วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace
<p><strong>ISSN: 2985-1556 (Online) </strong></p> <p> <strong>วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้คณาจารย์บุคลากรเจ้าหน้าที่ นิสิต และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้เสนอและเผยแพร่บทความบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ ที่ได้มาตรฐานสู่สาธารณชน รวมทั้งยกระดับผลงานทางวิชาการให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายถอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เปิดรับบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา สันติศึกษา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีละ 6 ฉบับ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร</strong></p> <p> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปรัชญา สันติศึกษา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> <p> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p> 3) บทความปริทรรศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p> 4) บทความพิเศษ (Special Article) ในวาระครบรอบหรือในโอกาสสำคัญต่างๆ</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร</strong></p> <p> วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ </p> <p> ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน </p> <p> ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน </p> <p> ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม </p> <p> ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม</p> <p> ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม</p> <p> ทั้งนี้ เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป</p> <p> เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประเภท Online ของวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร คือ ISSN: 2985-1556 (Online) เผยแพร่สืบค้น และดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ <u><a href="https://so03.tci-thaijo.org/index.%20php/journal-peace">https://so03.tci-thaijo.org/index. php/journal-peace</a></u></p> <p> </p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหรือภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์</p>
th-TH
<p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร</p>
Journalpeacemcu@gmail.com (พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. (หรรษา ธมฺมหาโส))
somporn.lang@mcu.ac.th (พระสมพร ปสนฺโน (หลังแก้ว))
Wed, 30 Apr 2025 23:26:48 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
สันตินวัตกรรมการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280308
<p>บทความวิจัยเรื่อง “สันตินวัตกรรมการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร” การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่ที่เสริมสร้างความผูกพันในองค์กรและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่ในการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร และ 2) เพื่อพัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำพันธุ์ใหม่ในการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน แบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้เครื่องมือวิจัยในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ 1) แบบสอบถามปลายเปิดหรือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องบุคลากร และ ผู้บริหารหน่วยงานของธนาคารกรุงไทย รวมจำนวน 43 คน 2) การทำสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และ ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการทดลองอบรมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้นำองค์กรของธนาคารกรุงไทยจำนวน 44 คน ใช้แบบสอบถามคุณลักษณะผู้นำพันธุ์ใหม่เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร ในการประเมินผลก่อนและหลังการทดลองร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสังเกตการณ์ การสะท้อนคิด การทำกิจกรรมกลุ่ม การถอดบทเรียน และการติดตามเรียนรู้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติวิเคราะห์ค่าที (t-test) ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัยวิธี</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์กรต้องการผู้นำพันธุ์ใหม่ที่เสริมสร้างความผูกพันในองค์กร 2) แนวคิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่ และหลักพุทธสันติวิธี เป็นแนวคิดสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะผู้นำพันธุ์ใหม่ และ 3) สันตินวัตกรรมการพัฒนาผู้นำพันธุ์ใหม่ด้วยการอบรม และ การฝึกอบรมที่ให้ผู้นำได้เรียนรู้งานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง ผู้นำที่เข้าร่วมอบรมมีสมรรถนะการเป็นผู้นำพันธุ์ใหม่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ</p>
สุภกิจ บุญเลี้ยง , ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280308
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ความสามารถทางการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285094
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถทางการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) การบรรลุเป้าหมายทางการเงินของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) ปัจจัยทางการบริหารธุรกิจที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายทางการเงินของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใช้การวิจัยเชิงปริมาณโดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 387 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถทางการบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับดี หากพิจารณาในมิติย่อย พบว่า มีความสามารถทางการบริหารธุรกิจด้านการดำเนินงานภายใน ด้านลูกค้า และด้านข้อเสนอ ในระดับที่ดีเรียงตามลำดับ แต่มีความสามารถทางการบริหารโครงสร้างการเงินในระดับปานกลาง 2) การบรรลุเป้าหมายทางการเงินของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง หากพิจารณาในมิติย่อย พบว่า การบรรลุเป้าหมายทางการเงินด้านรายได้ สภาพคล่องทางการเงิน และกำไรสุทธิ อยู่ในระดับปานกลางเรียงตามลำดับ 3) ปัจจัยทางการบริหารธุรกิจที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายทางการเงินของผู้ประกอบการรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ปัจจัยทางการบริหารธุรกิจด้านข้อเสนอ ด้านโครงสร้างการเงิน และด้านการดำเนินงานภายใน ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายทางการเงินเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยที่มีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05</p>
พรมิตร กุลกาลยืนยง , แสงสุข พิทยานุกุล , สมพร นาคซื่อตรง
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285094
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
แนวทางการพัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำของผู้ประกอบการรายย่อย จังหวัดชัยภูมิ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285760
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำของผู้ประกอบการรายย่อย จังหวัดชัยภูมิ 2) ระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำ 3) เปรียบเทียบระดับปัญหา ในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำ และ 4) นำเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณนำ และการวิจัยเชิงคุณภาพสนับสนุน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ผลิตและจำหน่ายหม่ำในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 50 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพเครื่องมือจากการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา พบว่า เนื้อหาสอดคล้องตรงตามวัตถุประสงค์ และเหมาะสมมากที่สุด สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำของผู้ประกอบการรายย่อย จังหวัดชัยภูมิ มีดังนี้ ประเภทของผลิตภัณฑ์หม่ำที่ผลิตและจำหน่ายคือ หม่ำข้อ ประเภทหม่ำเนื้อวัว และหม่ำพก ประเภทหม่ำเนื้อหมู มีปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์หม่ำต่อเดือนไม่เกิน 1,000 ชิ้น ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จัดจำหน่ายการตลาดทางตรง (ขายหน้าร้าน) มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หม่ำต่อเดือน 30,001-40,000 บาท และส่วนใหญ่ธุรกิจตั้งอยู่ที่อำเภอคอนสวรรค์ 2) ผู้ประกอบการรายย่อยมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการผลิต รองลงมาคือ ด้านวัตถุดิบ และน้อยที่สุดคือ ด้านการบริหารจัดการ 3) ผลการเปรียบเทียบระดับปัญหาในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำของผู้ประกอบการรายย่อย จังหวัดชัยภูมิ มีปัญหาในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำของผู้ประกอบการรายย่อย จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำ ช่องทางการจัดจำหน่าย รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หม่ำต่อเดือน และทำเลที่ตั้งของร้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางการพัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์หม่ำ ของผู้ประกอบการรายย่อย จังหวัดชัยภูมิ คือ ผู้ประกอบการควรร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อปรับปรุงวัตถุดิบและราคา พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามกระแสนิยม หาแหล่งเงินทุนจากรัฐบาลอย่างคุ้มค่า และอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาทักษะการวางแผนเชิงกลยุทธ์</p>
ปรัชญาภรณ์ ม่วงศิลป์, ชญาภัทร์ กี่อาริโย, เชาวลิต อุปฐาก
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285760
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาพลังงานทดแทนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงโดยพุทธสันติวิธีของเกษตรกรชุมชนหนองโรง จังหวัดสระบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280636
