https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/issue/feed วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2024-04-28T18:21:19+07:00 Editorial Team journal@arts.tu.ac.th Open Journal Systems <p> วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Journal of Liberal Arts, Thammasat University) เป็นวารสารทางวิชาการที่มีกระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (double blinded peer-reviews) จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้และผลการศึกษา การค้นคว้าใหม่ๆ ทฤษฎี การวิจัย วิธีวิทยา และแนวคิดในสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ได้แก่ ภาษา วรรณกรรม ภาษาศาสตร์ ปรัชญา การศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ เปิดรับบทความที่เขียนด้วยภาษาไทย ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ หรือบทวิจารณ์หนังสือ</p> <p> วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดออกปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับแรก เดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม ทั้งนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบตีพิมพ์ให้เหลือเพียงรูปแบบเดียวคือการตีพิมพ์ออนไลน์เท่านั้น</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/277404 บทบรรณาธิการ 2024-04-28T18:03:32+07:00 สุภินดา รัตนตั้งตระกูล jlaeditor@arts.tu.ac.th <p>-</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/271725 อาหารญี่ปุ่น (วาโชะคุ) ในฐานะมรดกโลกและการสนับสนุนจากรัฐบาลให้เป็นมรดกโลกอย่างยั่งยืน 2023-09-14T19:00:09+07:00 กมลาสน์ กีรตินันท์วัฒนา usadagon_k@hotmail.com <p>ปัจจุบันวาโชะคุหรืออาหารญี่ปุ่นเป็นสัญลักษณ์สำคัญของประเทศญี่ปุ่นเพราะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วยองค์ประกอบ ดังนี้ 1) เคารพธรรมชาติ 2) มีโภชนาการและสารอาหารครบถ้วน 3) เป็นอาหารที่ตกแต่งสวยงาม 4) เป็นอาหารที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ประเพณี และเทศกาลต่าง ๆ บทความวิชาการฉบับนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนิยามและองค์ประกอบ เอกลักษณ์ของวาโชะคุในการพิจารณาขององค์กรยูเนสโกไว้อย่างละเอียด กล่าวคือวาโชะคุมีความโดดเด่นในเรื่องการใช้วัตถุดิบตามธรรมชาติสร้างสรรค์งานได้อย่างลงตัว เป็นอาหารมีประโยชน์เพื่อสุขภาพมีความสวยงาม และเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมที่ดีงาม เพื่อขยายความจุดเด่นที่องค์กรยูเนสโกได้กำหนดให้วาโชะคุกลายเป็นมรดกโลก จากการรวบรวมข้อมูลค้นพบว่า วาโชะคุหรืออาหารญี่ปุ่นมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ อันมีความเชื่อมโยงกับแนวทางในการบริหารและจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนับสนุนวาโชะคุให้เป็นอาหารของโลก บทความนี้จะทำให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับวาโชะคุได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270537 “ขึ้นหน้ากลองร้องปันตน” : ลักษณะการสร้างสรรค์บทปันตนในการแสดงลำตัด 2023-07-21T16:03:32+07:00 อธิชนัน สิงหตระกูล a.singhatragul@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างสรรค์บทปันตนในการแสดงลำตัด ใช้วิธีการศึกษาและบันทึกข้อมูลขั้นทุติยภูมิจากบันทึกวีดิทัศน์ และบันทึกข้อมูลขั้นปฐมภูมิด้วยวิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) โดยศึกษาคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอดีตและคณะที่ยังดำเนินการแสดงอยู่ในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2561-2566 และศึกษาจำนวน 60 บท วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ให้เห็นลักษณะการสร้างสรรค์บทปันตนในการแสดงลำตัด ผลการศึกษาพบลักษณะคำประพันธ์ของบทปันตนลำตัด 3 ลักษณะ คือ กลอนปันตนแบบมลายู กลอนปันตนแบบกลอนตลาด และกลอนปันตนแบบลักษณะอื่น บทปันตนลำตัดนั้นมีลักษณะการสร้างสรรค์ 2 ด้าน คือ 1) ด้านตัวบทปันตนลำตัด ปรากฏเพลงภาษามลายูปนไทย เพลงไทยเดิม เพลงเสภา เพลงกล่อมเด็ก เพลงไทยสากล และบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นใหม่ โดยพบการสร้างสรรค์จากเพลงไทยเดิมมากที่สุด แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ การสืบทอดบทร้องเพลงไทยเดิม การประยุกต์บทร้องเพลงไทยเดิม และการแต่งบทร้องอย่างเพลงไทยเดิม 2) ด้านเนื้อความของบทปันตนลำตัด ปรากฏเนื้อความกล่าวถึงเรื่องเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วย การรำพึงรำพันความรักระหว่างชายหญิง การเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ครูบาอาจารย์ การเฉลิมพระเกียรติ และการให้คติคำสอน เนื้อความกล่าวถึงการออกตัว และเนื้อความกล่าวถึงการส่งเสริมคุณค่าลำตัด พลวัตการสร้างสรรค์ส่งผลให้ลำตัดยังคงดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/277408 เกี่ยวกับวารสาร 2024-04-28T18:11:53+07:00 กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ journal@arts.tu.ac.th 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/277405 กองบรรณาธิการ 2024-04-28T18:07:54+07:00 กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ journal@arts.tu.ac.th <p>-</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/277407 สารบัญ 2024-04-28T18:09:30+07:00 กองบรรณาธิการ วารสารศิลปศาสตร์ journal@arts.tu.ac.th 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/272203 “จะปั้นน้ำเป็นตัวอย่างไรได้” : การนำเข้าและการบริโภคน้ำแข็งในสยามระหว่างพุทธทศวรรษที่ 2400-2460 2023-10-03T15:57:15+07:00 ณัฐธนนท์ ศุขถุงทอง natthanontsuk@gmail.com ชนกพร ชูติกมลธรรม