วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts <p> วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Journal of Liberal Arts, Thammasat University) เป็นวารสารทางวิชาการที่มีกระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (double blinded peer-reviews) จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้และผลการศึกษา การค้นคว้าใหม่ๆ ทฤษฎี การวิจัย วิธีวิทยา และแนวคิดในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ได้แก่ ภาษา วรรณกรรม ภาษาศาสตร์ ปรัชญา การศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ เปิดรับบทความที่เขียนด้วยภาษาไทย ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ หรือบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p> วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับแรก เดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม ทั้งนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบตีพิมพ์ให้เหลือเพียงรูปแบบเดียวคือการตีพิมพ์ออนไลน์เท่านั้น</p> Faculty of Liberal Arts, Thammasat University th-TH วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1513-9131 บทบรรณาธิการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/284656 สุภินดา รัตนตั้งตระกูล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 ความขัดแย้งในกิจการทำไม้สักของประเทศไทยในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278312 <p>บทความเรื่องความขัดแย้งในกิจการทำไม้สักของประเทศไทยในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับกองทัพญี่ปุ่นในเรื่องการจัดการขอนไม้สัก และการทำกิจการป่าไม้สักต่อจากกิจการที่ยึดจากชนศัตรูในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484-2488 เพื่อชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไทยต้องจัดตั้งบริษัท ไม้ไทย จำกัด ขึ้นเพื่อดำเนินกิจการทำป่าไม้แทนบริษัทของชนศัตรู และเพื่อหลีกเลี่ยงการที่ญี่ปุ่นจะเข้ามามีอิทธิพลในอุตสาหกรรมการทำป่าไม้แทนที่ชาติตะวันตก การดำเนินงานของรัฐบาลไทยในอุตสาหกรรมการทำไม้ช่วงดังกล่าวจึงเป็นห้วงเวลาสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านจากเดิมที่ถูกชาติตะวันตกอย่างอังกฤษผูกขาด ไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่ผูกขาดโดยรัฐ นอกจากนี้ ความพยายามของรัฐไทยไม่เพียงทำให้ได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์การทำไม้สักด้วยทรัพยากรเดิมที่มาจากบริษัทชนศัตรู แต่ยังช่วยให้รัฐบาลไทยมีแหล่งรายได้ มีช่องทางช่วยบรรเทาภาระทางเศรษฐกิจ</p> รณวีร์ หิรัญสิ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 670 699 The Two-tiered Mind Model as a Theoretical Concept for Developing a Metatheory of the Psyche https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/282941 <p>In the current paper, the author proposes that the human mind can be categorized into two overarching levels–lower and higher levels of mind. At the lower level, the mind tends to have a strong propensity to be trapped in the inferiority-superiority mode of self-perception, as well as having a strong propensity to cling strongly to pleasure or happiness. Within the higher mind level, individuals may be able to transcend these two propensities. This proposed two-level model of the mind, which enjoins core concepts from a vast array of psychological theories, the author suggests, could be used for developing a metatheory of the psyche.</p> Pummarat Ridthikerd Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 700 717 เกี่ยวกับวารสาร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/284653 <p>-</p> กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 กองบรรณาธิการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/284654 กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 สารบัญ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/284655 กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 สารัตถะในนวนิยายเรื่อง “บ้าก็บ้าวะ” https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279514 <p>บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารัตถะในนวนิยายเรื่อง “บ้าก็บ้าวะ” ของเคน เคซีย์ โดยอาศัยแนวทางการพิจารณาแนวคิดในวรรณกรรมของปริญญา เกื้อหนุน กลวิธีในการประเมินค่าแนวคิดของกุหลาบ มัลลิกะมาส และแนวคิดว่าด้วยลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมของตรีศิลป์ บุญขจร เป็นกรอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาทำให้ทราบสารัตถะสามเรื่อง ได้แก่ เสรีภาพ การพึ่งพาตนเอง และความรัก สารัตถะเรื่องเสรีภาพแสดงออกผ่านการตั้งชื่อเรื่อง การตีความข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ พฤติกรรมของตัวละครสำคัญอย่างแมคเมอร์ฟีและบรอมเด็น ตลอดจนการกำหนดฉากและเหตุการณ์ ส่วนการพึ่งพาตนเองประจักษ์จากลักษณะการสร้างตัวละครบรอมเด็นและเหตุการณ์ ได้แก่ การโหวตดูรายการโทรทัศน์ช่วงบ่ายวันศุกร์ การออกไปตกปลาที่ริมฝั่งทะเล และการหนีออกจากโรงพยาบาลโรคจิต ขณะที่เรื่องความรักเน้นประเด็นความรักระหว่างเพื่อนฝูง สะท้อนผ่านพฤติกรรมของตัวละครแมคเมอร์ฟีเป็นหลักและเหตุการณ์ที่แสดงความหวังดีระหว่างผู้ป่วยและความรักที่แมคเมอร์ฟีมีต่อเพื่อน ได้แก่ บรอมเด็น ฮาร์ดิง และบิลลี</p> Truong Thi Hang Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 1 32 สถานภาพงานวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2555-2565 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276993 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพงานวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2555-2565 จาก 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ งานวิจัยจำนวนทั้งหมด 11 เรื่อง ได้แก่วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ฉบับเต็ม สืบค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLIS) กำหนดประเด็นในการศึกษาไว้ 6 ประเด็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) มหาวิทยาลัยรังสิต ทำการวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยมากที่สุด จำนวน 5 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 45.45 2) วัตถุประสงค์ของการวิจัยส่วนใหญ่เพื่อศึกษาความพึงพอใจ จำนวน 8 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 24.24 3) ผู้วิจัยส่วนใหญ่กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการทดลองเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 27.27 4) นวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 8 นวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 72.72 และด้านสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา จำนวน 3 นวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 27.27 5) เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเป็นวรรณคดีไทยตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 14 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 73.7 และ 6) มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่เผยแพร่งานวิจัยอย่างต่อเนื่องในช่วง พ.ศ. 2558-2564 โดยมีงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 5 เรื่อง และมีแนวโน้มการทำวิจัยเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มมากขึ้น</p> พระปลัดสถาพร ปุ่มเป้า Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 33 51 ทัศนะเรื่องประชาธิปไตยในวรรณกรรมนิราศ พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2567 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/283397 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะเรื่องประชาธิปไตยที่ปรากฏในวรรณกรรมนิราศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - พ.ศ 2567 โดยผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ วรรณกรรมนิราศ พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2523 พบว่า มีทัศนะที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยเพราะแสดงว่าประเทศไทยเจริญก้าวหน้า แต่ก็มีทัศนะว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้เกิดความเดือดร้อนต่าง ๆ ในสังคม การปกครองระบอบประชาธิปไตยยังไม่ทำให้คนไทยมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคกัน จึงมีทัศนะสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ ส่วนทัศนะที่มีต่อหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคนั้นพบว่าประชาชนยังไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เด็กและผู้หญิงยังถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ ประชาชนยังไม่มีความเสมอภาคกัน และวรรณกรรมนิราศ พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2567 พบทัศนะว่า การปกครองประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดี แต่ยังมิใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น มีเสรีภาพทางเพศ หากแต่วัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ มีฐานะและบทบาทด้อยกว่าผู้ชาย เด็กต้องเคารพผู้อาวุโสกว่า นอกจากนี้ยังพบทัศนะว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาสำคัญที่ขัดขวางมิให้ประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคอย่างแท้จริง</p> สุภาพร พลายเล็ก Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 52 84 การศึกษากลวิธีการแปลคำเสียดสีในวรรณกรรมเรื่อง อิท สำนวนแปลของโสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279733 <p>งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษากลวิธีการแปลคำเสียดสีและปัจจัยที่ส่งผลต่อการแปลคำเสียดสีในวรรณกรรมแปลเรื่อง “อิท” ของโสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล โดยใช้ทฤษฏีเกี่ยวกับคำเสียดสีของ Hom and May (2013) Croom (2013) Fasoli et al. (2015) Cousens (2020) และ Anderson and Lepore (2013) กลวิธีการแปลคำเสียดสีของ Davoodi (2009) Lovihandrie et al. (2018) และโชติกา เศรษฐธัญการ (2564) กลวิธีการแปลคำในวัฒนธรรมของสุพรรณี ปิ่นมณี (2562) และกลวิธีการแปลคำทั่วไปของ Newmark (1988) ผลการวิจัยพบคำเสียดสี 5 