<p>การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา ความสำคัญการพัฒนาพลังงานทดแทนและแนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการตามศาสตร์สมัยใหม่ บนฐานเศรษฐกิจพอเพียงโดยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาพลังงานทดแทนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงโดยพุทธสันติวิธี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอริยสัจจ์โมเดล (ตามบันได 9 ขั้น) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และกระบวนการวิพากษ์ แบ่งเป็น 6 กลุ่ม จำนวน 24 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาอุปกรณ์พลังงานทดแทนมีราคาแพง ขาดแหล่งเงินทุน เกษตรกรขาดความรู้การใช้งานและบำรุงรักษา ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ความสำคัญของพลังงานทดแทน คือ ลดต้นทุน ลดมลพิษ ลดภาวะโลกร้อน เพิ่มรายได้ 2) หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง คือ หลักธรรมทิฎฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 ได้แก่ อุฏฐานสัมปทา “ขยันหา” ขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาอาชีพ ขยันหารายได้เพิ่มเติม พัฒนาอาชีพ หาความรู้ใหม่ๆ อารักขสัมปทา“ขยันเก็บ” รู้จักเก็บออม เก็บรักษาทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบ วางแผนการใช้เงิน กัลยาณมิตตตา “เลือกคบ” เลือกคบคนดี มีศีลธรรม มีอาชีพสุจริต เลือกคบคนมีความรู้ มีน้ำใจ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เลือกเสพสื่อข้อมูลทางออนไลน์ การคบมิตรทางออนไลน์ สมชีวิตา “เลือกใช้” ใช้ชีวิตตามหลักมัตตัญญุตา รู้จักพอประมาณ ดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาพลังงานทดแทนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงโดยพุทธสันติวิธี สรุปได้ดังนี้ (1) กระบวนการขั้นตอนการนำพลังงานทดแทนมาใช้ ได้แก่ อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ การใช้พลังงานทดแทนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ วางแผนการบริหารจัดการตามทฤษฎี PDCA จัดทำคู่มือการใช้การดูแลรักษา ซ่อมแซมอุปกรณ์ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นช่วยเหลือกัน (2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาพลังงานทดแทน ได้แก่ สนับสนุนอุปกรณ์พลังงานทดแทนที่มีคุณภาพดี ราคาไม่แพง ทำให้เห็นข้อแตกต่างการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ จากการใช้พลังงานทดแทน ภาครัฐมีมาตรการสนับสนุนที่ชัดเจน คนในชุมชนมีฉันทะและแรงบันดาลใจลงมือทำ (3) ภาครัฐควรมีนโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ดังนี้ ประชาสัมพันธ์ให้รู้ถึงประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียของการใช้พลังงานทดแทนแสงอาทิตย์โซล่าเซลล์ สนับสนุนเงินทุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์การใช้พลังงานทดแทน การรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ</p>
ชัยฤทธิ์ ขวัญสอน
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280636
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
รูปแบบการฝึกอบรมวิทยากรบ่มเพาะผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาตามสาขาวิชาชีพโดยวิธีผสมผสาน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285344
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และ ประเมินความต้องการในการพัฒนารูปแบบฝึกอบรมวิทยากรบ่มเพาะผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาตามสาขาอาชีพ 2) เพื่อพัฒนา และ ประเมินความเหมาะสมรูปแบบการฝึกอบรมวิทยากรการบ่มเพาะผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาตามสาขาวิชาชีพ โดยวิธีผสมผสาน วิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม และประเภทวิชาคหกรรม จำนวน 252 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถามที่มีต่อรูปแบบฝึกอบรมวิทยากรบ่มเพาะผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาตามสาขาอาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และ การประเมินความต้องการในการพัฒนารูปแบบฝึกอบรมวิทยากรบ่มเพาะผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาตามสาขาอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ทำการสอนสาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล และนักศึกษาในสาขาวิชาชีพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เมื่อสำเร็จการศึกษาจะศึกษาต่อทำให้ทราบถึงข้อมูลขั้นพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2) ผลการพัฒนา และ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกอบรมวิทยากรการบ่มเพาะผู้ประกอบการ ให้กับนักศึกษาตามสาขาวิชาชีพ โดยวิธีผสมผสาน พบว่า คุณลักษณะด้านการวางแผนจัดตั้งธุรกิจ เป็นคุณลักษณะที่ต้องมีการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นลำดับแรก ซึ่งผู้วิจัยได้ประยุกต์รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน CIPP Model มาเป็นกรอบในการพัฒนา และประเมินความเหมาะสมรูปแบบการฝึกอบรมวิทยากรการบ่มเพาะผู้ประกอบการให้กับนักศึกษาตามสาขาวิชาชีพ โดยวิธีผสมผสาน ที่ถูกต้อง และสมบูรณ์ ทำให้ได้รูปแบบการฝึกอบรมที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ</p>
ธีรวัจน์ วงศ์สวัสดิ์ , ไพโรจน์ สถิรยากร , พิสิฐ เมธาภัทร
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285344
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในการสร้างคุณค่าทางสังคม ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285825
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของ ตำบลสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริม อนุรักษ์ และเผยแผ่ทุนทางวัฒนธรรมของสังคม ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และ 3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรม ตำบลสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน มีวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พบว่า 1. ทุนทางวัฒนธรรมของ ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ฮีตสิบสอง พิธีกรรม ความเชื่อตำนานพื้นบ้านและทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้อง ได้แก่ หัตถกรรม การเกษตร 2.แนวทางการส่งเสริม อนุรักษ์ และเผยแผ่ทุนทางวัฒนธรรมของสังคม ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ 1) เป้าหมาย ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลด้านสังคมและวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรม 2) กระบวนการ ได้แก่ การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ และการค้นคว้าวิจัย และ 3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ มีฐานข้อมูล การมีส่วนร่วมของชุมชน และมีผลิตภัณฑ์ และ 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรม โดยการเชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรมกับการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งนำข้าวอินทรีย์ที่ผลิตจากท้องถิ่นของตนเองมาเป็นวัตถุดิบในการแปรรูป และมีกระบวนการผลิตที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตปัจจุบัน</p>
นิศานาจ โสภาพล , วิภา มะลา
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285825
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
สันตินวัตกรรมการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280834
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น ในการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ฟอร์มส อินดัสตรี้ จำกัด 2) เพื่อพัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 27 คน และทดลองกับกลุ่มผู้นำ บริษัท ยูนิเวอร์แซล ฟอร์มส อินดัสตรี้ จำกัด จำนวน 12 คน ประเมินผลเชิงคุณภาพด้วยอุปนัยวิธี และเชิงปริมาณด้วยสถิติ t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของบริบทการทำงานที่ส่งผลต่อความเครียดจนอาจเกิดอาการหมดไฟของผู้นำองค์กร ได้แก่ การบริหารคนจำนวนมาก การดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การเผชิญการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน และการเผชิญความเครียดในการทำงาน ผู้นำจึงมีความต้องการจำเป็น ได้แก่ ตระหนักรู้ในตนเอง ทัศนคติเชิงบวก มีทีมงานสนับสนุน สื่อสารเชิงบวก ดูแลสุขภาพกายใจให้แข็งแรง และมีความยืดหยุ่น เพื่อฟื้นคืนพลังในการทำงานได้ 2) การสร้างสันตินวัตกรรมการพัฒนาการฟื้นคืนพลังในการทำงานสำหรับผู้นำ ด้วยการบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่กับหลักพุทธสันติวิธี ได้หลักสูตร Power Bank Leader ประกอบด้วย พลังสติ พลังคิด พลังใจ พลังกาย และส่งพลัง ผลการนำไปใช้ พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยการฟื้นคืนพลังในการทำงาน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านพลังคิด พลังใจ และพลังกาย ค่า t-test = 4.23 ที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพโดยผู้เข้าอบรมสะท้อนตนเอง องค์ความรู้จากงานวิจัย คือ 5 Powers Model</p>
ฐิตา ภัทรวรวิศิษฏ์, ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280834
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
กระบวนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา โดยพุทธสันติวิธี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285494
<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา อุปสรรค การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา และแนวคิด หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามนวัตกรรมร่วมสมัย 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา และ 3. เพื่อนำเสนอกระบวนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาหลายด้าน เช่น พระธรรมทูตไม่เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ขาดทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษาที่ทันสมัย รวมถึงการให้ความรู้ที่ไม่สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน มีข้อจำกัดด้านกฎหมายและวัฒนธรรมต่างชาติ แนวทางแก้ไขคือการปรับรูปแบบการเผยแผ่ให้หลากหลาย เช่น จัดกิจกรรมร่วมกับวัดนานาชาติ จัดทำหนังสือธรรมะ วิทยุ บรรยายธรรมออนไลน์ และกลุ่มปฏิบัติธรรม รวมถึงการดำเนินโครงการตามนโยบาย “ตกปลานอกบ้าน ประสานสิบทิศ ผูกมิตรทั่วหล้า บริหารปัญญา สาริกาป้อนเหยื่อ” เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในระดับสากล 2. <strong>หลักโอวาทปาฏิโมกข์</strong> เป็นหัวใจสำคัญที่พระธรรมทูตยึดถือ ได้แก่ <strong>หลักการ </strong><strong>3 </strong>: ไม่ทำบาป ทำความดี ทำใจให้บริสุทธิ์ <strong>อุดมการณ์ </strong><strong>4 </strong><strong>:</strong> ความอดทน อดกลั้น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความสงบทั้งกาย วาจา ใจ และนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด <strong>วิธีการ </strong><strong>6 </strong>: ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส เคารพกฎระเบียบ ขนบธรรมเนียม รู้จักประมาณในการใช้สิ่งต่าง ๆ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และฝึกจิตใจให้สงบ มีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ช่วยให้พระธรรมทูตบรรลุเป้าหมายพระพุทธศาสนา 3. กระบวนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาโดยพุทธสันติวิธี ได้โมเดลในการนำเสนอ คือ RPCCC MODEL ประกอบด้วย 1) Receiver วิเคราะห์ผู้รับสาร 2) Planning วางแผนการเผยแผ่ 3) Concept วางกรอบแนวคิด 4) Content เนื้อหาสาระการเผยแผ่ 5) Communication การสื่อสารเพื่อการเผยแผ่ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ องค์กรสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา บุคคลทั่วไป องค์กร ชุมชน สังคม ตลอดถึงประเทศชาติ</p>
