วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace
<p><strong>ISSN : 2985-1556 (Online)</strong> </p> <p><strong>วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้คณาจารย์บุคลากรเจ้าหน้าที่ นิสิต และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้เสนอและเผยแพร่บทความบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ ที่ได้มาตรฐานสู่สาธารณชน รวมทั้งยกระดับผลงานทางวิชาการให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายถอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เปิดรับบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา สันติศึกษา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีละ 6 ฉบับ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p>
Master of Arts Program in Peace Studies Mahachulalongkornrajavidyalaya University
th-TH
วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
2287-0962
<p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร</p>
-
Peace Innovation to Bridge the Generation Gap for Entrepreneur in Family Business
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275578
<p>The objectives of this research article were 1) To investigate the context, problem situations, and necessary requirements related to bridging the generation gap for family business entrepreneurs. 2) To develop and propose methods to bridge the generational gap for entrepreneurs in family businesses, by using a Mixed Methods Research Design. The research includes an exploratory sequential design, qualitative data collection through in-depth interviews with 56 entrepreneurs, 59 qualified individuals from various fields, and other process discussions including 15 experts in Focus Group. The experimental group consisted of 16 entrepreneurs from both generations. After Action Review technique. Statistical analysis was conducted using a t-test to compare mean values along with participatory.</p> <p>This study found that: 1) Both Entrepreneurs Generation lack of communication skills to transfer the business, convey intentions, reflect problems integrated the concept of communication, and relationship management to enhance family business along with mindfulness of the Buddhist Peace method, including The Four Noble Truths, Principles of Virtuous Speech, and The Six Principles of Ethical Relations. 2) The seminar involved three practical training sessions with nine components: 1. Peace 2. Innovation 3. Communication 4. Family 5. Attitude 6. Moral 7. Business 8. Understanding 9. Strategies and then 21 days follow-up process with three priorities to promote improvement are 1. Knowledge 2. Coexistence and 3. Leadership. The collective knowledge from this research refers to this Model framework as the "PIC.FAM.BUS.Mo.De.L". The evaluation using t-test statistics showed a significant improvement in relationship development among entrepreneurs who participated in the program, with a level of significance at .05 (t = 20.63).</p>
Piyachat Sakulsuwan
Khanthong Wattanapradith
Phrakhupalad Adisak Vajirapañño
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1700
1713
-
Peaceful Innovation: Personality Analysis by Face Decoder for Empowering of the Department of Women’s Affairs and Family Development
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275814
<p>The objectives of this research article are twofold: first, to examine the problem situation, requirements, theoretical concepts, and Buddhist principles that support the improvement of leadership potential by analyzing personal images through facial coding of leaders in the Department of Women's Affairs and Family Institution; Second, to research and propose innovations in the analysis of personal photos using facial coding in order to strengthen the leadership capacity of To achieve these objectives, a mixed-methods strategy was taken, specifically an exploratory sequential design. This entailed conducting in-depth interviews with 15 heads of units from the Department of Women's Affairs and Family Institution. Holding focus group conversations with 8 specialized experts selected using purposeful sample criteria, conducting experimental training sessions for 24 leaders and networks, and evaluating performance using a leadership potential evaluation. A statistical t-test was performed, along with participant observation and reflective thought.</p> <p>The research findings revealed that various difficulties at the Department of Women's Affairs and Family Institution must be addressed to increase leadership potential. These include centralized personnel allocation, which causes a mismatch between abilities and tasks, uneven job distribution among leaders, a lack of knowledge of individual differences, and poor leadership communication skills. To overcome these challenges, individuals must engage in self-development, be open to learn, and use their experiences in accordance with current theoretical conceptions. This includes comprehending individual diversity in personal images from Eastern and Western viewpoints, as well as transformative leadership communication and ethics. Furthermore, leadership potential is developed using face coding analysis