หมวดหมู่โดยมีคำเสียดสีเกี่ยวกับเชื้อชาติ หมวดหมู่คำเสียดสีเกี่ยวกับเพศหญิง หมวดหมู่คำเสียดสีเกี่ยวกับผู้มีความหลากหลายทางเพศ หมวดหมู่คำเสียดสีเกี่ยวกับผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย และคำเสียดสีในหมวดหมู่อื่น มีการใช้กลวิธีการแปลคำเสียดสีทั้งหมด 13 กลวิธีด้วยกันคือ กลวิธีการลบทิ้ง กลวิธีการใช้คำแทนที่ กลวิธีการเทียบเคียงคำต้องห้าม กลวิธีการแปลงเป็นคำรื่นหู กลวิธีการใช้คำยืม กลวิธีการใช้คำทั่วไป กลวิธีการใช้คำต้องห้ามแบบลดความรุนแรง กลวิธีการทับศัพท์ กลวิธีการแปลตามตัวอักษร กลวิธีการเพิ่มคำอธิบาย กลวิธีการใช้เชิงอรรถ กลวิธีการแปลแบบอิสระ และกลวิธีการแปลแบบสำนวน ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างและคล้ายคลึงทางด้านมุมมองของสังคมระหว่างสหรัฐอเมริกาและไทย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงมุมมองเกี่ยวกับคำเสียดสีในวัฒนธรรมต้นทาง พร้อมทั้งปัจจัยทางด้านเจตนาในการใช้คำเสียดสีและลักษณะของตัวละครผู้ใช้คำเสียดสีล้วนส่งผลต่อการแปลคำเสียดสี</p> ศัลยา บริสุทธิบัณฑิต Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 85 114 การแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาสเปนเป็นภาษาไทยในนวนิยายเม็กซิกันเรื่อง “เปโดร ปาราโม” https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/282926 <p>งานวิจัยนี้ศึกษากลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาสเปนเป็นภาษาไทยในนวนิยายเม็กซิกันเรื่อง “เปโดร ปาราโม” จากการศึกษาพบคำทางวัฒนธรรมรวมทั้งสิ้น 131 คำ ผู้วิจัยวิเคราะห์กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมตามแนวทฤษฎีของ Molina (2001) พบว่า ตรงกับกลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมทั้งหมด 9 วิธี เรียงลำดับตามความถี่ของการปรากฏใช้จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ การทับศัพท์ร่วมกับกลวิธีอื่น การสร้างวาทกรรม การเทียบเคียงคำหรือสำนวนที่กำหนดไว้แล้ว การบรรยาย การดัดแปลง การยืมแล้วแปลตรงตัว การแปลแบบคลุมความ การขยายความ และการลดความ ตามลำดับ</p> ธนิฏฐา สิรินิตย์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 115 146 กวีนิพนธ์ไทยในยุคสังคมทุนนิยม พ.ศ. 2531-2560 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/282682 <p>บทความนี้ศึกษากวีนิพนธ์ไทยจำนวน 200 บท ในช่วง พ.ศ. 2531-2560 โดยมุ่งค้นหาโครงสร้างเรื่องเล่าของบทกวีตามแนวคิดเรื่องผังตัวกระทำของเกรมาส พบว่าเรื่องเล่าในกวีนิพนธ์ไทยมีตัวประธานแบ่งเป็น 9 กลุ่ม มีตัวเป้าหมาย 15 ตัว ตัวสนับสนุนและตัวอุปสรรคร่วมกันทั้งหมดแบ่งเป็น 35 ตัว ส่วนใหญ่ไม่มีตัวผู้รับและตัวผู้ให้ การศึกษาทำให้เห็นโครงสร้างเรื่องเล่าในกวีนิพนธ์ที่เป็นการนำเสนอภาพเศรษฐกิจผ่านการแสวงหาตัวเป้าหมายของตัวประธาน ตัวสนับสนุนและตัวอุปสรรคสะท้อนถึงเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อหน่วยต่าง ๆ ในสังคมในเต่ละช่วงเวลา และโครงสร้างของเรื่องเล่าในบทกวีนี้เป็นตัวแบบ (model) ที่สามารถอนุมานถึงรูปแบบเดียวกันในเรื่องเล่าบทกวีอื่น</p> เสาวณิต จุลวงศ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 147 178 แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวชาติพันธุ์บรูอย่างยั่งยืน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/277021 <p>บทความวิจัยนี้ต้องการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวชาติพันธุ์บรู โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) สำรวจค้นคว้าเอกสารและงานวิจัย ลงพื้นที่สนามสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยแนวคิดทุนทางสังคมวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์บรูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มีทุนทางสังคมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพเชิงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่จำต้องสร้างระบบการจัดการแบบมีส่วนร่วม สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับเจ้าของวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์และคุณค่าทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์จากนโยบายรัฐที่พัฒนาเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ในบริบทการท่องเที่ยว กลุ่มชาติพันธุ์สามารถปรับตัวสร้างพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมนำเสนอตัวตนชาติพันธุ์ในพื้นที่สาธารณะบนฐานทรัพยากรประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างภูมิใจ ธำรงชาติพันธุ์ สร้างสังคมพหุวัฒนธรรมและลดอคติชาติพันธุ์</p> เกียรติศักดิ์ บังเพลิง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 179 205 พุทธธรรมในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/277718 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร พระบรมราโชวาท อิศรญาณภาษิต และบทพากย์เอราวัณ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสารจากคัมภีร์พระไตรปิฎกและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าปรากฏพุทธธรรมจำนวน 9 เรื่อง ได้แก่ ปัญญา หิริ กตัญญู กตเวที การสงเคราะห์บุตร ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ และไม่ประมาท</p> อภิรักษ์ นามวิชา ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 206 234 ปัญหาของท่านคือนโยบายของเรา : มูลบทในนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/280054 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปภาษาที่สื่อมูลบทและหน้าที่ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของมูลบทในนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยเก็บข้อมูลจากนโยบายหาเสียงที่เผยแพร่ในเฟซบุ๊กแฟนเพจของพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 603 ข้อความ ผลการวิจัยพบว่า พรรคการเมืองใช้รูปภาษาที่สื่อมูลบท 4 ชนิด ได้แก่ 1) รูปภาษาที่ใช้อ้างถึง สื่อมูลบทให้เห็นว่ามีสภาพที่ดำรงอยู่หรือสภาพที่ยังไม่เกิดขึ้นซึ่งเป็นปัญหากับประชาชน รวมถึงนโยบายที่เคยเกิดขึ้นแล้ว 2) คำกริยากลุ่มบ่งการเปลี่ยนสภาพ สื่อมูลบทให้เห็นว่า สภาพต่าง ๆ จะต้องทำให้เปลี่ยนไปเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน 3) คำกริยากลุ่มแนะความ สื่อมูลบทว่าคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของสภาพต่าง ๆ เป็นอย่างไร และ 4) รูปภาษาบ่งการเกิดซ้ำ สื่อมูลบทให้เห็นว่าเคยเกิดหรือเคยมีสิ่งต่าง ๆ แต่ปัจจุบันไม่มีอยู่แล้ว รูปภาษาที่สื่อมูลบทมีหน้าที่ทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ คือ แนะความให้เห็นถึงปัญหาที่ดำรงอยู่ รวมถึงแนะความว่าผู้ที่จะเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือพรรคการเมืองต่าง ๆ ผลการศึกษาที่พบยังแสดงให้เห็นว่ามูลบทมีบทบาทครอบงำความคิด ตลอดจนชักจูงโน้มน้าวให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคล้อยตามและลงคะแนนเสียงซึ่งจะสร้างความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมืองต่อไป</p> ธรรมวัฒน์ พัฒนาสุทธินนนท์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 235 265 การใส่รหัสและการถอดรหัสอุดมการณ์ของตัวบทเฟคนิวส์และตัวบทของผู้รับสารเฟคนิวส์ในสื่อสังคมออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278491 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวบทเฟคนิวส์ในสื่อสังคมออนไลน์จำนวน 40 ชิ้น โดยประยุกต์ใช้กรอบวิธีคิดการใส่รหัสและการถอดรหัสของสจ๊วต ฮอลล์ จากการศึกษาพบว่า เฟคนิวส์ในสื่อสังคมออนไลน์เป็นสารรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้เพื่อการสื่อสารถึงอุดมการณ์ ผ่านการสร้าง การแชร์ และการบริโภคเฟคนิวส์ เฟคนิวส์ในสื่อสังคมออนไลน์ถูกใช้เป็นพาหนะ เป็นสนามในการใส่รหัสอุดมการณ์ ทำหน้าที่ปลุกอุดมการณ์ที่อยู่ในความคิดของผู้คน เข้าไปเสริมสร้างของเดิมให้พอกพูน หรือแม้แต่ทำหน้าที่ท้าทายสั่นคลอนอุดมการณ์เดิม ทั้งนี้การสร้างและดัดแปลงเฟคนิวส์อาศัยปฏิบัติการทางภาษาและสัญลักษณ์ ในขณะที่รูปแบบการถอดรหัสเฟคนิวส์ในสื่อสังคมออนไลน์มีความหลากหลาย คือ แบบตรงกันข้ามไม่เชื่อ แบบท้าทายแต่ไม่โต้แย้ง และแบบคล้อยตาม</p> พิลาสินี วงษ์นุช เพ็ญจันทร์ ประดับมุข เชอร์เรอร์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 266 287 ภาพตัวแทนผู้สูงอายุที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279226 <p>ประเด็นเกี่ยวกับผู้สูงอายุได้รับความสนใจจากนักวิชาการหลายสาขาเนื่องจากสังคมไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์ภาพตัวแทนผู้สูงอายุที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2551 จำนวน 4 หลักสูตร โดยใช้กรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของแฟร์คลัฟ (Fairclough, 1995) ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมหนังสือเรียนขับเน้นภาพผู้สูงอายุว่าเป็นผู้ที่ต้องได้รับการดูแลจากเด็ก อีกทั้งมักนำเสนอว่าเป็นผู้มีร่างกายทรุดโทรมซึ่งตอกย้ำภาพของผู้ต้องได้รับการช่วยเหลือ ขณะเดียวกันก็นำเสนอภาพผู้สูงอายุว่าเป็นผู้เลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนหลานเฉพาะด้านศีลธรรมและภูมิปัญญาซึ่งเป็นความรู้เฉพาะด้าน การเน้นนำเสนอภาพดังกล่าวมากเป็นพิเศษเป็นการมองภาพแบบเหมารวม ทำให้ความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุถูกจำกัดอยู่ในบางมิติ ทั้งนี้มิได้นำเสนอภาพที่สอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุอย่างรอบด้าน ผลการศึกษานี้ช่วยสร้างการตระหนักรู้ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติเชิงลบที่มีต่อผู้สูงอายุ และอาจใช้เป็นแนวทางในการสร้างหนังสือเรียนที่ลดอคติแห่งวัย</p> ธีระ บุษบกแก้ว สุจิตรา แซ่ลิ่ม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 288 318 การกล่าวออกตัวในภาษาไทย : เครื่องมือลดการคุกคามหน้าหรือวัจนกรรมตรง? https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278961 <p>ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งที่มนุษย์ใช้เพื่อรักษาและกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล นอกจากนี้การใช้ภาษายังสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของผู้ใช้ในการลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหรือกระทบกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลอีกด้วย ในปัจจุบันพบว่า การกล่าวออกตัวเป็นกลวิธีทางภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในสื่อต่าง ๆ เช่น ละคร รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ สื่อสังคมออนไลน์ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพบว่า การใช้การกล่าวออกตัวในภาษาไทยมักก่อให้เกิดผลหรือความรู้สึกที่หลากหลาย ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหน้าที่ของการกล่าวออกตัวในภาษาไทยที่เกิดก่อนถ้อยความที่มีลักษณะของการวิพากษ์วิจารณ์ 2 โครงสร้าง ได้แก่ “ไม่ได้ ... นะ แต่ ...” และ “อย่าหาว่า ... เลยนะ แต่ ...” โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นคนไทยที่มีภูมิหลังทางสังคมที่แตกต่างกัน จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า การกล่าวออกตัวในภาษาไทยมีหน้าที่ที่หลากหลาย เช่น เพื่อลดความรุนแรงของการคุกคามหน้า เพื่อเตือนคู่สนทนาถึงผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นกับตน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบต่อผลทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากถ้อยความที่ผลิตออกมา รวมไปถึงเพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงเจตนาในการสื่อสารที่แท้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบททางภาษา บริบททางสังคม และโดยเฉพาะบทบาทของผู้ใช้ภาษาในสถานการณ์การสื่อสารครั้งนั้น ๆ ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดของทฤษฎีและวิธีการเก็บข้อมูลที่ใช้เพื่อศึกษาและอธิบายการใช้การกล่าวออกตัวในภาษาไทย</p> อนุชิต ตู้มณีจินดา อำนาจ ปักษาสุข Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 319 349 “โสดเป็นเรื่องน่าเศร้า” : กลวิธีทางภาษาและนัยแฝงจากมุกตลกออนไลน์ไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/282176 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาและนัยแฝงจากมุกตลกออนไลน์ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับคนโสด เก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กอารมณ์ขัน โดยจากตัวบทอารมณ์ขัน 100 เรื่อง พบมุกตลกเกี่ยวกับคนโสดจำนวนถึง 30 เรื่อง แสดงให้เห็นว่าคนโสดกลายเป็นเป้าหลักของอารมณ์ขัน ผลการวิจัยพบกลวิธีทางภาษา 8 กลวิธี ได้แก่ (1) การเย้ยหยัน (2) การเล่นคำโดยการละเมิดกฎความคู่ขนาน (3) การใช้สหบท (4) การหักมุม (5) การกล่าวถ้อยคำนัยผกผัน (6) การใช้มูลบททางวัจนปฏิบัติศาสตร์ (7) การล้อเลียน และ (8) การเสียดสี นอกจากนี้ยังพบนัยแฝง 6 ประเด็น ได้แก่ (1) คนโสดคือคนที่ไม่เป็นที่ต้องการ (2) คนโสดคือคนน่าสงสาร (3) คนโสดคือคนขี้อิจฉาหรือคนพาล (4) คนโสดคือคนเหงา (5) คนโสดคือคนหน้าตาไม่ดี และ (6) คนโสดคือคนที่ผิดหวังในความรัก นัยแฝงเหล่านี้สร้างชุดความคิดในลักษณะการตีตราประทับเหมารวมที่แสดงให้เห็นว่า “โสดเป็นเรื่องน่าเศร้า” นำไปสู่การตอกย้ำค่านิยมในสังคมไทยด้านการกดดันให้มีคู่ครอง</p> อรวี บุนนาค Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 350 379 ศาสตร์และศิลป์ของกลยุทธ์ในการใช้สื่อเพื่อจัดการภาวะวิกฤตทางสังคมไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279877 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสื่อในการแก้ปัญหาวิกฤตทางสังคม รวมทั้งวิเคราะห์เหตุผล และวิธีการที่ประชาชน ภาครัฐ หรือองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลือกใช้สื่อในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤตทางสังคม และสร้างแนวทางและรูปแบบของกลยุทธ์ในการทำงานร่วมกัน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มุ่งศึกษาวิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านประสิทธิภาพของสื่อในการแก้ปัญหาวิกฤตทางสังคม สื่อเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการภาวะวิกฤตทางสังคม โดยสื่อมีประสิทธิภาพในหลายบทบาท ได้แก่ เป็นกระบอกเสียงเพื่อให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วน ช่วยตรวจสอบและเป็นตัวเร่ง ให้ภาครัฐแก้ปัญหารวดเร็วขึ้น พร้อมสะท้อนปัญหาภาครัฐ ภาคเอกชน 2) ด้านการวิเคราะห์เหตุผล และวิธีการที่ประชาชน ภาครัฐ หรือองค์กรที่เลือกใช้สื่อในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาภาวะวิกฤตทางสังคม โดยประชาชนคาดหวังให้สื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริง ถูกต้อง และรวดเร็ว ส่วนสื่อมีบทบาทหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลจากภาครัฐ 3) แนวทางในการจัดการภาวะวิกฤตทางสังคมให้ประสบความสำเร็จ รัฐควรสร้างกลยุทธ์ในการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันกับสื่อในรูปแบบของเครือข่าย โดยมีเป้าหมายสำคัญร่วมกัน คือประโยชน์ของประชาชน ตามรูปแบบ FINGER Model ของผู้นำในภาวะวิกฤต เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สื่อของประชากรแต่ละกลุ่ม ต้องรู้วิธีการเลือกใช้สื่อ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอในแต่ละช่องทางให้เหมาะสม พร้อมทั้งรัฐควรมีการเตรียมโครงสร้างให้มีศักยภาพในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ</p> ศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ ชลวิทย์ เจียรจิตต์ พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 380 406 การเชื่อมโยงความประเภทไวยากรณ์ในข่าวออนไลน์ภาษาสเปน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/282987 