พระวิเทศวิสุทธิคุณ สมัคร สมคฺโค, พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285494
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286556
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3. เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จำนวน 463 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เครื่องมือวิจัยของงานเชิงคุณภาพในระยะที่ 1 คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ใช้กับผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่านเพื่อยืนยันความถูกต้องเป็นไปได้ของตัวแปรและองค์ประกอบที่ได้จากการวิจัยเอกสาร ส่วนระยะที่ 3 เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบประเมินที่ใช้กับผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน เพื่อยีนยันผลการพัฒนาข้อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลฯ ส่วนเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณสำหรับงานระยะที่ 2 คือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโมเดลสมการโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลฯ มี 4 ปัจจัย 2. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลฯ ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย <br />ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจ โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าสถิติ Chi-square = 86.92, df= 84, p = 0.39, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, RMSEA= 0.01, RMR= 0.01) และ 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาฯ สามารถสรุปประเด็นได้ 4 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการสื่อสาร ด้านการเสริมสร้างแรงจูงใจ และด้านวัฒนธรรมองค์กร สามารถนำมากำหหนดเป็นนโยบายส่งเสริมพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
พระศักดา ข้อยุ่น , วราภรณ์ ไทยมา , ภัทราวดี มากมี
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286556
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนรักษ์สันติสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/282366
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็นต้องการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน 2) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน 3) เพื่อพัฒนาและกระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนรักษ์สันติสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของการสื่อสารของบุคลากร ประกอบด้วย 1) ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ 2) ปัญหาด้านการมีรายได้น้อยไม่มีความยั่งยืน 3) ปัญหาด้านไม่มีความรู้ความเข้าใจด้านการตลาดและสร้างแบรนด์สินค้า 4) ปัญหาด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นมืออาชีพและการทำงานร่วมกัน 5) ปัญหาด้านการสื่อสารออนไลน์สร้างการรับรู้สินค้าให้เกิดการรับรู้ 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1) อปริหานิยธรรม 7 เป็นธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ประกอบด้วย 1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2) พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจกรรม 3) ไม่บัญญัติสิ่งใหม่ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ทำร่วมกัน 4) เคารพนับถือกัน ให้เกียรติกัน 5) เคารพให้เกียรติสตรีเพศ 6) เคารพในสิ่งที่ควรเคารพรวมถึงเคารพกติกา 7) สืบสาน รักษา ต่อยอดสิ่งที่ดีอยู่แล้ว และใช้หลักภาวนา 4 เป็นการวัดผลประเมินผล ประกอบด้วย ด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตตภาพ และด้านปัญญาภาพ 3) ขั้นตอนกระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนรักษ์สันติสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี พบว่าขั้นตอนในการพัฒนา 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 รวมกลุ่มก่อตั้ง ขั้นที่ 2 รวมพลังบริหาร ขั้นที่ 3 ประสานเครือข่าย ขั้นที่ 4 ขยายการตลาด ขั้นที่ 5 ฉลาดประชาสัมพันธ์ ขั้นที่ 6 นำองค์กรยั่งยืนวิสาหกิจชุมชน โดยมุ่งการพัฒนา 6 ด้านประกอบด้วย ด้านพัฒนาบุคลากร ด้านการพัฒนาบริหารกลุ่ม ด้านการพัฒนาเงินและบัญชี ด้านการพัฒนาการผลิต ด้านการพัฒนาการตลาด และ ด้านการพัฒนาสื่อสารประชาสัมพันธ์</p>
สุพจน์ กุหลาบกุลี
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/282366
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูด้วยการบูรณาการกับกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285849
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะทางดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูด้วยการบูรณาการกับกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู ออกแบบการวิจัยและพัฒนาเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูล ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ และระยะที่ 4 การปรับปรุงรูปแบบ ตัวอย่างงานวิจัย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 53 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความจำเป็น แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ แบบทดสอบสมรรถนะดิจิทัลและแบบประเมินความพึงพอใจ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะทางดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู มีผลการประเมินการศึกษาสภาพปัจจุบัน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42) และผลการประเมินความจำเป็น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46) โดยมีผลการประเมินดัชนีความจำเป็น ซึ่งลำดับที่ 1 คือ ความสามารถในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล มีค่า PNI<sub>modified</sub> = .0208 ลำดับที่ 2 คือ ความสามารถในการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีค่า PNI<sub>modified</sub> = .0115 และลำดับที่ 3 คือ การแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มีค่า PNI<sub>modified</sub> = .0115 2) ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูด้วยการบูรณาการกับกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) การนำรูปแบบไปใช้ 4) บริบทการเรียนรู้ และ 5) การประเมินผล โดยใช้หลักการบูรณาการองค์ความรู้ที่สำคัญ 3 เรื่อง ใช้ชื่อ “CBC Model” ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้แบบเน้นสมรรถนะ (Competency Based Learning: C) กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning: B) และแนวคิดการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructionism: C) ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) 3) ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู มีผลการประเมินผลสัมฤทธิ์จาการทดสอบการพัฒนาทักษะสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาครู พบว่าหลังการใช้รูปแบบนักศึกษาครูมีคะแนนประเมินสมรรถนะดิจิทัลสูงขึ้นจากคะแนนก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73)</p>
พิทักษ์ สุรินทร์วัฒนกุล , ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์ , มนตรี แย้มกสิกร
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285849
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
สันตินวัตกรรมการส่งเสริม “เป้าหมายการพัฒนาด้านใน” ผ่านแพลตฟอร์ม “อินเนอร์ คอร์เนอร์”
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280840
<p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษา บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริม “เป้าหมายการพัฒนาด้านใน” ผ่านแพลตฟอร์ม “อินเนอร์ คอร์เนอร์” และ 2) เพื่อพัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการส่งเสริม “เป้าหมายการพัฒนาด้านใน” ผ่านแพลตฟอร์ม “อินเนอร์ คอร์เนอร์” ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 34 ท่าน โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม “อินเนอร์ คอร์เนอร์” จำนวน 20 ท่าน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการเอื้ออำนวยการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาด้านใน จำนวน 4 ท่าน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านเป้าหมายการพัฒนาด้านใน จำนวน 3 ท่าน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านแพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวน 3 ท่าน และ 5) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธธรรมและพุทธสันติวิธี จำนวน 4 ท่าน รวมถึงการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อรับรองเครื่องมือและหลักสูตร เพื่อการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 16 ท่าน การประเมินผลก่อนและหลังการฝึกอบรมด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยอุปนัยวิธี จากข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มเฉพาะ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิก “อินเนอร์ คอร์เนอร์” ขาดความเข้าใจและความต่อเนื่องในการเรียนรู้เกี่ยวกับ “เป้าหมายการพัฒนาด้านใน” 2) สันตินวัตกรรมการส่งเสริม “เป้าหมายการพัฒนาด้านใน” ผ่านแพลตฟอร์ม “อินเนอร์ คอร์เนอร์”ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ (1) I-Peace Metaphor คือ ชุดความรู้แบบอุปมาอุปไมยเพื่อความเข้าใจในการพัฒนาด้านใน และ (2) ITTI Learning Guideline คือ กระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สู่ความสำเร็จ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) ริเริ่มลงมือทำ (Initiate), (2) สัมผัสปัจจุบัน (Touch the Presence), (3) ปรับใจให้เท่าทัน (Tune the Mind) และ (4) ร่วมกันบูรณาการ (Integrate) โดยที่การปรับใจให้เท่าทัน (Tune the Mind) ประกอบด้วยชุดคำถามที่เรียกโดยย่อว่า Screen, Stop, Start และ Stay</p>
ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280840
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีในการเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285664
