@article{บุญเรือง_ดอกไธสง_รักษาเมือง_2020, place={Ayutthaya, Thailand}, title={ผลสัมฤทธิ์ของโครงการศีลห้าในอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์}, volume={7}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245684}, abstractNote={<p>บทความนี้วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ <br>การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรในการวิจัยคือ ประชาชนในตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ในการวิจัย จำนวน 8,611 คนคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.804 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และ ทดสอบสมมติฐานเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพรรณนาเป็นความเรียง (Content Analysis Technique) <br>ผลการวิจัยพบว่า<br>1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.29, S.D. = 0.355) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสังคมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.31, S.D. = 0.433) และ ด้านชุมชนอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.30, S.D. = 0.473) รองลงมา คือ ด้านศีลธรรมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.28, S.D. = 0.448) และ ด้านครอบครัวอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.25, S.D. = 0.488) ตามลำดับ<br>2. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.25, S.D. = 0.389) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.31, S.D. = 0.482) รองลงมา คือ ด้านการแก้ไขปรับปรุง อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.24, S.D. = 0.496) ด้านการตรวจสอบ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.23, S.D. = 0.429) และ ด้านการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.22, S.D. = 0.457) <br>3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ปัจจัย ด้านการการแก้ไขปัญหา (X4) ด้านการปฏิบัติ (X2) และด้านการตรวจสอบ (X3) ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของของโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธ์การพยากรณ์ (Adjusted R2) เท่ากับ 0.588 สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ได้ร้อยละ 58.80 <br>4. แนวทางในการพัฒนาโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ควรมีการวางแผนที่ชัดเจนที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ดี ควรมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นำควรส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมมีกำลังใจการทำกิจกรรม และผู้นำควรมีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการที่ดีและกำกับติดตามอยู่เสมอ</p>}, number={2-2}, journal={Journal of MCU Social Science Review}, author={บุญเรือง กาญจนา and ดอกไธสง บุญทัน and รักษาเมือง สุริยา}, year={2020}, month={Jan.}, pages={39–53} }