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เครื่องมือเชื่อมโยงความประเภทไวยากรณ์ในข่าวออนไลน์ภาษาสเปน กลุ่มตัวอย่างของกรณีศึกษานี้มีจำนวน 40 ข่าว แบ่งออกเป็นข่าววิทยาศาสตร์ ข่าววัฒนธรรม ข่าวเศรษฐกิจ และข่าวต่างประเทศ หัวข้อละ 10 ข่าว จากสำนักข่าวต่างสำนักกัน ผู้วิจัยเลือกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยทฤษฎีของฮัลลิเดย์และฮาซาน ผลจากการศึกษาโดยรวมพบว่า (1) การอ้างถึงพบมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยการละ การเชื่อมความ และการแทนที่เป็นอันดับสุดท้าย และ (2) หากวิเคราะห์ในแต่ละหัวข้อข่าว พบว่าข่าววิทยาศาสตร์และข่าวเศรษฐกิจมีการใช้เครื่องมือเชื่อมโยงความในลักษณะใกล้เคียงกัน ในขณะที่ข่าววัฒนธรรมและข่าวต่างประเทศใช้เครื่องมือเชื่อมโยงความใกล้เคียงกัน</p> สรสิชา บุญญเศรษฐ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 407 433 สภาพการจ้างงานและมุมมองต่อความคุ้มค่าในการไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นของแรงงานไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278894 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจ้างแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่นและศึกษาความคุ้มค่าทางด้านการเงิน ความคุ้มค่าทางด้านความรู้และทักษะวิชาชีพ และความคุ้มค่าด้านประสบการณ์ในการเดินทางไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์ออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากแรงงานชาวไทยที่มีประสบการณ์การทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นและเดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว จำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า เหตุผลที่แรงงานชาวไทยเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดคือ อยากหาประสบการณ์และอยากใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่น รองลงมาคือ การได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีกว่าประเทศไทย แรงงานที่ให้ข้อมูลในงานวิจัยนี้ เป็นแรงงานที่เคยเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย แรงงานส่วนใหญ่จึงได้รับการดูแลตามสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการของญี่ปุ่น ในการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น แรงงานส่วนใหญ่พึงพอใจและรู้สึกคุ้มค่าที่ได้ไปทำงานที่ญี่ปุ่นทั้งในด้านการเงิน ด้านความรู้ ทักษะวิชาชีพ และประสบการณ์ที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม มีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่พบปัญหาทั้งในด้านการทำงานและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น จากการศึกษานี้ ทำให้ทราบสภาพชีวิตการทำงานและความเป็นอยู่ของแรงงานไทยในญี่ปุ่น รวมถึงความคุ้มค่าในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น</p> เวณิกา สุปัญญเดชา สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข วรินทร วูวงศ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 434 458 การศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษา เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 และสามย่านสมาร์ทซิตี้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279293 <p>เมืองอัจฉริยะเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน และปัญหาภายในเมือง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาเมืองในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ความสำเร็จของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีปัจจัยสำคัญ คือ มุมมองและความร่วมมือของประชาชน ผู้วิจัยจึงเลือกเมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 และสามย่านสมาร์ทซิตี้เป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากเป็นโครงการนำร่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนจาก 2 พื้นที่ศึกษา โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างของแต่ละพื้นที่ศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ และประชาชนนอกพื้นที่ โดยแบ่งตามความถี่ในการใช้พื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีการรับรู้และมีความคาดหวังต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้สูงกว่าพื้นที่เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 โดยพื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้ประชาชนในพื้นที่กับประชาชนนอกพื้นที่มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนในพื้นที่มีความคาดหวังต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสูงกว่าประชาชนนอกพื้นที่ ส่วนเมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 ประชาชนนอกพื้นที่มีการรับรู้และมีความคาดหวังสูงกว่าประชาชนในพื้นที่</p> ณิชา ธนาวนิชกุล แก้วนิมิตร รุ่งเจริญกิจ เพชรพิไล ลัธธนันท์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 459 488 การเรียนรู้เชิงบูรณาการทางสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะนักคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดพลังอำนาจอ่อนทางวัฒนธรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278380 