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ชั้นปีที่ 3 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 2 หมู่เรียน จำนวน 94 คน โดยให้ 1 หมู่เรียนเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 47 คน และ 1 หมู่เรียนเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็ก 2) คู่มือการใช้รูปแบบการสอนเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็ก 3) แผนการสอน 4) แบบทดสอบความสามารถก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็ก ผู้เรียนต้องการการสอนที่เน้นการฝึกปฏิบัติการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในวรรณกรรมสำหรับเด็ก ต้องการให้ผู้สอนสร้าง จัดหา พัฒนา ปรับปรุงสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ให้ผู้สอนให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาผลงาน ด้านสภาพปัญหาในการสอน ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการอ่านน้อย ขาดแรงจูงใจในการเขียน และปัญหาด้านการใช้ภาษาเขียน แนวทางในการพัฒนาการเขียน พบการเสนอแนวทางคือ ให้ผู้เรียนได้อ่านหนังสือที่หลากหลาย ฝึกสร้างสรรค์ผลงานเขียนด้วยตนเอง มีการประเมินผลการเขียนโดยเพื่อนและผู้สอน 2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตุประสงค์ 3) เนื้อหาการเรียนการสอน 4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ เชื่อมโยงความรู้เดิม เชื่อมโยงตัวบท ร่างงานเขียน ประเมินการเขียน เรียบเรียงงานเขียนให้สมบูรณ์ 5) การวัดและประเมินผล 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษากลุ่มทดลองมีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
ภัทรขวัญ ทองเถาว์ , นิศานาจ โสภาพล , ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285664
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
วาทกรรมความงามแง่จริยวัตรของสตรีในวรรณกรรมอีสานใหม่
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286606
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์และจัดรูปแบบวาทกรรม “ความงามแง่จริยวัตรของสตรี” ในวรรณกรรมอีสานใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์วาทกรรม “ความงามแง่จริยวัตรของสตรี” ในวรรณกรรมอีสานใหม่ตามมุมมองวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทการวิจัยเชิงเอกสารและใช้การวิจัยภาคสนามเป็นตัวเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นวรรณกรรมอีสานใหม่ 57 เรื่อง และสตรีหรือปราชญ์ท้องถิ่นยุคอีสานใหม่ 20 คน โดยกำหนดขนาดแบบเกณฑ์การคัดเข้า-คัดออก เครื่องมือ ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบไร้โครงสร้างนำมาสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาโดยเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบวาทกรรมความงามแง่จริยวัตรมี 8 รูปแบบ ได้แก่ 1.1) การเป็นสตรีผู้มีปิยวาจา 1.2) การเป็นสตรีแม่ศรีเรือน 1.3) การเป็นสตรีผู้ดูแลสุขภาพและความงาม 1.4) การเป็นสตรีผู้มีน้ำใจต่อญาติมิตร 1.5) การเป็นสตรีผู้มีกิริยามารยาทเรียบร้อย 1.6) การเป็นสตรีผู้มีศีลธรรม 1.7) การเป็นสตรีผู้มีความกตัญญูต่อบุพการี และ 1.8) การเป็นสตรีผู้ซื่อสัตย์ 2) การศึกษาตามมุมมองวาทกรรมวิเคราะห์ เชิงวิพากษ์มีกลวิธีทางภาษานำเสนออุดมการณ์ “ความงามแง่จริยวัตรของสตรี” 3 กลวิธี ได้แก่ 2.1) วาทกรรมดรรชนีบ่งชี้อัตลักษณ์เพศสภาพ 2.2) วาทกรรมเพศสภาพกับลีลาการใช้ภาษา และ 2.3) การประกอบสร้างอัตลักษณ์กับอุดมการณ์เพศสภาพ สื่อให้เห็นอุดมการณ์หลักของ “สตรีอีสานใหม่” คือ “สตรีเก่งและดีงาม” และอุดมการณ์รอง คือ “เมียดีพิมพ์นิยม” และนำไปสู่วิถีปฏิบัติทางสังคมของสตรีในยุคอีสานใหม่ โดยปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทชีวิตของตนเอง ซึ่งอุดมการณ์ทั้งหมดเป็นวิถีปฏิบัติที่ประดิษฐ์สร้างคู่มือชีวิตเสริมความมั่นใจให้แก่สตรีอีสานยุคใหม่ได้</p>
ศาริศา สุขคง
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286606
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการความจำเป็นต่อแนวทางการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อายุ 3-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/282723
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาต่อแนวทางการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อายุ 3-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นต่อแนวทางการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อายุ 3-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาข้อจำกัดการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อายุ 3-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วยครู และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนรวม 387 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการหาความถี่ หาร้อยละ หาค่าเฉลี่ย หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็นต่อแนวทางการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อายุ 3-4 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนทั้ง 4 ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 1.78) 2) ผลจากการศึกษาความต้องการจำเป็นต่อแนวทางการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อายุ 3-4 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนทั้ง 4 ด้านความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่สุดลำดับแรกคือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา (PNI<sub>Modified </sub>= 2.54) 3) แนวทางการพัฒนาข้อจำกัดการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อายุ 3-4 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตั้งแต่พบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้า และเทคนิคการสอนแบบวิเคราะห์งานในการสอนทักษะการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน</p>
วรรณอาภา จารุประพาฬ, ชนิดา มิตรานันท์ , ศิริพันธ์ ศรีวันยงค์
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/282723
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
บูรณาการการป้องกันปาณาติบาตด้วยพุทธกระบวนทัศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/284769
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับปาณาติบาต 2) เพื่อศึกษาพุทธกระบวนทัศน์ที่เกี่ยวกับการป้องกันปาณาติบาต 3) เพื่อบูรณาการการป้องกันปาณาติบาตด้วยพุทธกระบวนทัศน์ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางบูรณาการการป้องกันปาณาติบาตด้วยพุทธกระบวนทัศน์ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร เป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เอกสารทางวิชาการ งานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล 15 รูป/คน ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการพุทธศาสนาฝ่ายพระภิกษุ จำนวน 10 รูป และกลุ่มนักวิชาการพุทธศาสนาฝ่ายฆราวาส จำนวน 5 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำเสนอผลการวิจัย ดังนี้</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การทำลายชีวิตสัตว์ เกิดจากอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความลุ่มหลง ครอบงำจิตใจให้มีสภาวะใฝ่ต่ำ โหดเหี้ยม ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมล้างผลาญทำลายชีวิตกัน ปาณาติบาตขัดต่อหลักศีลธรรมและความดีงามเพราะเป็นบ่อนทำลายความสุข ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายร้ายแรงต่อกัน สร้างความสะดุ้งกลัว กระทบต่อการอยู่ร่วมกันโดยปกติของสรรพสัตว์ 2) พุทธกระบวนทัศน์ที่เหมาะสมกับการป้องกันปาณาติบาตมี 3 ลักษณะ คือ 1. การรักษาศีลข้องดเว้นจากการทำลายชีวิตเพื่อควบคุมพฤติกรรมการเบียดเบียน 2. การบ่มเพาะคุณธรรมเพื่อข่มความคิดในทางเบียดเบียน 3. การพัฒนาปัญญาให้รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดีเพื่องดเว้นจากการเบียดเบียนได้เด็ดขาด 3) บูรณาการการป้องกันปาณาติบาตด้วยพุทธกระบวนทัศน์ ได้แก่ 1. การฝึกอบรมศีลเพื่อมุ่งพัฒนาบุคลิกภาพให้เรียบร้อยสวยงาม หาเลี้ยงชีวิตด้วยความชอบธรรม เป็นการเสริมสร้างพฤติกรรมตนเองให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน 2. การฝึกอบรมสมาธิเพื่อมุ่งพัฒนาสุขภาพจิตให้สะอาดสดใส เข้มแข็งมั่นคง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เป็นการเสริมสร้างความคิดให้ตั้งอยู่ในอาการที่ไม่เบียดเบียน 3. การฝึกอบรมปัญญาเพื่อมุ่งพัฒนาทั้งด้านบุคลิกภาพและสุขภาพจิตให้มีความสมดุลควบคู่กัน สามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดี รู้คุณรู้โทษ เป็นการเสริมสร้างชีวิตตนเองให้เป็นอิสระ ปราศจากความทุกข์ ความเดือดร้อน และปลอดภัยจากปัญหาในชีวิตได้อย่างมั่นคง 4) แนวทางบูรณาการการป้องกันปาณาติบาตด้วยพุทธกระบวนทัศน์ คือ CSS Model C = Control ควบคุมพฤติกรรม S = Suppress ระงับความคิด S = Stop หยุดยั้งได้ทั้งความคิดและพฤติกรรมการเบียดเบียน องค์ความรู้นี้มุ่งพัฒนาชีวิตให้มีปัญญารู้เห็นถูกต้อง เกิดความเรียบร้อยทางกาย วาจา และอาชีพ มีจิตใจที่ดีงาม ก่อให้เกิดความผาสุก ไม่เดือดร้อนทั้งภายในและภายนอก อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข</p>
ไกรราช แก้วเกตุพงษ์, ประยงค์ แสนบุราณ
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/284769
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286161
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 13 แหล่ง 2) สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 คน 3) ยืนยันองค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสารและจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กต้นแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มี 7 องค์ประกอบได้แก่ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการเรียนรู้ โดยครอบคลุมการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจของโรงเรียน การมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และการเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับปรัชญาของโรงเรียน 2) การบริหารจัดการหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางจัดหลักสูตรให้มีความหลากหลายเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน กำหนดเป้าหมายงานวิชาการให้ชัดเจนและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร 3) การเสริมสร้างบรรยากาศและสนับสนุนทรัพยากรการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมตลอดจนบริบทต่างๆ เพื่อเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน 4) การพัฒนาบุคลากร พัฒนาตนเองและพัฒนาครู บุคลากร 5) การนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา 6) การพัฒนานักเรียน พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน 7) การมีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ร่วมมือกันปฏิบัติงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน จากการวิจัยดังกล่าวจะนำไปสู่การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กเพื่อให้มีภาวะผู้นำทางวิชาการที่ดีขึ้นและพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป</p>