innovation, which includes a two-day interactive training curriculum and three weeks of leadership development activities. Self-awareness, facial expression decoding for personal image analysis, ethics in leadership communication skill development, usage of facial coding analysis tools (Face Decoder), and leadership for organizational peacebuilding are among the topics covered in the program. The experimental results showed a statistically significant rise in leadership potential enhancement scores using face coding analysis, with the post-experimental mean score significantly higher than the pre-experimental score at a significance threshold of 0.05 (t = -6.57). As a result of the study, the G.R.A.C.E LEADERSHIP COMMUNICATION MODEL and the T.C.P Model were identified as valuable insights for improving leadership communication and competency.</p>
Dhanabongkoch Siripattkitti
Khanthong Wattanapradith
Phrakhupalad Adisak Vajirapañño
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1714
1727
-
รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273491
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน 3) สร้างรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน 4) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน แบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 ยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมิน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง 319 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 ระยะที่ 3 สร้างรูปแบบมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ร่างรูปแบบ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 ประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมิน ระยะที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินการใช้รูปแบบ แบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และค่า t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวชี้วัดของการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน มี 5 องค์ประกอบ 35 ตัวชี้วัด มีความเหมาะสมโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.93, S.D. = 0.07) 2) สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.29, S.D. = 0.71) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.65, S.D. = 0.35) ค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modifie</sub><sub>d</sub><em>)</em> อยู่ระหว่าง 0.34 - 0.51 3) รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน KATAD มี 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (K) 2) ด้านการได้มาของภูมิปัญญาท้องถิ่น (A) 3) ด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น (T) 4) ด้านการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ (A) 5) ด้านการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น (D) องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน มี 6 ส่วน ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) วิธีการดำเนินงานมี 5 กิจกรรม ประกอบด้วย (1)กิจกรรมสำรวจภูมิปัญญา (2) กิจกรรมค้นหาสิ่งเก่า (3) กิจกรรมบอกเล่าของดี (4) กิจกรรมบ่งชี้ปฏิบัติ (5) กิจกรรมพัฒนาต่อยอด มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.60, S.D. = 0.40) 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า หลังการใช้รูปแบบฯมีการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน สูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบ และความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ลาวัลย์ นนทะสี
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ
วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1728
1739
-
รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/272545
<p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี 4 ระยะ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา และครูฝ่ายวิชาการในโรงเรียน ชั้นนำของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จำนวน 3 โรงเรียน และจำนวนทั้งหมด 45 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ3)แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินการของรูปแบบ 4) การประเมินผลรูปแบบ และ5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการประเมินรูปแบบโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
พระมหาชนะชัย คำแก้ว
ชวนคิด มะเสนะ
พงษ์ธร สิงห์พันธ์
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1740
1751
-
การจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้เกมการเล่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/279588
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้เกมการเล่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 1 จำนวน 8 คน จากโรงเรียนอนุบาลนานาชาติแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการเล่นจำนวน 8 แผน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาประสิทธิภาพได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 และมีค่าประสิทธิภาพ 86.67/88.89 และแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเกี่ยวกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือค่าเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่ออธิบายลักษณะของข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้ โดยใช้สถิติ t-test แบบ dependent samples</p> <p>จากการศึกษาเรื่อง การจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้เกมการเล่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการเล่นส่งผลให้ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ในระดับดี และความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่หลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์เรียนนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกมการเล่นมีส่วนช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนาน</p>