chanokpornchuti@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริโภคอาหารของคนไทยอันเนื่องมาจากการเข้ามาของน้ำแข็งในสยามระหว่างพุทธทศวรรษที่ 2400-2460 โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาผ่านหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง ภายใต้กรอบเวลาตั้งแต่การนำเข้าน้ำแข็งเป็นครั้งแรกในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2400 จนถึงช่วงพุทธทศวรรษที่ 2460 ก่อนการมาถึงของตู้เย็น ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแรกเข้ามาสู่เมืองไทยในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2400-2410 น้ำแข็งคือประสบการณ์ใหม่สำหรับชนชั้นนำสยาม การบริโภคน้ำแข็งเป็นเครื่องแสดงออกถึงอำนาจแห่งการบริโภค อันเกิดจากความมั่งคั่งและเอกสิทธิ์ทางชนชั้น ตลอดจนแสดงถึงความมีอารยะผ่านเรื่องอาหารการกิน ต่อมาเมื่อเกิดการตั้งโรงน้ำแข็ง และพัฒนาจนเข้าสู่ความเป็นอุตสาหกรรมระหว่างช่วงพุทธทศวรรษที่ 2420-2460 การบริโภคน้ำแข็งได้แพร่กระจายสู่สามัญชนเป็นวงกว้าง และหลอมรวมเข้ากับวิถีแห่งการบริโภคของท้องถิ่น ภายใต้ภาพลักษณ์แห่งความเป็นสมัยใหม่ และลัทธิบริโภคนิยมตะวันตก น้ำแข็งยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของรสนิยมการบริโภค ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่พยุงไว้ซึ่งการแบ่งชนชั้นในสังคมไทย</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/271890 “มักจะเอาฝาลังถึงมาใช้แทนเครื่องวัด” : การปรับปรุงการทำรายงานน้ำฝนต้นข้าวและประโยชน์ของงานอุตุนิยมวิทยาที่มีต่อรัฐสยามในระหว่างทศวรรษ 2430-2450 2023-09-21T18:05:04+07:00 ปรีดาภรณ์ เอี่ยมแจ๋ preesayaka@gmail.com อรอนงค์ ทิพย์พิมล onanong.th@arts.tu.ac.th <p>บทความนี้ศึกษาการทำ “รายงานน้ำฝนต้นข้าว” โดยตั้งคำถามว่า รัฐสยามได้รับประโยชน์อะไรจากการปรับปรุงการเก็บข้อมูลรายงานน้ำฝนต้นข้าวในระหว่างทศวรรษ 2430-2450 และการทำรายงานน้ำฝนต้นข้าวสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีต่องานอุตุนิยมวิทยาและการรับมือกับสภาพอากาศอย่างไร บทความนี้ศึกษาผ่านเอกสารรายงานน้ำฝนต้นข้าวและรายงานการเกษตรอื่น ๆ ที่กระทรวงเกษตรจัดทำ รวมถึงเอกสารราชการที่เกี่ยวข้องกับรายงานเหล่านี้ จากการศึกษาพบว่า การปรับปรุงแบบรายงานน้ำฝนต้นข้าวและการระดมจัดส่งเครื่องรองน้ำฝนชุดใหม่ให้กับเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 นั้นเป็นการรื้อสร้างมาตรฐานใหม่ของการเก็บข้อมูลเพื่อให้รัฐได้รับข้อมูลปริมาณน้ำฝนน้ำท่าในแบบข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นระบบมากขึ้นและยังได้รับทราบผลการเพาะปลูกและราคาสินค้าเกษตรอย่างละเอียด ข้อมูลเหล่านี้ได้นำไปสู่การคาดการณ์ผลผลิตข้าวซึ่งสัมพันธ์กับรายได้ของรัฐและผู้ค้าข้าวในแต่ละปี ยิ่งไปกว่านั้น การปรับปรุงการเก็บข้อมูลรายงานน้ำฝนต้นข้าวยังเป็นหนึ่งในความพยายามกระชับอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของรัฐสยาม เพื่อให้รัฐสามารถสอดส่องตรวจตราและตักตวงทรัพยากรจากเมืองในปกครองได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การทำรายงานน้ำฝนต้นข้าวยังแสดงให้เห็นว่ารัฐสยามในขณะนั้นยังคงมุ่งให้ความสำคัญกับข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในฐานะที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร การชลประทาน การค้าข้าว และการเก็บอากรค่านา มากกว่าที่จะคำนึงถึงการวางรากฐานการจัดเก็บข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาเพื่อการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการใช้ประโยชน์ในกิจการอื่น ๆ ในระยะยาว</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/271587 แนวคิดอุมมะฮ์กับการประยุกต์ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 2023-09-15T11:58:23+07:00 สามารถ ทองเฝือ thongfhua@gmail.com <p>บทความวิจัยเรื่องแนวคิดอุมมะฮ์กับการประยุกต์ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดอุมมะฮ์ที่ได้ระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และศึกษาแนวคิดอุมมะฮ์กับการนำไปปรับใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในโลกมุสลิมได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือวิจัยที่สำคัญคือการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการเจาะจงผู้ให้สัมภาษณ์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ อิสลาม รัฐศาสตร์ มุสลิมศึกษาและกระแสโลกปัจจุบัน โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา สำหรับผลจากการวิจัยพบว่าในอัลกุรอานนั้นได้มีการระบุถึงแนวคิดอุมมะฮ์ไว้หลายตำแหน่ง โดยให้ความหมายที่หลากหลายตามบริบทและการตีความ ตลอดจนแนวคิดอุมมะฮ์สามารถประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้จริง เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ผสานให้ผู้คนมารวมตัวกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องดินแดน ชาติพันธุ์ ภาษา เป็นต้น นอกจากนี้การจะนำแนวคิดอุมมะฮ์มาปรับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากนานาประเทศมุสลิมในการตระหนักถึงหลักการที่แท้จริงของอุมมะฮ์และนำมาประยุกต์ใช้ให้ครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/273760 การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงสัณฐานบนฐานนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชนเกาะลัดอีแท่น นครปฐม 2023-12-09T23:46:19+07:00 ฐปณี รัตนถาวร tapanee.r@rmutr.ac.th พรชัย จิตติวสุรัตน์ pornchai.j@rmutr.