ภัทรมาศ ภะวะศิริกุล , วาโร เพ็งสวัสดิ์ , อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286161
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางการเงินโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ตามบริบทจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285717
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางการเงินโดยใช้ทฤษฎี การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ตามบริบทจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางการเงินโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ ตามบริบทจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนเรียนและหลังเรียน การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ใช้แบบแผนการทดลองแบบ one-group pretest posttest design ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Forward Design กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หน่วยการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางการเงิน 2) แบบวัดความฉลาดรู้ทางการเงิน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. หน่วยการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางการเงินโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ตามบริบทจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหาสาระ 5) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 7) การวัดผลและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการใช้ หน่วยการเรียนรู้ความฉลาดรู้ทางการเงินโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ตามบริบทจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่านักเรียนมีความฉลาดรู้ทางการเงิน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ดังนี้ 1) ความรู้ ความเข้าใจทางการเงิน หลังเรียนเพิ่มขึ้น 29.39 % แปลผล ดีเยี่ยม 2) พฤติกรรมทางการเงิน หลังเรียนเพิ่มขึ้น 39.36 % แปลผลดีเยี่ยม และ 3) เจตคติทางการเงิน หลังเรียนเพิ่มขึ้น 30.53 % แปลผล ดีมาก และความฉลาดรู้ทางการเงินค่า Effect size มีขนาดของผลความแตกต่าง ระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียนร้อยละ 68.30</p>
เจษรินทร์ วัจนสุนทร , จุฬามาศ จันทร์ศรีสุคต , ชาติชาย ม่วงปฐม
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285717
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
กระบวนการเสริมสร้างพลเมืองตื่นรู้ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยพุทธสันติวิธีของเทศบาลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/278162
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลเมืองตื่นรู้ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองตำบลป่าคลอก และแนวคิด ทฤษฎีการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับการเสริมสร้างความตื่นรู้ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการเสริมสร้างพลเมืองตื่นรู้ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3) เพื่อสร้างและนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างพลเมืองตื่นรู้ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยพุทธสันติวิธีของเทศบาลตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยตามบันได 9 ขั้น และอริยสัจจ์โมเดล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีจำนวน 30 รูป/คน โดยใช้การวิเคราะห์ในลักษณะพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลตำบลป่าคลอก มีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค แยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ ด้านจุดแข็ง มีการรวมกลุ่มคนที่มีจิตอาสาในการทำงานเพื่อสังคมและได้รับการยอมรับ ผู้นำเทศบาลให้ความสำคัญกับชุมชนในการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมและมุ่งสู่ความเข้มแข็งของผู้สูงอายุในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่น มีสถาบันทางศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจและใช้เป็นแกนหลักในการพัฒนาการและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเทศบาล ด้านจุดอ่อนพบว่า ขาดแกนนำคนรุ่นใหม่ในการทำงานเพื่อสังคมมีน้อยลง การทำงานร่วมกันของผู้นำในตำบลไม่มีความเป็นเอกภาพเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ความผูกพันธ์เหนียวแน่นระหว่างเครือญาติและคนในสังคมน้อยลง ประชาชนขาดสำนึกรักบ้านเกิดและขาดความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ด้านโอกาส พบว่า รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการศึกษา และการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน พระราชบัญญัติ ระเบียบ กฎหมาย สนับสนุนให้มีการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ด้านอุปสรรค พบว่า ระเบียบ กฎหมายที่บังคับใช้ไม่ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเป็นข้อบังคับที่ถูกกำหนดจากส่วนกลาง ซึ่งบางครั้งไม่สามารถนำมาปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ ประชากรแฝงมีที่มาจากหลายพื้นที่ทำให้มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีการดำรงชีวิต อาจส่งผลต่อการพัฒนา การดำรงชีวิตต่างคนต่างอยู่ขาดระเบียบ และจิตสำนึกในความเป็นเจ้าของท้องถิ่น ส่วนแนวคิดเพื่อการเสริมสร้างพลเมืองตื่นรู้นั้น มี 5 รูปแบบ ดังนี้ 1) การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2) การจัดการเรียนรู้แบบลงมือทำ 3) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) การจัดการเรียนรู้ที่ไม่ชี้นำความคิดเห็น 5) การจัดการเรียนรู้ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทางการเมือง 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการเสริมสร้างพลเมืองตื่นรู้ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 อันเป็นหลักธรรมสำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นหลักการสงเคราะห์ ซึ่งหมายถึงการช่วยเหลือกัน ยึดเหนี่ยวจิตใจกันไว้ มี 4 ประการ ได้แก่ 1) ทาน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน 2) ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำที่สุภาพ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ รู้จักพูดให้เกิดความเข้าใจดี สมานสามัคคี เกิดไมตรี 3) อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา 4) สมานัตตตา การทำอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และหลักปัญญา 3 ประกอบด้วย สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง จินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากกาอบรม 3) กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างพลเมืองตื่นรู้โดยพุทธสันติวิธีของเทศบาลตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตด้วยรูปแบบ “PAKLOK MODEL” ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ ดังนี้ P = Participation มุ่งการมีส่วนร่วม A = Action มุ่งลงมือทำและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม K = Knowledge มีมโนทัศน์การเรียนรู้ที่รอบด้าน L = learning มีการเรียนรู้ 5 รูปแบบ O = output มีทักษะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์เช่นเป็นผู้มีจิตสาธารณะและจิตอาสา K = Knowledge by Buddhist peaceful means ความรู้บนฐานพุทธสันติวิธี คือหลักสังคหวัตถุ 4 และหลักปัญญา 3</p>
กิติภูมิสมชาด มัทธุจัด, อุทัย สติมั่น
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/278162
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
กระบวนการของกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อการเรียนรู้สำหรับพัฒนาชีวิต
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/284775
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้สำหรับพัฒนาชีวิต 2) เพื่อศึกษากระบวนการของกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อบูรณาการกระบวนการของกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อการเรียนรู้สำหรับพัฒนาชีวิต งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร คือการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการวิจัยภาคสนาม คือการสัมภาษณ์เชิงลึก เจาะจงผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน ประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการพระพุทธศาสนาฝ่ายพระภิกษุ กลุ่มนักวิชาการพระพุทธศาสนาฝ่ายคฤหัสถ์ และกลุ่มนักปราชญ์ชาวบ้าน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำเสนอผลการวิจัย ดังนี้</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้สำหรับพัฒนาชีวิตทั่วไป คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิตใจให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานของบุคคลให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขและปลอดภัยจากปัญหาทางสังคม ส่วนกระบวนการเรียนรู้สำหรับพัฒนาชีวิตในพระพุทธศาสนา คือ การจัดกระบวนการฝึกอบรมพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และปัญญา อย่างครอบคลุมสมดุลกันทั้ง 3 ด้าน ซึ่งส่งผลให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบอย่างยั่งยืน 2) กระบวนการของกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ กระบวนการขับเคลื่อนชีวิตให้เป็นไปตามเจตจำนง อันมีกิเลสเป็นพื้นฐานบีบคั้นสภาวะจิตใจให้สร้างสรรปันแต่งพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา ส่งผลให้เกิดกรรมเป็นได้ทั้งกรรมดีกรรมชั่ว กรรมเกิดขึ้นทางใจเป็นอันดับแรก แล้วจึงส่งผลไปสู่การกระทำกรรมทางกายและทางวาจาในภายหลัง กรรมจะถูกสะสมไว้ในภวังคจิตรอโอกาสให้ผลแก่เจ้าของกรรม การตัดสินว่าเป็นกรรมดีหรือชั่วต้องดูที่ผลของการกระทำว่ามีผลกระทบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมอย่างไร ซึ่งหลักไตรสิกขาเป็นหลักธรรมเพื่อปฏิบัติสำหรับปรับปรุงกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม 3) บูรณาการกระบวนการของกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อการเรียนรู้สำหรับพัฒนาชีวิตได้ 3 ด้าน คือ 1. ศีลทำให้กายกรรมและวจีกรรมสุจริต ปิดกั้นบาปอกุศลทั้งปวง 2. สมาธิทำให้มโนกรรมสะอาด สว่าง สงบ ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรม และ 3. ปัญญาทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รู้ดีชั่ว รู้สิ่งที่ควรไม่ควร รู้วิธีแก้ไขปัญหาชีวิตและทันต่อโลก ทำให้มีสมรรถภาพทางกาย ทางจิต และปัญญา ที่สมบูรณ์ยิ่งยวด ดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้ด้วยดีมีความสุข องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ “IER Model” I มาจาก Improve หมายถึง ปรับปรุงพฤติกรรมด้วยการฝึกอบรมศีล E มาจาก Efford หมายถึง เพียรสร้างกรรมดีด้วยฝึกอบรมจิตให้เกิดคุณธรรม และ W มาจาก Wisdom หมายถึง ปัญญาชี้นำพฤติกรรม</p>
