประเมินความอ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มได้ โดยแบบจำลอง GB และ XBG มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เมื่อทดสอบด้วยค่าสถิติ F1-score และค่าความถูกต้องโดยรวม ส่วนการเปรียบเทียบพื้นที่ใต้กราฟ ROC แบบจำลอง XGB มีประสิทธิภาพสูงที่สุด 3) การทำนายการกระจายตัวของพื้นที่อ่อนไหวต่อดินถล่มของทั้งสามแบบจำลองมีความคล้ายคลึงกันบริเวณที่มีระดับความอ่อนไหวมากที่สุด ยกเว้นแบบจำลอง ADA ที่มีการแบ่งช่วงในระดับปานกลางถึงน้อยละเอียดกว่าแบบจำลองอื่น ๆ จากข้อค้นพบในครั้งนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพสำหรับการทำนายและใช้เป็นแนวทางในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติได้</p> นิธิมา เนื่องจำนงค์, กฤชญาณ อินทรัตน์, โจจิณณ์ดา แซ่จึง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279247 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาสเปนและการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ MACRO Model ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/273676 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาสเปน และพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนภาษาสเปน ซึ่งมี 1 ห้องเรียน นักเรียน 15 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบบันทึกผลหลังการเรียนรู้ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมครูและนักเรียน 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน 5) แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาสเปนท้ายวงจร 6) แบบทดสอบการคิดสร้างสรรค์ท้ายวงจร 7) แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาสเปน 8) แบบทดสอบการคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>SD</em>), ค่าร้อยละ (%) และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา (content analysis) ผลวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการพูดภาษาสเปน และมีพัฒนาการคิดสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหลังได้รับการจัด การเรียนรู้</p> วษิรฏา ภูวรกิจ, สิทธิพล อาจอินทร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/273676 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 Enhancing Thinking Skills in Thai EFL Learners through Sternberg’s Triarchic Theory integrated in English Grammar Instruction https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279279 <p><strong>Effective thinking skills, crucial for success in today’s dynamic world, empower learners to analyze information critically, solve problems creatively, and make informed decisions.</strong> However, Thai middle/high school students often face challenges developing these skills within language classrooms. This study investigated the effectiveness of incorporating Sternberg’s Triarchic Theory of Intelligence (Sternberg, 1985, 1996, 2001) into grammar instruction provided to a group of 21 ninth-graders enrolled in Basic English 5 at a leading public school in Bangkok, Thailand, in 2021. Data collection included a researcher-developed Thinking Skills Test developed from O-NET (2015-2018) and PISA 2018 (OECD, 2018) test content, classroom observations of grammar instruction utilizing the four-stage lesson plan, an attitude survey, and semi-structured interviews. Findings revealed that participants perceived the Critical-Analytical aspect of the Triarchic Theory as particularly beneficial for their grammar learning. They expressed highly positive attitudes towards this type of thinking and somewhat positive attitudes towards Creative and Practical thinking. The study suggests that integrating thinking skills can enhance language learning, fostering a connection between grammar and other language skills. These results offer valuable insights for developing English language curricula in middle schools and contribute to research exploring the interdependence of thinking skills and language education for EFL learners</p> Saowaluk Wongrat , Saneh Thongrin Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279279 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700 Thai Learners’ Interpretation of English Modality https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274098 <p>This research aimed to examine the frequency and percentage of Thai undergraduate-level learners’ accurate interpretation of the modality meanings and time references denoted by nine core modal verbs of English: can, could, will, would, shall, should, may, might, and must. Each of these auxiliaries serves not only semantic (e.g., ability, possibility, permission of “can”) but also pragmatic functions (e.g., request of “can”). Some of them are “basic or unmarked,” and others are “extended or marked” (e.g., formality, politeness). Meanwhile, Thai preverbal modals convey a subset of these modality meanings, so complication may occur during the English-as-a-Foreign-Language (EFL) modal learning. Fifty multiple-choice questions with four choices representing the basic and extended modality meanings and time references were designed for the Thai participants to answer. It was found that the informants interpreted “can” the most successfully and “shall” the least successfully. Moreover, for each modal verb, some meanings were achieved more frequently than the others such as the meaning of “ability” of “can” over “possibility.” These findings were in line with the previous ones. With respect to time references, the Thai learners tended to associate tense with the modal forms, and the perfective forms of the verbal complements of the modal verbs caused interpretation challenges. The concepts “marked” and “unmarked” features under Markedness Theory were proposed to account for the EFL modality acquisition. The unmarked meanings were primarily acquired more successfully or earlier than the more marked ones, regardless of the first languages of the EFL learners.</p> <p> </p> Saovapak Kallayanamit , Pornrawee Thunnithet, Khampee Noonkhan Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274098 Sat, 31 Aug 2024 00:00:00 +0700