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงสัณฐานบนฐานนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น ในชุมชนเกาะลัดอีแท่น นครปฐม การวิจัยใช้แนวคิดทฤษฎีด้านสัณฐานวิทยาเมืองและเครื่องมือวิเคราะห์เชิงสัณฐานพื้นที่สเปซซินแท็กซ์ ร่วมกับการวิเคราะห์ลักษณะกิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรม โดยวิธีการสำรวจพื้นที่และสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางท่องเที่ยวเป็นการผสานเส้นทางสัญจรทางบกและทางน้ำ ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ เส้นทางท่องเที่ยว A: มุ่งเน้นด้านวิถีชีวิตและภูมิปัญญา เส้นทางท่องเที่ยว B: มุ่งเน้นด้านวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม และเส้นทางท่องเที่ยว C: มุ่งเน้นด้านภูมิศาสตร์และระบบนิเวศ ข้อเสนอแนะให้คำนึงขอบเขตและระดับในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ทางสังคมของชุมชน รวมถึงขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่น</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/273621 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการถ่ายภาพเบื้องต้นเพื่อสื่อสารสุขภาพด้วยสมาร์ตโฟนสำหรับชุมชนปกาเกอะญอบนพื้นที่สูง 2023-12-02T15:04:10+07:00 ศิริก้อย ชุตาทวีสวัสดิ์ sirikoy.c@chula.ac.th สุเมธ ท่านเจริญ sumate.tan@kmutt.ac.th กิตติชัย จันทร์แดง sirikoy.c@chula.ac.th พิมพกานต์ มีไพรฑูรย์ sirikoy.c@chula.ac.th ปฏิพล พาด้วง sirikoy.c@chula.ac.th พิทักษ์พงศ์ พงศ์กระพันธุ์ sirikoy.c@chula.ac.th <p>อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกลไกสำคัญที่ใกล้ชิดและเข้าถึงชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารบนพื้นที่สูง อสม. ซึ่งจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการสื่อสารสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการถ่ายเบื้องต้นเพื่อสื่อสารสุขภาพด้วยสมาร์ตโฟน และ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการถ่ายภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) ศึกษาข้อมูล เอกสาร และลงพื้นที่สำรวจชุมชน (2) เตรียมการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร (3) ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน จาก 10 ตำบล 3 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ความต้องการหลักสูตร หลักสูตรการถ่ายภาพฯ โดยใช้แบบทดสอบปฏิบัติก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรม แบบประเมินผลงาน แบบประเมินความรู้และการนำไปใช้ และแบบสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรการถ่ายภาพฯ ควรมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) ควรเป็นเทคโนโลยีที่ อสม. คุ้นเคย 2) เพิ่มทักษะการใช้สมาร์ตโฟน 3) ทักษะการถ่ายภาพฯ 4) ควรเน้นทักษะทำจริง ทำได้ 5) เพิ่มมารยาทในการถ่ายและเผยแพร่ภาพบุคคลโดยหลักสูตรประกอบด้วย 3 กิจกรรม 1) การประเมินทักษะก่อน-หลังการอบรม 2) เนื้อหาการอบรม และ 3) การทดลองปฏิบัติ ผลการใช้หลักสูตรข้างต้น พบว่า อสม. มีระดับพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น 42.56% ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง โดยสามารถแบ่งผู้อบรมเป็น 3 กลุ่ม คือ พัฒนาการระดับสูง 5 คน พัฒนาการระดับปานกลาง 23 คน และพัฒนาการระดับต่ำ 2 คน อสม. มีความแตกต่างด้านอายุ เพศ การศึกษา และการรู้ภาษาไทย จึงควรให้ครูในชุมชนช่วยเป็นพี่เลี้ยง และโครงการนี้สามารถทำเป็นนโยบายขยายผลให้หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ต่อไป</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/273332 ภาพแทนชาวตะวันตกในนวนิยายเรื่อง “หยดน้ำตาสยาม” 2023-11-18T02:05:08+07:00 ณัชรดา สมสิทธิ์ mynatrada@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนชาวตะวันตกในนวนิยายเรื่อง <em>หยดน้ำตาสยาม</em> ประพันธ์โดยแคลร์ คีฟ-ฟอกซ์ (Claire Keefe-Fox) นักเขียนเชื้อสายฝรั่งเศส-อเมริกัน โดยใช้แนวคิดภาพแทน (Representation) และแนวคิดบูรพคดีนิยม (Orientalism) เป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายเรื่อง <em>หยดน้ำตาสยาม</em> ได้แสดงภาพแทนชาวตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด จากนักเดินทางชาวตะวันตกที่เชื่อว่าตะวันตกคือความเจริญและตะวันออกคือความล้าหลัง มาสู่ภาพแทนชาวตะวันตกที่เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของสยาม เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมใหม่ และเป็นผู้เปล่งเสียงวิจารณ์ความอยุติธรรมที่ฝรั่งเศสกระทำต่อสยามจากกรณีพิพาทเกี่ยวกับดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ผู้แต่งได้พยายามสร้างภาพแทนชาวตะวันตกให้เป็นผู้ที่มีมนุษยธรรม เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม และแก้ต่างว่าไม่ใช่ชาวตะวันตกทั้งหมดที่เห็นด้วยกับการล่าอาณานิคม อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของเรื่องผู้แต่งกำหนดให้ชาวตะวันตกเดินทางกลับสู่ยุโรป ทำให้มโนทัศน์ที่ว่าตะวันตกคือความเจริญและตะวันออกคือความล้าหลังกลับมามีอิทธิพลเช่นเดิม ภาพแทนชาวตะวันตกในนวนิยายจึงมีความย้อนแย้งระหว่างภาพแทนชาวตะวันตกแบบเจ้าอาณานิคมและภาพแทนชาวตะวันตกที่มีมนุษยธรรม เข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ การสร้างภาพแทนชาวตะวันตกที่ต่างไปจากเดิมได้สะท้อนถึงความปรารถนาของผู้แต่งที่จะลบล้างภาพแทนเจ้าอาณานิคมแบบเดิมลง และนิยามตนเองตามมโนทัศน์และคุณค่าที่สังคมปัจจุบันให้ความสำคัญ</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/273715 ลัทธิวอกแวก : ประสบการณ์ภาพยนตร์กับภาวะสมัยใหม่ในมิติผัสสะในวรรณกรรมไทย ทศวรรษ 2470-2490 2023-12-07T20:57:26+07:00 ชัยรัตน์ พลมุข chairat.p@chula.ac.th <p>การเข้ามาของภาพยนตร์ในสยามในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีบทบาทสำคัญในการก่อรูปปริมณฑลสาธารณะและพื้นที่ทางผัสสะแบบใหม่ ในบทความนี้ ผู้วิจัยสนใจช่วงเวลาตั้งแต่ทศวรรษ 2470 