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการทางสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะนักคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดอำนาจอ่อนทางวัฒนธรรมและ 2) พัฒนาและประเมินชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการทางสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะนักคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดอำนาจอ่อนทางวัฒนธรรม ใช้วิธีการออกแบบวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1) เอกสารที่เกี่ยวข้อง และ 2) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ใช้เครื่องมือวิจัยคือ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร และ 2) แบบประเมินความเหมาะสม ผลการวิจัยพบประเด็นการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะนักคิดสร้างสรรค์จำนวน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) วิธีการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นปักหมุดหมายการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นทัศนศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ขั้นเชื่อมโยงความรู้ ขั้นตอนที่ 4 ขั้นเลือกพื้นที่นักสร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 5 ขั้นสรุปความคิดรวบยอด 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) แนวคิดและจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ 2) รูปแบบการเรียนรู้ 3) กิจกรรม “Arts for the road” 4) กิจกรรม Makerspace บนพื้นที่ประวัติศาสตร์ “นครหริกุญชัย” 5) กิจกรรม “Inspire by เจดีย์” 6) กิจกรรม “พัดสาน ประสานศิลป์” 7) กิจกรรม “ประติมากรรมพระ ณ หริภุญชัย” และผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (<em>M</em> = 4.82, <em>SD </em>= 0.33)</p> วรินทร สิริพงษ์ณภัทร กฤตพร ยะบุญทา ชญานิตย์ ยิ้มสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 489 514 อิทธิพลของภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 ในการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ระดับประถมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดเชียงรายที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 3 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279234 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาษาที่ 1 (ภาษาอ่าข่า) และภาษาที่ 2 (ภาษาไทย) ที่มีต่อการออกเสียงพยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะท้าย และเสียงพยัญชนะผสมในภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดเชียงราย ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 3 จำนวน 120 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย และพยัญชนะผสมในภาษาอังกฤษ ผลการศึกษาพบว่าภาษาที่ 1 (ภาษาอ่าข่า) และภาษาที่ 2 (ภาษาไทย) มีอิทธิพลทั้งเชิงบวกและเชิงลบในการออกเสียงภาษาที่ 3 (ภาษาอังกฤษ) โดยนักเรียนสามารถออกเสียงพยัญชนะกัก เสียดแทรก ในตำแหน่งต้นพยางค์ได้ อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของภาษาที่ 1 นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนสามารถออกเสียง /w-/ และ /f-/ ในตำแหน่งต้นพยางค์ และสามารถออกเสียงพยัญชนะท้าย ซึ่งเป็นเสียง หรือเป็นโครงสร้างทางพยัญชนะที่ไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษาที่ 1 (ภาษาอ่าข่า) แต่เป็นอิทธิพลของภาษาที่ 2 (ภาษาไทย) อย่างไรก็ตาม นักเรียนไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะผสมทั้งในตำแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นอิทธิพลเชิงลบจากภาษาที่ 1 (ภาษาอ่าข่า) และ ภาษาที่ 2 (ภาษาไทย) โดยมีลักษณะการแทรกแซงที่พบ 4 ลักษณะ คือ การแทนที่ของเสียง การเพิ่มเสียง การไม่ออกเสียง และการใช้ 2 กระบวนการ</p> รุ่งวิมล รุ่งโรจน์สุวรรณ ชนิดา พงศ์นภารักษ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 515 544 Reading Eco-crisis Poems in the Face of Environmental Crises in Reality: A Case Study https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/278229 <p>Ecocriticism has been a dynamic branch of literary studies from the late 20<sup>th</sup> century onward; the discussion of ecopoetry, however, seems to lag behind that of environmental fiction and non-fiction. This study aims to examine relevant messages and implications of selected ecopoems that specifically deal with environmental crises. Starting with a literature review of the definitions and elements prevalent in the field of ecopoetry and criticism, the study offers close-reading analysis of five contemporary poems about pressing eco-crises, covering the issues of chemical pollution, nuclear power plant disaster, and climate change in the Anthropocene. The selected poems are Olive Senior’s “My Father’s Blue Plantation” (Senior, <em>Gardening</em>, 1994), Shouji Mitsui’s “A Different Version of ‘A Record of the Living’” (Mitsui, 2014), Lavinia Greenlaw’s “The Recital of Lost Cities” (Greenlaw, 1993), Craig Santos Perez’s “Halloween in the Anthropocene, 2015” (Perez, 2016), and Carol Ann Duffy’s “Parliament” (Duffy, <em>The Bees</em>, 2011). The findings include the shared features of ecopoems discussed, namely the stimulating perception about the environmental threats that is tinged with humor and satire, the sense of connectedness or entanglement between humans and the nonhumans, and the link to real situations as well as the projection of the future. Finally, the closing section reviews ecopoetry’s accessibility, its modes of publication, and its potential to communicate the serious environmental risks that the earth and humanity are currently facing.