พระอภิชาติ อภิญาโณ แก้วเกตุพงษ์ , พระครูวุฒิธรรมสาร
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/284775
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
The Art of Translucent Ceramic Jewelry: Exploring Bone China and Natural Imprint Technique
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286183
<p>This research explores the development of translucent ceramic jewelry using Bone China clay and imprint techniques with natural materials such as rice, rice husks, and rice bags. The aim is to enhance the design and aesthetic qualities of ceramic jewelry. The study investigates the properties of Bone China, known for its translucency, lightweight nature, and durability, making it suitable for innovative jewelry design. The research has three main objectives: 1) to study the properties of translucent ceramics 2) to create translucent ceramic jewelry inspired by the Lamphu flower, and 3) to present a craft design concept for creating translucent ceramic jewelry collections based on hand making process. The scope of this study focuses on the Bang Lamphu and Khao San Road areas, rich in cultural heritage. The research culminates in a collection titled "Recall Lumphu," which features four jewelry pieces: a necklace, earrings, a ring, and a brooch. The results confirm that the combination of Bone China with natural materials can produce distinct textures and visual effects, effectively capturing and reflecting light.</p> <p>The research results were found as follows; 1. the properties of translucent ceramics, specifically Bone China clay, which can be used to create unique jewelry. By combining clay with other materials like rice, rice husks, and rice bags, the researchers can develop distinct textures and visual effects. 2. The Lamphu flower-inspired translucent ceramic jewelry showcases the potential for expressing cultural symbols and personal expression. The research also highlights the role of jewelry in storytelling and cultural appreciation in urban landscapes. 3. Presenting a craft design concept for translucent ceramic jewelry collections based on hand-making processes, promoting artistic expression. The research also highlights the cultural narratives embedded in the designs, encouraging creativity and appreciation for local heritage. The study employed a mixed-methods approach, including literature review and field data collection, to explore community life in Bang Lamphu and Khao San, Thailand. Using "The 7 Community Tools," the researcher examined how traditional craftsmanship integrates into contemporary jewelry design, appealing to both cultural preservationists and modern art enthusiasts.</p>
Thaniya Rawichawakorn, Sone Simatrang, Jirawat Vonphantuset, Eakachat Joneurairatana
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286183
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
กระบวนการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของวัดใหม่ (ยายแป้น) ภายใต้โครงการ WAT Next
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281020
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อเพื่อศึกษาสภาพ บริบทของ WAT Next ที่มีต่อวัดใหม่ (ยายแป้น) 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาวัดในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการของ WAT Next ต่อการเสริมสร้างวัดและชุมชนสันติสุข เพื่อนำเสนอกระบวนการในการเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของวัดใหม่ (ยายแป้น) การดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน และได้ทำการสังเกตการณ์ด้วยการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ที่ทางกลุ่ม WAT Next ได้ทำการจัดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักพุทธสันติวิธี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่ม WAT next สามารถดำเนินกระบวนการเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายของวัด 3 ประการ คือ 1) วัดปัญญา (W: Wisdom) ผ่านการจัดโครงการที่ช่วยเสริมสร้างปัญญาให้คนในชุมชน เช่น โครงการ สติริมน้ำ อารามตื่นรู้ การส่งเสริมให้ชาวชุมชนรักษาสิ่งแวดล้อม และ การให้ความรู้ทางกฎหมายขั้นพื้นฐาน 2) วัดตื่นรู้ (A: Awareness) โดยมีโครงการ ปลูกสติ สร้างสุข และโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 3) วัดมุ่งสู่ความจริง (T: Truth) โดยการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนของวัดใหม่ (ยายแป้น) รวมถึงการจัดโครงการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยจิตอาสา เพื่อขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชน และโครงการการสร้างภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ทำให้โครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่ตอบโจทย์ ต่อเป้าหมายในการทำวัด ให้เป็นวัดที่มุ่งสู่ความจริงของชีวิต จนนำไปสู่การเสริมสร้างชุมชนสันติสุขอย่างแท้จริง</p>
สามเณรรัชชานนท์ โพธิ์สังข์
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281020
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
นวัตกรรมการบริหารวิชาการตามแนวคิดการบริหารนวัตกรรมในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285732
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรมการบริหารวิชาการตามแนวคิดการบริหารนวัตกรรมในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของนวัตกรรมการบริหารวิชาการตามแนวคิดการบริหารนวัตกรรมในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรม<br />การบริหารวิชาการตามแนวคิดการบริหารนวัตกรรมในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา และ 4) เพื่อตรวจสอบและประเมินความเป็นไปได้ของนวัตกรรมการบริหารวิชาการตามแนวคิดการบริหารนวัตกรรมในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบการวิจัยแบบผสมวิธีพหุนัยยะ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 540 คน ด้วยการสุ่ม<br />แบบชั้นภูมิ จากการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการบริหารสถานศึกษาและการสอน ปีการศึกษา 2566-2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินคุณภาพแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และความเชื่อมั่น 0.990 และ 0.993 ตามลำดับ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของนวัตกรรมการบริหารวิชาการตามแนวคิดการบริหารนวัตกรรมในยุคดิจิทัล คือ นวัตกรรมการบริหารวิชาการ มี 4 องค์ประกอบ และการบริหารนวัตกรรมในยุคดิจิทัล มี 4 องค์ประกอบ ตามลำดับ 2) ความต้องการจำเป็นของนวัตกรรมการบริหารวิชาการ ด้านปัจจัยภายในด้านนวัตกรรมการบริหารวิชาการ ในภาพรวมเท่ากับ 0.693 และด้านปัจจัยภายในด้านการบริหารนวัตกรรมในยุคดิจิทัล ในภาพรวมเท่ากับ 0.752 ตามลำดับ 3) การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการ ผ่านการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบนวัตกรรม โดยมีค่า Chi-Square = 4265.095, df =2320, P-value = 0.057 และ RMSEA = 0.038 และ 4) การตรวจสอบและประเมินความเป็นไปได้ของนวัตกรรมการบริหารวิชาการ พบว่า นวัตกรรมมีความเป็นไปได้และเหมาะสม</p>
กิตติวัฒน์ ดิษฐประเสริฐ, เกรียงไกร สัจจะหฤทัย , สุบิน ยุระรัช
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285732
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การประยุกต์ใช้จิตสาธารณะของพลเมืองตื่นรู้ในสังคมปัจจุบันแบบพุทธบูรณาการ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286226
<p>บทความวิชาการนี้ มุ่งนำเสนอประโยชน์ของการมีจิตสาธารณะแบบพุทธบูรณาการ โดยใช้การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารที่สำคัญซึ่งได้รวบรวมมาแล้วนี้ การดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ย่อมต้องการความสงบสุขเป็นสำคัญ พระพุทธศาสนาคือพระธรรม วินัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาบูรณาการประยุกต์ใช้กับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีอื่น เพื่อการสร้างความสุขให้เกิดในสังคมโดยเฉพาะเรื่องของการมีจิตสาธารณะ ให้นำไปสู่การบ่มเพาะสร้างคุณลักษณะนิสัยการรู้จักเอาใจใส่อันเป็นธุระในเรื่องของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน การพอกพูนจิตสาธารณะเปรียบเหมือนการปลูกต้นไม้ที่ชื่อว่า “ต้นจิตสาธารณะ” การผสานวิธีการพุทธบูรณากาเปรียบเหมือนวิธีการปลูกให้ต้นไม้เจริญงอกงาม การมีจิตสาธารณะแบบพุทธบูรณาการต่อกันจึงไม่ควรเป็นสิ่งที่ถูกละเลย หรือมองข้าม ควรสร้างให้เกิดขึ้นทั้งในตน ผู้อื่น และสังคม เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข ความมีจิตสาธารณะแบบพุทธบูรณาการเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ โดยไม่ต้องทรัพย์สินเงินทองใด ๆ เป็นปัจจัยหลักที่จะเอื้อเฟื้อแก่ผู้อื่น การแสดงความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือกิจ การงานต่าง ๆ เล็กบ้างใหญ่ น้อยบ้าง มากบ้าง ก็ดูเป็นเรื่องงดงามในการอยู่ร่วมกัน การแสดงจิตสาธารณะแบบพุทธบูรณาการสำนึกรู้รับผิดชอบในการใช้ทรัพยกร รู้หน้าที่ในการช่วยเหลือแก้ปัญหา เล็งเห็นและ“ให้”ประโยชน์ที่จะเกิดกับตนเองและผู้อื่น สังคมประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรม นั่นคือมนุษย์ผู้สติปัญญาสามารถคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ และนามธรรม นั่นคืออุดมการณ์ ความคิด หลักการ หลักปฏิบัติที่มีแตกต่างกัน เมื่อมนุษย์ไม่ว่าในสังคมใด นำหลักจิตสาธารณะแบบพุทธบูรณาการโดยประพฤติอย่างสม่ำเสมออย่างยิ่งด้วยสมานัตตตาในหลักสังคหวัตถุ 4 โดยไม่หวังผลตอบแทน ประโยชน์ต่อตนเองของการอยู่ร่วมอย่างสันติย่อมเกิด และยังสามารถเอื้อเฟื้อสังคม จึงยกคำกล่าวบางส่วนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไป เพื่อประโยชน์สุข แก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ จงแสดงธรรม (จิตสาธารณะแบบพุทธบูรณาการ) มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด” เพื่อสร้างมหากุศลจิตและสิ่งที่เราทุกคนปรารถนาและคาดหวัง นั่นก็คือ สังคมสันติสุข</p>