ถึง 2490 ซึ่งเป็นช่วงที่ภาพยนตร์ได้รับความนิยมแพร่หลายจนกระทั่งนักเขียนได้นำประสบการณ์ภาพยนตร์มาสร้างเป็นแก่นเรื่องในตัวบทวรรณกรรมเพื่อขบคิดเกี่ยวกับภาวะสมัยใหม่ในมิติผัสสะและอารมณ์ความรู้สึก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบสหสื่อระหว่างภาพยนตร์กับวรรณกรรมในตัวบทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสำนึกของความเป็นสมัยใหม่เกิดขึ้นในระดับประสบการณ์ทางร่างกายเมื่อผู้ชมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อม ๆ กับการตระหนักในความเปลี่ยนแปลงของการรับรู้ทางผัสสะในชีวิตประจำวันอันเป็นผลมาจากกลไกทางเทคโนโลยีดังกล่าว ในตัวบทบางเรื่อง ความตระหนักรู้ดังกล่าวนำไปสู่การสร้างปมขัดแย้งระหว่างความจริงกับความลวง ระหว่างอารมณ์กับเหตุผล ระหว่างมวลชนกับปัจเจกบุคคล ซึ่งได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในการถ่ายทอดภาวะอัตบุคคลแบบสมัยใหม่ที่ซับซ้อน</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274163 วิถีอาหารและการดื่มกินในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์ 2023-12-27T09:12:10+07:00 พัชลินจ์ จีนนุ่น phatchalinj@hotmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีอาหารและการดื่มกินในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์ เป็นการวิจัยเอกสาร เก็บข้อมูลจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์ประเภทนิทานนิยาย แต่งเป็นร้อยกรอง ตีพิมพ์ในรูปเล่มขนาดเล็ก จำนวน 23 เรื่อง แต่งในช่วง พ.ศ. 2481-2516 นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วิถีอาหารและการดื่มกินในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ยุคการพิมพ์เชื่อมโยงกับพื้นที่ต่าง ๆ ทางสังคม แสดงการปะทะกันระหว่างแนวคิดอนุรักษ์นิยมและการเข้ามาของกระแสวัฒนธรรมทุนนิยม โดยเน้นประกอบสร้างความหมายของอาหารในพื้นที่ป่ามากเป็นพิเศษ สื่อสารถึงต้นกำเนิดของแหล่งกำเนิดอาหารและความเป็นดั้งเดิม รวมถึงการสร้างอัตลักษณ์ของชนกลุ่มต่าง ๆ ผู้แต่งยังสร้างสัญญะของผืนป่าในเชิงบวกสะท้อนให้เห็น “คุณค่า” และ “ความสำคัญ” ที่มีต่อผู้คนเชิงนิเวศ มิติอาหารและการดื่มกินยังสัมพันธ์กับความคิดความเชื่อ ได้แก่ ความคิดความเชื่อเรื่องการเกิด ความคิดความเชื่อในพระพุทธศาสนา ความคิดความเชื่อเรื่องพละกำลัง ความคิดความเชื่อเรื่องการอยู่ดีมีสุข ความคิดความเชื่อเรื่องเพศวิถี ความคิดความเชื่อเรื่องฐานะทางสังคม ความคิดความเชื่อเรื่องบุญบารมีของผู้ปกครอง และความคิดความเชื่อเรื่องความเป็นอมตะ</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/267913 การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนจากเอกสารโบราณ วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 2023-04-27T11:23:11+07:00 ทิพย์วารี สงนอก thipwari_s@hotmail.com <p>การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนจากเอกสารโบราณ วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อวิเคราะห์คำสอนและกลวิธีการสอนที่ปรากฏในเอกสารโบราณ วัดหน้าพระธาตุ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบคำสอนชาย ให้กตัญญูสอนหญิง ให้รู้จักปรนนิบัติ ให้รักพ่อแม่สามี ให้เป็นศาสนิกชนที่ดี สอนคนทั่วไปให้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่โกหก ไม่ลุ่มหลงในกามตัณหา มีความกตัญญู และสืบทอดพุทธศาสนา คำสอนพระสงฆ์ให้หมั่นศึกษาพระธรรมและถ่ายทอดพุทธศาสนา และกลวิธีการสอนคือ สอนโดยตรง สอนโดยการเปรียบเทียบ สอนโดยการเล่าเรื่องมาประกอบการสอน และสอนโดยอาศัยหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/267755 การสร้างประโยคที่มีคำช่วยชี้สถานที่「に・で」ผ่านการสอนโดยใช้เทคนิค Dictogloss : กรณีศึกษานักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2023-04-21T16:56:21+07:00 ชัยยศ รองเดช chaiyot.r.23@gmail.com สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข suneerat@tu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาการสร้างประโยคที่มีการใช้คำช่วยชี้สถานที่「に・で」ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายชาวไทยผ่านเทคนิค Dictogloss ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนแบบ FonF ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ประโยคที่สร้างด้วยตนเองหลังการฟัง จากผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ร้อยละ 38.7 แสดงให้เห็นว่า ยังไม่สามารถสร้างประโยคโดยใช้คำช่วยได้อย่างถูกต้อง การสร้างประโยคโดยใช้คำช่วยที่ถูกต้องมากที่สุดคือ คำช่วย に ชี้ตำแหน่งสถานที่ที่มีอยู่ รองลงมาคือ คำช่วย で ชี้สถานที่ที่เกิดการกระทำ คำช่วย に ชี้จุดหมายปลายทาง และคำช่วย に ชี้สถานที่ที่มีผลลัพธ์ปรากฏอยู่ตามลำดับ แม้วิธีการใช้คำช่วยทั้ง 4 วิธี จะเป็นหัวข้อที่เรียนแล้ว แต่อัตราการใช้ถูกต่ำกว่าร้อยละ 50 ปัญหาเกิดจากกลยุทธ์การจดจำเป็นกลุ่มก้อน และการฟังไม่ทัน ส่วนคำช่วย で ชี้สถานที่ที่มีเหตุการณ์หรืออีเวนต์ เป็นวิธีการใช้ที่ยังไม่ได้เรียน แม้จะฟังข้อมูลได้ทัน แต่กลุ่มเป้าหมาย เกิดความลังเลและสับสน ในท้ายที่สุดเลือกที่จะสร้างประโยคโดยไม่เขียนคำช่วย อย่างไรก็ตาม การนำเทคนิค Dictogloss มาปรับใช้ในชั้นเรียนจะเป็นโอกาสที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นด้านการรับข้อมูลภาษาผ่านการฟัง การใช้ภาษาผ่านการสร้างประโยค และการสังเกตเห็นจุดอ่อนของตนเอง</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270847 บทบาทตัวละครผีหญิงในผลงานรวมเรื่องสั้น โอะบะจังตะชิ โนะ อิรุ โทะโกะโระ ของ มะท์ซุดะ อะโอะโกะ 2023-08-06T00:11:21+07:00 เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ duantemkris@gmail.com <p>ตัวละครผีหรือวิญญาณผู้หญิงในผลงานรวมเรื่องสั้น <em>โอะบะจังตะชิ โนะ อิรุ โทะโกะโระ</em> ของมะท์ซุดะ อะโอะโกะ มีลักษณะที่แตกต่างจากภาพลักษณ์ของตัวละครผีหญิงโดยทั่วไปในวรรณกรรมญี่ปุ่นยุคก่อนหน้า กล่าวคือ ตัวละครผีหญิงถูกสร้างให้เป็นตัวละครที่แม้จะเสียชีวิตลงจากความทรมานกายหรือใจแต่ก็กลับกลายเป็นวิญญาณที่กลับมาเยียวยาหรือคลี่คลายปัญหาให้กับตัวละครเอก บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาบทบาทของตัวละครผีหญิงและทัศนคติแนวสตรีนิยมของผู้เขียน จากการศึกษาพบว่าผู้เขียนได้สร้างให้ตัวละครผีหญิงมีบทบาทในการทำหน้าที่เป็นผู้เยียวยาหรือมีส่วนสำคัญในการคลี่คลายปัญหาให้กับตัวละครเอก ทั้งยังเป็นตัวละครที่มีบทบาทกระตุ้นให้ตัวละครเอกที่เคยสูญเสียอัตลักษณ์หรือถูกทำให้มีความเป็นชายขอบกลับกลายมาเป็นตัวละครที่มีอัตลักษณ์และสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างภาคภูมิ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดสตรีนิยมแบบเฉพาะตัวของผู้เขียนที่ไม่เพียงให้อำนาจกับผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังนำตัวละครผีหญิงที่อดีตเคยถูกสร้างให้มีความเป็นอื่นกลายมาเป็นผู้เยียวยาตัวละครมนุษย์ที่มีความหลากหลายและมีความเป็นอื่นให้กลับมาเป็นตัวละครที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/267451 การเปรียบเทียบแนวคิดของลัทธินมัสการพระเจ้าของหงซิ่วเฉวียนกับหลักคำสอนคริสต์ศาสนา 2023-04-04T11:20:12+07:00 ธวัชชัย ชัยชนะกิจพงษ์ chaipong14@gmail.com กนกพร นุ่มทอง kanokporn.n@ku.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดทางศาสนาของหงซิ่วเฉวียนกับหลักคำสอนศาสนาคริสต์ตามพระคริสตธรรมคัมภีร์ โดยศึกษาจากบันทึกหลักคำสอนศาสนาคริสต์ฉบับแปลภาษาจีน เชวี่ยนซื่อเหลียงเหยียน (劝世良言) บันทึกหยวนเต้าจิ้วซื่อเกอ (原道救世歌) คัมภีร์ซานจื้อจิง ฉบับไท่ผิงเทียนกั๋ว (太平天国三字经) บันทึกไท่ผิงเทียนรื่อ (太平天日) บันทึกชินติ้งเฉียนอี๋เจ้าเซิ่งซู พระธรรมยอห์นฉบับแรก (钦定前遗诏圣书·约翰上书) และบันทึกไท่ผิงเทียนกั๋วสื่อเลี่ยว (太平天国史料) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิด โดยผลการวิจัยสามารถแยกเป็นประเด็นดังนี้ ด้านตรีเอกานุภาพ บันทึกได้กล่าวถึงพระบิดา พระคริสต์ผู้เป็นพี่ชาย และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักคำสอนศาสนาคริสต์ที่กล่าวถึงการดำรงอยู่ของพระเจ้า พระเยซู และพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือพระจิต ส่วนด้านการมีรูปร่างและไร้รูปร่าง พบว่าความเข้าใจของลัทธินมัสการพระเจ้าได้สร้างพระผู้เป็นเจ้าขึ้นมาเป็นรูปร่างในแบบเทวนิยม ซึ่งจะแตกต่างจากหลักคำสอนทางศาสนาคริสต์โดยบันทึกในพระคริสตธรรมคัมภีร์กล่าวชัดเจนถึงพระผู้เป็นเจ้าได้สนทนากับมนุษย์ผ่านพระสุรเสียงของพระองค์เท่านั้น ทั้งนี้ความแตกต่างนี้มาจากกลุ่มผู้นำที่ตีความพระคัมภีร์คลาดเคลื่อน ซึ่งสาเหตุนี้อาจเกิดขึ้นได้ตามทฤษฎีการตีความที่เน้นการตีความไปที่ผู้อ่านในพระคัมภีร์ โดยผู้อ่านสามารถค้นหาความสมบูรณ์แบบได้ในตัวเอง ครั้นเมื่อตีความมากเกินขอบเขต จึงเป็นตัวแปรทำให้ลัทธินมัสการพระเจ้ามีแนวคิดที่แตกต่างไปในช่วงปลายของขบวนการไท่ผิง เพราะกลุ่มผู้นำขบวนการจงใจสร้างบทบาทของตัวเองให้เป็นรูปแบบเทวนิยม เพื่อปกป้องอำนาจของขบวนการเท่านั้น</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/272742 การวิเคราะห์อัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าหลีของจีน 2023-10-26T10:13:04+07:00 จ้าว เผิง 251623681@qq.com วีรวัฒน์ อินทรพร v911_09@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ท้องถิ่นในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าหลีของจีน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและคัดเลือกนิทานพื้นบ้านชนเผ่าหลีของจีนจากหนังสือนิทานพื้นบ้านที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 119 เรื่องผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านวิถีชีวิต ชนเผ่าหลีสร้างที่อยู่อาศัยจากทรัพยากรธรรมชาติบนเกาะไหหลำ ได้แก่ กระท่อมรูปทรงเรือ อาศัยอยู่ในถ้ำบนภูเขาหลีหมู่ การประกอบอาชีพของชาวหลีเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ได้แก่ การปลูกข้าวซานหลาน การล่าสัตว์หาของป่าที่ภูเขาห้านิ้ว การปลูกมะพร้าว ส่วนการแต่งกายของชาวหลีสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ได้แก่ การโพกผ้าของผู้ชายชาวหลี การสวมสร้อยคอและห่วงโลหะของผู้หญิงชาวหลี 2) ด้านประเพณี เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความเชื่อของบรรพบุรุษ ได้แก่ ประเพณีรอยสักของผู้หญิงชาวหลี การต้อนรับแขกด้วยเหล้าซานหลาน วันที่ 3 เดือน 3 การกินหมากพลู การแบ่งอาหารและการร้องเพลงสู่ขอ 3) ด้านเครื่องดนตรีและการร่ายรำ ชาวหลีสร้างเครื่องดนตรีจากธรรมชาติและของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ลี่เล ติงตง ส่วนการร่ายรำที่เป็นอัตลักษณ์ ได้แก่ รำกระทบไม้ ระบำหาบเงิน 4) ด้านการใช้สมุนไพร ชาวหลีใช้ประโยชน์จากสมุนไพรบนเกาะไหหลำ ได้แก่ การใช้เปลือกงิ้วรักษาแผล การใช้สมุนไพรจับสัตว์ การดื่มน้ำมะพร้าวเยียวยาจากภายใน และการใช้ไม้กฤษณา 5) ด้านการให้เกียรติผู้หญิงเป็นผู้นำ ผู้หญิงอาวุโสได้รับความนับถือจากชาวหลีให้เป็นประธานในพิธีกรรมรอยสัก 6) ด้านภูมิปัญญา ชนเผ่าหลีสืบทอดวิธีการปลูกข้าวซานหลานมาจนถึงปัจจุบัน</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/272902 การรื้อฟื้นความเป็นจีนในคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 3 หรือ 4 : กรณีศึกษาผู้ประกอบการร้านคาเฟ่สไตล์จีนในจังหวัดเชียงใหม่ 2023-11-02T12:16:25+07:00 พิชชาภา ทุมดี pitchapa.jj@gmail.com <p>บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องการศึกษาการรื้อฟื้นความเป็นจีน (Resinicization) ในกลุ่มผู้ประกอบการชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 