</p> Phacharawan Boonpromkul Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 545 573 Achieving Sustainable Sport Tourism Management in Buriram, Thailand: Insights from GSTC and McKinsey 7S Frameworks https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279971 <p>This study explores the application of sport tourism theories, the McKinsey 7S Framework and the Global Sustainable Tourism Criteria (GSTC), to achieve sustainable sport tourism management practices in Buriram, Thailand. By employing qualitative methods, grounded theories and focus groups with eleven key informants, this research investigates multifaceted management practices driving Buriram's success. The results reveal how Buriram has uniquely balanced economic development, environmental responsibility and social well-being through a well-rounded approach that combines infrastructure development, cultural integration, and community engagement. The conclusion provides some practical recommendations for adopting a holistic management approach. This study serves as a valuable resource for developing successful initiatives in sustainable sport tourism. Moreover, the study results can be used as fundamental data by government or the private sector to make policies on practice or development of sport tourism that will create balance between the economy, the society and the environment. </p> <p> </p> Peeranthorn Puacharoen Linjong Pocharee Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 574 599 泰国刑事诉讼法律术语汉译策略探析: 以《泰国法院官方中文使用指南(刑事案件)》第1册为例 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/271511 <p>本文旨在探讨泰国刑事诉讼程序中出现的法律术语, 以《泰国法院官方中文使用指南(刑事案件)》第1册为例, 重点关注刑事诉讼中法律术语泰汉翻译所遇到的问题和解决方法, 并力图提出适当的翻译策略。在搜集整理法律术语并建立本地法律术语语料库后, 本文统计出《指南》中共有229个相关的法律术语, 其翻译方法主要为直译、意译、增译、省译和借译五种。然而, 由于译者对源语法律术语的理解不准确、目的语语言水平有限, 或在翻译过程中缺乏仔细检查校核, 《指南》中有122个法律术语存在翻译问题。本文将这些问题分为三类: 涉及译名与源语语义不一致的40个, 译名不符合法律语言要求的60个, 以及译名不符合目的语表达习惯的22个。针对这些问题, 本文根据翻译过程理解、表达和校核三个阶段提出刑事诉讼中法律术语泰汉翻译的三点策略: 1. 正确理解源语法律术语; 2. 正确运用目的语表达, 包括寻求在目的语中与源语对等或近似的法律术语, 并充分掌握目的语语言; 3. 仔细检查校核, 包括借用法律工具书自查, 以及请母语为汉语的读者进行校核。</p> Zumin Yao Kanokporn Numtong Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 600 627 对外汉语写作中的教师书面反馈初探——基于泰国国立法政大学的研究 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/276501 <p>反馈一直是二语写作的研究重点之一, 但对外汉语领域相关研究却相对较少。本文探讨了对外汉语写作课中教师反馈的现状, 研究基于泰国国立法政大学汉语写作课148份写作文本中的教师书面反馈, 以及教师访谈和学生问卷数据进行分析。研究结果表明, 教师反馈的质量有待提高, 反馈在易读性、可理解性和一致性上都出现了问题, 影响了反馈的效果。同时, 教师之间在反馈实践上存在较大的个体差异, 教师与学生的反馈偏好也存在不一致的情况。学生对通过反馈提升语言水平有较强的期待, 但对教师的依赖性也较高。最后, 本文针对发现的问题提出了一系列优化教师反馈的建议, 希望可以给对外汉语写作课的教师一定的启发, 帮助其建立更为有效的写作反馈机制。</p> Lu Wang Xiaoman Yang Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 628 649 Употребление лексики и лексических выразительных средств в речи российских политических деятелей для отражения отношений России и стран АСЕАН https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/279504 <p>Данная научно-исследовательская работа посвящена выявлению лексики и лексических выразительных средств в речи российских политических деятелей об отношениях России и стран АСЕАН, анализу отношений между ними. В результате исследования обнаружено, что отношения России и стран Юго-Восточной Азии передаются при помощи эпитетов, метафор, канцеляризмов, нейтральной, положительной и негативной лексики. В последние годы в Юго-Восточной Азии наблюдается острая конкуренция за влияние и участие между тремя крупными державами – Россией, Соединенными Штатами и Китаем. Россия в основном избегала междержавных конфликтов и стремилась восстановить свои многогранные отношения со странами-членами АСЕАН и региональными организациями. Хотя ее политико-экономические связи относительно небольшие по сравнению с другими державами, её внешняя политика такова.</p> Nicha Baicharoen Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-29 2024-12-29 24 3 650 669