สุทธิกานต์ กาญจนะโนพินิจ
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286226
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281162
<p>บทความนี้มุ่งนำเสนอความสำคัญของผู้สูงอายุกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญโดยในหลายประเทศกำลังเผชิญสภาวการณ์การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งคำว่า "ผู้สูงวัย" หมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น ด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะทำงานได้ลดลง ทำให้ผู้สูงวัยต้องการการดูแลจากคนรอบข้าง และควรได้รับความสำคัญ การยกย่อง และการเทิดทูนจากสังคม ซึ่งบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิของชุมชนไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะวัฒนธรรม องค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งในชุมชน ดังนั้นผู้สูงวัยจึงมีประประโยชน์ต่อชุมชนสังคมอย่างยิ่ง ซึ่งในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทถือว่าเป็นการให้คู่กรณีมีโอกาสเจรจาตกลงกัน ระงับข้อพิพาททางแพ่ง และทางอาญาโดยสันติวิธีและปราศจากการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท โดยไม่รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อ พิพาทที่ดำเนินในชั้นศาลและในการบังคับคดี โดยผู้สูงอายุบางท่านได้เข้ามาทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งการทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนี้ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสอดรับกับพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 3 แต่ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยภายใน (สันติภายใน) เนื่องจากหลักสูตรอบรมที่มีอยู่เดิมมุ่งพัฒนาความรู้ภายนอกคือกฎหมายของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่ยังขาดการพัฒนาสันติภายในของผู้ไกล่เกลี่ยเอง อีกทั้งผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยที่เพิ่งขึ้นทะเบียน ยังขาดทักษะในการไกล่เกลี่ย เนื่องจากมีชั่วโมงในภาคปฏิบัติน้อย ทำให้ขาดความมั่นใจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยขาดความรู้เรื่องขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ถูกต้องเป็นระบบ รวมไปถึงสูงวัยไกล่เกลี่ยยังขาดเทคนิควิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เป็นมืออาชีพ และผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยยังเขียนบันทึกข้อตกลงไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กรมคุ้มครองสิทธิ์กำหนด จึงมีการจัดการเรียนสำหรับผู้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจ แก่ผู้สูงวัยที่เข้ามาทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยให้มีความรู้ และนำไปสู่การไกล่เกลี่ยที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น</p>
ปุญญาพร ธนัชชวลัย
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281162
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
มงคลสูตร : กระบวนการพัฒนาชีวิตตามแนวไตรสิกขา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286324
<p>บทความวิชาการเรื่องนี้ศึกษากระบวนการพัฒนาชีวิตตามแนวไตรสิกขาด้วยมงคล 38 ประการ พบว่าขั้นตอนแห่งการดำเนินชีวิตด้วยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง มีกระบวนการ 3 ขั้นตอน และประโยชน์ 3 คือ 1) ระดับศีล คือ มงคลสูตรที่ 1-26 เป็นการสร้างความดีงามและสันติสุขต่อตนเองและสังคม ได้รับประโยชน์เป็นทิฏฐธัมมิกัตถะ คือประโยชน์ทันตาเห็น มีสุขภาพ ครอบครัว สังคมดี 2) ระดับสมาธิ คือ มงคลสูตรที่ 27-30 มงคลสูตร เป็นการสร้างสันติสุขภายในจิตใจตนเอง ได้รับประโยชน์เป็นสัมปรายิกัตถะ คือประโยชน์เลยตาเห็น มีความอิ่มใจ ภูมิใจ สุขใจ มั่นใจ ในคุณธรรมความดี ความมีชีวิตที่สะอาดสุจริต ชีวิตมีความสุขสงบ 3) ระดับปัญญา มงคลสูตรที่ 31-38 เป็นการพัฒนาขั้นสูงสู่ทางแห่งพระนิพพาน ได้รับประโยชน์สูงสุด เรียกว่า ปรมัตถะประโยชน์ โดยมีปัญญารู้แจ้งเห็นความจริงของโลกและชีวิต เป็นอิสระ สุขเกษม ถึงสันติ คือปรมัตถประโยชน์ เป็นประโยชน์สูงสุด มีปัญญารู้เท่าทันโลกและชีวิต จนกระทั่งจิตเป็นอิสระ ไร้ทุกข์ เป็นการเข้าถึงความจริงอันสูงสุดตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า</p>
ประดิษฐ์ ปัญญาจีน
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286324
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ทักษะการสื่อสารในองค์กรตามแนวพุทธสันติ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281163
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เกี่ยวกับการสื่อสาร อันเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความรู้สึก ความคิดเห็นความต้องการ จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยการผ่านไปยังสื่อต่าง ๆ ที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมและความจำเป็น วัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารและมีปฏิกิริยาตาอบสนองต่อกัน โดยบริบทในการสื่อสารมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งซึ่งบริบทที่เหมาะสมจะช่วยให้การส่งและรับสารสัมฤทธิ์ผลเป็นอย่างดี ซึ่งการสื่อสารเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้มนุษย์เรานั้นมีความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยการสื่อสารผ่านทางคำพูดบ้าง การแสดงออก หรือแม้แต่สีหน้า แววตา หรือท่าทาง ก็นับได้ว่าเป็นการสื่อสารเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้วหากเรานำหลักพุทธธรรมเข้ามาใช้ในการสื่อสารก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยพระปรีชาญาณของพระพุทธเจ้า พระองค์เข้าใจหลักทฤษฎีในการสื่อสารด้วยการใช้สื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งพระองค์ทรงรู้วิธีการวิเคราะห์ทฤษฎีองค์ประกอบของการสื่อสารได้อย่างแตกฉานทฤษฎีการสื่อสารกับพระพุทธศาสนาที่มีพุทธวิธีในการสื่อสารตามหลักการขององค์ประกอบของการสื่อสาร โดยหลักพุทธสันติที่นำมาใช้ในการสื่อสารของบุคลากร ประกอบด้วย 1) สังคหวัตถุ 4 ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์ 2)หลักอริยสัจ 4 ถือว่าเป็นความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ เป็นความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ 3) หลักภาวนา 4 ถือว่าเป็นความเจริญ การทำให้เป็นให้มี เป็นกระบวนการฝึกอบรม กระบวนการพัฒนาเพื่อสันติสุขภายในองค์กรบริษัทและกระบวนการสื่อสารของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม ผู้มีหน้าที่เอื้ออํานวยให้เกิดการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และการทำงานเป็นทีม เพื่อการพัฒนาบุคลากรให้เกิดสันติสุขตามหลักอปริหานิยธรรม 7 สืบต่อไป</p>
จตุรงค์ วงค์สุวรรณ
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281163
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
กระบวนการนิเทศแบบประเมินพัฒนาเพื่อส่งเสริมสถานศึกษาสู่องค์กรนวัตกรรม : ความท้าทายของการนิเทศการศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286114
<p>บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอความสำคัญของการส่งเสริมสถานศึกษาสู่องค์กรนวัตกรรมที่มีการสร้างสิ่งใหม่ เป็นการพัฒนาสิ่งเดิมทั้งรูปแบบวิธีการทำงานและการจัดการเรียนการสอน ทำให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพดีขึ้น และนำเสนอความสำคัญของการนิเทศการศึกษาที่จำเป็นต้องมี การปรับเปลี่ยนกระบวนการนิเทศโดยทั่วไปเป็นกระบวนการนิเทศแบบประเมินพัฒนาซึ่งเป็นแรงผลัก ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาที่มีคุณภาพ การนิเทศลักษณะนี้ให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นจนถึงเสร็จสิ้นกระบวนการ โดยการมีส่วนร่วมของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศไม่ว่าจะเป็นการนิเทศภายนอกและการนิเทศภายใน กระบวนการนิเทศแบบประเมินพัฒนาเกิดจากผสมผสานกระบวนการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation : DE) โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง การทำงานขององค์กรเชื่อมโยงกันเป็นระบบ ซึ่งหัวใจหลักของการประเมินเชิงพัฒนาก็คือ การเคารพ รับฟังซึ่งกันและกัน การเรียนรู้ร่วม และการเกิดข้อตกลงร่วมกัน กระบวนการนิเทศแบบประเมินพัฒนาเพื่อส่งเสริมสถานศึกษาสู่องค์กรนวัตกรรม มีระยะ การดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะต้นน้ำ ระยะกลางน้ำ และระยะปลายน้ำ มีกระบวนการนิเทศ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผนการนิเทศ ขั้นปฏิบัติการนิเทศ ประเมินและพัฒนา ขั้นประเมินผลการนิเทศ และขั้น การสะท้อนผลการนิเทศและพัฒนา โดยเริ่มวางแผนงานที่มีความสอดคล้องกับสภาพจริง และสามารถนำไปใช้งานได้จริง มีการปรับเปลี่ยนแผนงานได้อย่างรวดเร็ว มีการขับเคลื่อนให้เกิดผลผลิตในด้านโรงเรียน ด้านผู้บริหาร ด้านครู และส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์คือด้านผู้เรียนที่มีคุณภาพ</p>
กวินพัฒน์ ขวัญแน่น, ปกรณ์ ประจันบาน, อนุชา กอนพ่วง, วารีรัตน์ แก้วอุไร
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286114
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280966
<p>ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่ เป็นสิ่งที่สังคมในปัจจุบันนั้นมีความต้องการเป็นอย่างมาก ซึ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้น หมายถึง การที่ผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษา ถึงที่สุดให้กับคู่กรณี เป็นการช่วยให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน แต่ผู้ไกล่เกลี่ย ไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความแต่อย่างใด โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้เกิดการประมีประนอมยอมความให้จากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเป็น สำคัญ ด้งนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอยกเลิกการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ย่อมได้ ซึ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และได้มีการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการไกล่เกลี่ยนข้อพิพาทเรื่อยมา และแนวคิด ทฤษฎีที่ควรนำมาสนับสนุนในการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่ ประกอบด้วย 1) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับฟังอย่างลึกซึ้ง 2) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างสันติ 3) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยา 4) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเป็นโค้ชและกระบวนกร 5) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้ง 6) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสันติวิธี และ 7) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และสิ่งสำคัญหลักพุทธสันติวิธีมุ่งไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแบบสนับสนุนFasciation ในปัจจุบันศาลจะเป็นที่พึ่งแรกของประชาชนไม่ใช่ที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน ปัจจุบันคดีเข้าสู่ศาลจำนวน 2 ล้านคดี ซึ่งผู้พิพากษาจำนวนไม่ได้น้อยเพียง สี่พันกว่าท่าน แต่ผู้ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องมากกว่า 5 พันกว่าคน ดังนั้นจึงควรพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ปัจจุบันศาลจึงมีการปรับตัวเป็นที่พึ่งแรกของประชาชน</p>