3 หรือ 4 ในจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะกระบวนการทางวัฒนธรรมของการกลายเป็นสินค้า โดยศึกษาผ่านแรงจูงใจในการใช้ความเป็นจีนในฐานะอัตลักษณ์ของคาเฟ่ และการให้ความหมายต่อความเป็นจีนของผู้ประกอบการ เก็บข้อมูลจากกรณีศึกษา 3 กรณี​ โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดกระบวนการทางวัฒนธรรมของการกลายเป็นสินค้า (cultural process of commoditization) ผลการศึกษาพบว่าการเกิดขึ้นของคาเฟ่สไตล์จีนมิได้เป็นเพียงกระแสบริโภคนิยม แต่เป็นผลมาจากบริบททางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยและการเรืองอำนาจของจีน ด้านสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับความเป็นจีนที่ใช้ในการตกแต่งมักสื่อถึงความเป็นจีนโดยรวมมากกว่าวัฒนธรรมจีนโพ้นทะเล ส่วนความหมายของความเป็นจีนในเรื่องเล่าเกี่ยวกับแบรนด์มักเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของการเป็นสมาชิกครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีนของผู้ประกอบการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องยึดโยงกับวาทกรรมหลักของรัฐ</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/269064 โอลิมปิกฤดูหนาวกรุงปักกิ่งปี 2022 : ความพยายามปรับภาพลักษณ์ของจีนอีกครั้งหนึ่ง 2023-05-31T11:35:56+07:00 จินตวัฒน์ ศิริรัตน์ jintavat@asia.tu.ac.th <p>บทความวิจัยนี้เน้นศึกษาการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ของจีน ในฐานะเครื่องมือนโยบายต่างประเทศ โดยมีคำถามวิจัยว่า จีนมีแนวทางอย่างไรเพื่อให้โอลิมปิกเป็นเวทีส่งเสริม soft power เพื่อปรับภาพลักษณ์ของประเทศ และอะไรคือความท้าทายต่อการดำเนินการดังกล่าว ภายใต้กรอบแนวคิดกีฬาใน soft power โดยเฉพาะการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติซึ่งมีความสำคัญในรูปแบบทรัพยากรของนโยบายต่างประเทศ บทความนี้จึงใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิเพื่อตอบข้อสงสัยดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า จีนยังคงใช้ค่านิยมการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีต่อเนื่องจากโอลิมปิกปี 2008 เห็นได้จาก การใช้คำขวัญประจำการแข่งขัน การออกแบบคบเพลิง ตุ๊กตานำโชค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างไรก็ตาม ความย้อนแย้งเชิงนโยบายของจีนคือความท้าทายอย่างยิ่งต่อการส่งเสริม soft power เนื่องจากในภาพรวมนโยบายในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และความร่วมมืออย่างแข็งขันกับประชาคมโลกเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นข้อถกเถียงในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อความพยายามปรับภาพลักษณ์ของจีนผ่านการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาระดับโลกครั้งล่าสุดนี้</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/267511 อุดมการณ์และวิถีปฏิบัติทางสังคมจากการปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยในการสื่อสารของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) 2023-04-07T10:42:29+07:00 อำนาจ ปักษาสุข amnat.p@arts.tu.ac.th พรทิพย์ เฉิดฉินนภา pornthip.c@arts.tu.ac.th อนุชิต ตู้มณีจินดา anuchit.t@arts.tu.ac.th <p>จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์การใช้ภาษาอังกฤษปนในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมามีความพยายามอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยพยายามป้องกันการปนภาษาต่างประเทศในภาษาไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสื่อสารของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีความเชื่อว่าการปนภาษาจะทำให้ภาษาไทยวิบัติ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์แบบสอบถามจากผู้ตอบสอบจำนวน 421 คนพบว่า การสื่อสารโดยมีการปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับผู้รับสารที่เป็นกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ในทางกลับกันการใช้ภาษาอังกฤษปนในภาษาไทยกลับช่วยให้การสื่อสารชัดเจน ตรงประเด็น และใช้คำน้อยกว่าเมื่อใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ การรักษา และเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเฉพาะของการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่มุ่งส่งสารไปยังผู้รับสารจำนวนมากได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผลจากการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของภาษาอังกฤษในสังคมไทย รวมไปถึงอุดมการณ์เกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของภาษาและวิถีปฏิบัติทางสังคมของไทยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยภาษาอังกฤษไม่ควรถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การใช้ภาษาวิบัติ แต่ควรถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การสื่อสารในภาวะวิกฤตเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์และในยุคที่ภาษาอังกฤษมีฐานะเป็นภาษากลางของโลก และสังคมในโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นสังคมพหุภาษาและพหุวัฒนธรรมมากขึ้น</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/271576 ถอดรหัสฮูปแต้ม : จากจิตรกรรมฝาผนังอีสาน สู่การออกแบบชุดการเรียนรู้สำหรับเยาวชนยุควิถีใหม่ในจังหวัดขอนแก่น 2023-09-08T01:57:20+07:00 ณัฐณิชา มณีพฤกษ์ nat_nicha.mnp@hotmail.com อินทิรา พรมพันธุ์ pachara@aru.ac.th กันยารัตน์ เควียเซ่น pachara@aru.ac.th พชร วงชัยวรรณ์ pachara@aru.