กชพร สอดส่อง
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280966
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
แนวทางการส่งเสริมกัลยาณมิตรแห่งการรู้เท่าทันสื่อสังคม ด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณเชิงพุทธบูรณาการ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285698
<p>การใช้สื่อสังคมผ่านมือถือมีความสำคัญได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เด็กและเยาวชน และกัลยาณมิตรแห่งการรู้เท่าทันสื่อสังคมนั้นเป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารได้โดยตรง โดยใช้มือถือและใช้สื่อสังคมที่แต่ละบุคคลชื่นชอบ หากผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่ได้ตระหนักถึงการรู้เท่าทันสื่อสังคมที่ดีก็จะเป็นผู้ส่งสารที่ไม่ถูกต้องให้กับสังคมด้วยเช่นกัน ดังนั้นทุกคนสามารถช่วยกันทำให้เป็นสังคมแห่งรู้เท่าทันสื่อ ตระหนักถึงการผลิต การส่ง การรับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงก็จะสามารถลดความขัดแย้ง ลดความรุนแรง นำไปสู่สังคมสันติสุขได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางข้อเสนอการส่งเสริมให้เกิดสังคมกัลยาณมิตรแห่งการรู้เท่าทันสื่อสังคมด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณเชิงพุทธศาสนา ผู้ศึกษาได้นำหลักพระพุทธศาสนา หลักการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และกรอบการประเมินการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศของ UNESCO มาร่วมประยุกต์และการใช้วิเคราะห์ ผลสรุปแนวทางการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสังคมฯเชิงพุทธศาสนาบูรณาการ คือผู้ที่มีวุฒิภาวะซึ่งเป็นสังคมแห่งกัลยาณมิตรช่วยกันผลิตสื่อที่ถูกต้องให้กับสังคมเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ สำหรับหลักธรรมทางพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดผู้ผลิตสื่อสังคมที่ดีด้วยหลักอารยวุฒิ 5 (ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา และสุตะ) ศีล 5 การใช้หลักสติและปัญญาที่ถูกต้อง นำหลักคิดอย่างมีวิจารณญาณรอบด้าน เป็นต้น หลักการปฏิบัติทางสื่อสังคมที่ดี โดยการใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 (การคิดดี การพูดดี การปฏิบัติดี (รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักความพอดี ถูกกาลเวลา รู้จักบุคคล รู้จักชุมชน)) การให้ความรู้และความเห็นที่ถูกต้องไม่มีอคติ (ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ) และหลักกาลามสูตร</p> <p>ผลการศึกษาแนวทางส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อที่ถูกต้องตรงกับความจริงในระดับนโยบายและการปฏิบัติโดยทุกวัยควรเพิ่มความรู้ในเรื่องการเข้าถึงดิจิทัลและการมีส่วนร่วม สำหรับเด็กและเยาวชน บุคคลที่ยังมีวุฒิภาวะยังไม่พร้อมนั้นควรเพิ่มองค์ความรู้เพิ่มวุฒิภาวะผ่านหลักสูตรด้านจริยธรรม การรู้เท่าทันสื่อ การสื่อสาร กฎหมายดิจิทัล ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการส่งข้อมูลออก-การรับข้อมูลเข้า มีระบบการประเมินการรู้เท่าทันสื่อ ติดตามการใช้สื่อ สำหรับผู้ใหญ่ควรมีการส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องการมีส่วนร่วมของกัลยาณมิตรเพื่อให้สังคมมีสื่อที่ถูกต้องปลอดภัย ส่งเสริมตัวอย่างที่ดีเพื่อเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ</p>
ณัติกาญจน์ สูติพันธ์วิหาร
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285698
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
สุขแห่งศรัทธา : รูปแบบองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียนพระปริยัติธรรมยุคใหม่
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286657
<p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทาง องค์ประกอบ และผลลัพธ์ขององค์กรแห่งความสุข โดยนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับการสร้างองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตของพระภิกษุ สามเณร ครูพระ และบุคลากรทางการศึกษา</p> <p>ผลจากการศึกษา พบว่า องค์ประกอบสำคัญขององค์กรแห่งความสุข ได้แก่ (1) การสนับสนุนด้านจิตใจและสังคม ผ่านหลักธรรม เช่น พรหมวิหาร 4 และอิทธิบาท 4 (2) การพัฒนาความสามารถของบุคลากร ด้วยการฝึกอบรมและส่งเสริมภาวะผู้นำที่มีคุณธรรม (3) บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการทำงาน โดยเน้นความสงบและความร่วมมือ และ (4) การสร้างสมดุลชีวิตและงาน ผ่านกิจกรรมทางศาสนาและการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ได้แก่ (1) บุคลากรมีความสุขและมีแรงจูงใจในการทำงาน (2) นักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้นทั้งด้านวิชาการและศีลธรรม (3) โรงเรียนดำเนินงานได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน และ (4) ชุมชนได้รับประโยชน์จากโรงเรียนในฐานะแหล่งเรียนรู้และศูนย์กลางทางจริยธรรม ข้อเสนอแนะสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแผนองค์กรแห่งความสุข การสนับสนุนการพัฒนาครูพระ และการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน</p>
พระครูปลัดเกรียงศักดิ์ จนฺทรํสี
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286657
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนโดยพุทธสันติวิธี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280967
<p>การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือการที่ผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนที่จะมีการฟ้องร้อง รวมไปถึงคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษา ถึงที่สุดให้กับคู่กรณี เป็นการช่วยให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน แต่ผู้ไกล่เกลี่ย ไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความแต่อย่างใด โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้เกิดการประมีประนอมยอมความให้จากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเป็น สำคัญ ดังนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอยกเลิกการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ย่อมได้ โดยการไกล่เกลี่ยของไทยนั้นจะแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนด้วยกัน ประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 เตรียมการไกล่เกลี่ย ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยต้องศึกษาเนื้อหาของคดี วิเคราะห์ความขัดแย้งในเบื้องต้นก่อน โดยดูจากสำนวนคดี ออกแบบกระบวนการไกล่เกลี่ย จัดการทางกายภาพ ขั้นตอนที่ 2 เปิดประชุมไกล่เกลี่ย ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยกล่าวเปิดประชุมและ นำเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจา ขั้นตอนที่ 3 รวบรวมและสร้างทางเลือก คู่กรณีกล่าวเปิดเจรจา ร่วมกันกำหนด ประเด็น และอาจมีแยกประชุม ขั้นตอนที่ 4 แก้ปัญหาและหาทางออก ประเมินทางเลือกในแต่ละประเด็นทีละ เรื่องแก้ปัญหาและหาทางออก ผู้ไกล่เกลี่ยเสนอทางเลือก (ถ้ามี) ขั้นตอนที่ 5 ปิดประชุมไกล่เกลี่ย ตกลงกันไม่ได้กล่าวปิดประชุม ตกลงกันได้ ทำข้อตกลง ตรวจสอบข้อตกลง และลงลายมือซื่อกล่าวปิดประชุม ซึ่งคำพิพากษาที่ดีที่สุดคือการที่คู่กรณียอมความกันเองไกล่เกลี่ยกันเองจะนำไปสู่สันติสุข เพียงทุกคนเคารพกติกาในการอยู่ร่วมกัน</p>
ธัญญธร หฤทัยถาวร
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280967
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
Artificial Intelligence and Buddhist Meditation: An Integrated Model for Enhancing Emotional Regulation and Mental Health
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286905
<p>The objective of this study is to explore how Buddhist meditation can integrate AI technology to enhance emotional regulation and mental health. With the global rise in mental health issues, there is an increasing demand for innovative, convenient, and effective solutions. Buddhist meditation has been proven effective in regulating emotions, reducing stress, and enhancing mental health. Nevertheless, meditation practice might be challenging for some practitioners, as it often requires expert guidance, persistent discipline, and personalized adaptation. Meanwhile, artificial intelligence (AI) has gradually shown its potential in mental health interventions, particularly through personalized support, real-time feedback, and adaptive learning mechanisms. However, the integration of AI with Buddhist meditation to promote mental health remains an underexplored domain. The study proposes an innovative model, the AI-enhanced Buddhist Meditation Model (AIBM), that integrates the strengths of Buddhist meditations and AI technologies to optimize meditation guidance, emotional self-regulation, and psychological resilience. By bridging ancient wisdom of Buddhist meditation with modern AI technology, this study contributes to theoretical advancements and practical applications in digital mental health, contemplative sciences, human-centered AI design, and mental health therapy. This study has significant implications for mental health practitioners & patients, AI developers, policymakers, and the public, offering potential breakthroughs in promoting emotional regulation and mental health.</p>
Xiaoling Yao
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/286905
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700