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุดการเรียนรู้ “ถอดรหัสฮูปแต้ม” สำหรับเยาวชนยุควิถีใหม่ในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ “ถอดรหัสฮูปแต้ม” สำหรับเยาวชนยุควิถีใหม่ในจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาแนวทางการต่อยอดชุดการเรียนรู้ “ถอดรหัสฮูปแต้ม” สำหรับเยาวชนยุควิถีใหม่ในจังหวัดขอนแก่น มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชน อายุประมาณ 18-24 ปี ในจังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่ศึกษาอัตลักษณ์ฮูปแต้มในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และการสำรวจความคิดเห็นสำหรับเยาวชนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ถอดรหัสฮูปแต้ม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ชุดการเรียนรู้ “ถอดรหัสฮูปแต้ม” มีองค์ประกอบของชุดกิจกรรม ได้แก่ คู่มือการเรียนรู้ เว็บไซต์กิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมสร้างสรรค์ จำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมลอกลายฮูปแต้ม และ 2) กิจกรรมโปสการ์ดแต่งแต้มสีสัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งกิจกรรมให้ความรู้และกิจกรรมสร้างสรรค์ 2) กระบวนการทำกิจกรรม ประกอบด้วย ขั้นเรียนรู้ (learning) ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (doing) และขั้นเลือกซื้อสินค้า (shopping) 3) แนวทางการต่อยอดชุดการเรียนรู้ “ถอดรหัสฮูปแต้ม” ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ชุมชน (community) เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ต่อยอด (expand) เป็นการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนเพื่อต่อยอดและเผยแพร่ชุดการเรียนรู้ และ 3) เข้าถึง (reach) เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้เยาวชนสามารถเข้าถึงชุดการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผลจากการประเมินรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ชุดการเรียนรู้ถอดรหัสฮูปแต้มมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมได้จริง</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270181 Literary Analysis of Mary’s Lineage: Unraveling the Controversy in Quranic and Biblical Texts within the Context of Literary Studies 2023-09-08T11:15:05+07:00 Hakim Sudinpreeda hakim_s@hu.ac.th <p>The controversy over Mary being termed the “sister of Aaron” in the Quran prompts a critical examination of its impact on the Quranic narrative. This study explores historical, literary, and cultural contexts, utilizing intertextuality in the Quranic and Christian traditions. Employing a methodology involving a thorough analysis of Biblical and Quranic texts, along with relevant secondary literature, we scrutinize language styles, genre specifications, and cultural contexts. The investigation reveals diverse perspectives on Mary’s lineage. In alignment with some mainstream Islamic interpretations, the paper posits that the Quran’s reference to Mary as Aaron’s sister is symbolic, not a literal biological relationship. This interpretation is supported by the distinctive portrayal of Aaron in the Quran and the Bible, emphasizing Mary’s unique role. Additionally, the paper draws evidence from accepted religious sources in Jewish and Christian traditions, reinforcing the Quranic term “Mary, sister of Aaron.” In conclusion, the study advocates for a nuanced understanding, asserting that interpreting the Quran’s symbolic connections does not undermine its authenticity. Instead, it aligns with a broader tradition of symbolism and intertextuality in religious texts, reinforcing the Quran’s distinct portrayal.</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/271654 Der Umgang mit Platz im menschlichen Leben: Eine Analyse von Margit Schreiners Roman Kein Platz mehr 2023-09-13T22:04:23+07:00 Sarin Satipha sarin.satipha@gmail.com Korakoch Attaviriyanupap attaviriyanupap_K@su.ac.th <p>Das Ziel dieser Studie ist es, den Begriff „Platz“ in dem Roman <em>Kein Platz mehr</em> (2018) der österreichischen Schriftstellerin Margit Schreiner zu analysieren. Das ausgewählte Thema der Studie ist der Platz im menschlichen Leben. Die Forschungsfragen lauten: 1) Wie stellt Margit Schreiner den Platz im Wohnraum dar? 2) Wie gehen die Figuren im Roman <em>Kein Platz mehr</em> mit dem Platzmangel um? 3) Wie thematisiert der Roman <em>Kein Platz mehr</em> den Platz in der Gesellschaft? Die Ergebnisse zeigen, dass Margit Schreiner den Platz im Wohnraum mit der Vorstellung verbindet, dass alle Menschen unterschiedliche Arten und Größen von Wohnungen haben. Jedoch vereint alle ein gemeinsames Problem, nämlich nicht genug Platz zu haben. Im Roman werden drei Haupttypen von Wohnungen identifiziert: Einfamilienhäuser, Apartments und ein Schloss. Sie befinden sich an verschiedenen Orten: in der Stadt, im Vorort und in der Natur. Menschen bewältigen den Platzmangel auf verschiedene Weisen. Drei Methoden wurden gefunden, wie sie mit dem Überfluss an Besitztümern umgehen, um Platz in ihren Wohnungen zu schaffen: Verkaufen, Wegwerfen und Ordnen von Besitzgegenständen. Im Roman wird der Platz auch als Stellung des Menschen in der Gesellschaft beschrieben, was auf bestimmten sozialen Status oder eine soziale Position zurückgeht. Menschen gelten als Mitglieder der Gesellschaft mit einem bestimmten sozialen Status oder einer sozialen Position. Plötzliche Veränderungen des sozialen Status können zum Verlust des Platzes in der Gesellschaft führen. Geschlechterungleichheit zwischen Männern und Frauen spielt ebenfalls eine wichtige Rolle bei ihren sozialen Möglichkeiten und ihrem Status bzw. ihrer Stellung in der Gesellschaft.</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270771 Сопоставительный анализ рекламных текстов популярных тайских товаров и услуг разных категорий у россиян: лингвостилистические приёмы и дискурсивный аспект 2023-08-02T16:28:22+07:00 Nicha Baicharoen nicha_rs@hotmail.com <p>Данная научно-исследовательская работа представляет собой сопоставительный анализ рекламных текстов популярных тайских товаров и услуг разных категорий среди российской аудитории. Цель исследования заключается в выявлении лингвостилистических приемов и дискурсивных аспектов, используемых в этих текстах, а также в определении сходств и различий между ними. В результате были выделены основные языковые приемы, используемые в этих текстах, такие как эпитеты, термины, метафоры, фразеологизмы, неологизмы, упоминание о возможности исследовать культуру и природу страны и о покровительстве королевской семьи. Все категории товаров и услуг используют эмоциональное воздействие на аудиторию, стремясь вызвать положительные эмоции и убедить их в привлекательности товаров и услуг. Также были отмечены некоторые сходства и различия в языковых приемах, связанных с уникальностью и индивидуальностью товаров и услуг, а также с адаптацией под целевую аудиторию.</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/271681 Three Sets of Characteristics of Chinese Anti-pandemic Literature: Realism Versus Postmodernism; Instrumentality Versus Artistry; and Nationalism Versus Liberalism 2023-10-04T17:01:14+07:00 Yang Bo islandsyang@hotmail.com Kyle Kohler islandsyang@hotmail.com Apichai Rungruang islandsyang@hotmail.com Mu Yanhong islandsyang@hotmail.com Amornrat Netthanyakonwong islandsyang@hotmail.com Sirirat Kittijarukhajorn islandsyang@hotmail.com <p>Through analyzing and studying a large number of Chinese anti-pandemic literary works, this paper finds that Chinese anti-pandemic literature exhibits three sets of distinctly opposing characteristics in terms of its creation method, literary value, and ideology. In terms of creative methods, official publications are mostly realist works, embodying realistic depictions of life, profound analyses of human nature, and reflections of social problems. On the other hand, Internet works have postmodernist features such as fragmentation and popularization. In terms of literary value, anti-pandemic literature demonstrates a powerful instrumentality, soothing people’s spirits through the power of literature, conveying to readers the knowledge and experience of fighting pandemics, and promoting the spirit of human solidarity, but it has artistic inadequacies such as the modulation and snackification of literary creation, and the roughness of language. In terms of ideology, anti-pandemic literature calls on people to pay attention to the rights of vulnerable groups in society, reflect on the government’s actions during the pandemic, and explore the relationship between people and the government. But more than that, it reflects the rivalry between China and the United States in terms of ideology and anti-pandemic narrative. The struggle between nationalism and liberalism is at its core. Overall, the emergence of Chinese anti-pandemic literature not only fills the gap in pandemic-related literature but also provides people with a perspective to see the deeper reality behind the pandemic through the manifestation of creation method, literary value, and ideology.</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/275846 中国哈尼族诗人哥布诗歌中的自然书写与文学想象 2024-03-04T11:09:15+07:00 Haochang Li lihaochang110@gmail.com <p>本文对中国哈尼族诗人哥布的 11 部主要文学作品进行了全面分析,旨在探索了他在自然书写、母语运用以及文化与社会批判方面的独特表现。通过详尽的文本分析与社会文化理论框架的应用, 研究深入揭示了哥布作品对哈尼族文化的反映及其对现代化影响的批评性视角。研究结果显示, 哥布的诗歌不仅在哈尼族文化研究中具有重要地位, 还为现代诗歌创作与跨文化交流提供了新的视角。此外, 他的作品通过其独特的文学形式与内容, 展现了对文化多样性和环境问题的敏锐洞察, 为文学和社会科学领域提供了宝贵的学术和实践价值。此研究不仅能增进我们对哥布作品的深刻理解, 也能丰富我们对少数民族文学在全球化背景下作用的认识, 尤其在文化保存、社会批评和文学创新方面。</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/267116 庭审会话中交叉询问毗邻对形式结构类型分析 2023-03-21T14:41:40+07:00 Shasha Zhan shashazhan@hotmail.com Nathakarn Thaveewatanaseth nathakarn.th@ku.th <p>本文以中国庭审公开网的真实庭审视频为语料来源, 以会话分析理论为理论基础, 采用定性和定量相结合的方法, 在前人研究的基础上, 对未完成话轮、听者完成说话者话轮等是否记作一次话轮进行了更明确的界定, 并分析了庭审会话中交叉询问的毗邻对形式结构类型的使用情况。研究发现, “询问——回答”类对答类型为主的链条式结构所占比重最大, 其次是“询问——回答——重复/确认——肯定或否定” 类对答类型的毗邻四部式结构。位居第三的套环式结构, 以在综合交叉组合中与其他毗邻对形式结构一起使用为主, 且主要依靠反馈项目构成套环式结构。这种规律的出现, 是由交叉询问的目的决定的, 充分体现了其机构话语特征。基于此, 本文建议法律汉语教材中的交叉询问对话编写需根据其使用频率安排毗邻对形式结构类型, 在教学中有意识地引导学生使用各形式结构类型, 利用情景教学建立模拟法庭, 提高学生交际能力。</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024