จาน มิน
พิบูลย์ ตัญญบุตร
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1752
1764
-
การพัฒนาชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273323
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมฯ ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาชุดกิจกรรมฯ ระยะที่ 2 ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน อายุระหว่าง 60 – 69 ปี อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านแบบสะท้อนตนเอง แบบสะท้อนความรู้สึก และแบบประเมินทักษะ สถิติวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ได้พัฒนาโดยบูรณาการทฤษฎี Empowerment และ Andragogy ประกอบด้วยแผนการเรียนรู้ 4 แผน ได้แก่ (1) รู้เขา เข้าใจตนเอง (2) ทางเลือกสร้างสุข : พับพวงมาลัยผ้าขาวม้า (3) แบ่งปัน เพิ่มพูนพลังใจ (4) เปิดใจ สะท้อนมุมมอง 2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านพบว่า ก่อนการเข้าร่วมชุดกิจกรรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน กลุ่มตัวอย่างมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ด้านที่ต่ำที่สุด คือ ด้านที่ 2 การประสบความสำเร็จและส่งผลให้เห็นคุณค่าในตนเอง หลังการเข้าร่วมชุดกิจกรรมฯ ทุกคนมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนรวมด้านที่มีผลต่างมากที่สุด คือ ด้านที่ 2 การประสบความสำเร็จและส่งผลให้เห็นคุณค่าในตนเอง มีผลต่างของค่าเฉลี่ย 12.93 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้สะท้อนความรู้สึกว่า การทำงานฝีมือได้สำเร็จ ทำให้เกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเอง แล้วยังได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุในชุมชน </p>
สิริลักษณ์ คุณุ
จุฬารัตน์ วัฒนะ
ภัทรา วยาจุต
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1765
1779
-
การประเมินผลโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ระดับตำบล : กรณีศึกษาโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท จังหวัดอุบลราชธานี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/271292
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ระดับตำบล 2) จัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบการดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ในอนาคเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารและพนักงานส่วนท้องถิ่น ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากพื้นที่ที่มีผลการเบิกจ่ายในระดับสูง ได้แก่ อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขื่องใน และอำเภอวารินชำราบ รวม 413 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน จำนวน 10 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือที่ในการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอเชิงพรรณา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) (1) บริบท C (Context) พบว่า ระดับรายได้ มีอัตราส่วนที่ลดลง ระดับการบริโภคภาคครัวเรือน และระดับการจ้างงานนั้น มีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น (2) ปัจจัยนำเข้า I (Input) พบว่า สัดส่วนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรโครงการประเภทที่ 1 คือ โครงการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะใช้งบประมาณ 971,147,830 บาท คิดเป็น 87.56% ของงบประมาณทั้งหมด (3) กระบวนการ P (Process) พบว่า มีลำดับขั้นตอนในการดำเนินการอย่างชัดเจน กระบวนการครบถ้วนสมบูรณ์ มีการสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ มีกลไกในการกำกับดูแลและตรวจสอบทุกขั้นตอนการดำเนินงาน (4) ผลผลิต P (Product) พบว่า โครงการสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทั้งในทางตรงและทางอ้อม การสร้างการบริโภคภาคครัวเรือนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) พบว่า หากมีโครงการตำบลละ 5 ล้านบาทในอนาคต ควรผันงบประมาณไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเนื่องจากมีความพร้อมด้านบุคลากรบุคลากร โดยเฉพาะช่างโยธา เพราะโครงการโดยส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐาน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีช่างในการออกแบบ ปร.4, ปร.5 ดูแลได้อย่างครอบคลุมและอีกทางหนึ่งลงงบประมาณจะลงสู่ประชาชนโดยตรง</p>
ไกรเลิศ ตั้งกิจบำรุง
อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1780
1794
-
กระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281744
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ ภาค 6 2) บูรณาการกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี และ 3) นำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ เพื่อระงับข้อพิพาท แก้ไข ฟื้นฟู เยียวยา ให้อภัย โดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูปหรือคน ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านศาลและนักกฎหมาย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวิธีและพระพุทธศาสนา และกลุ่มนักวิชาการขององค์กรภาครัฐและเอกชน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญา ในศาลอุทธรณ์ภาค 6 พบว่า ยังมิได้กำหนดนโยบายในการนำคดีอาญาให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนการพิจารณาคดี และขั้นตอนในการปฏิบัติงานของผู้ประนีประนอมยังไม่ชัดเจน รวมทั้งผู้ประนีประนอมยังไม่เข้าใจเป้าหมายในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา และขาดความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา เช่น ป.อ. มาตรา 56, ป.วิ.อ. มาตรา 35 และ มาตรา 39 (2) เป็นต้น 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา โดยพุทธสันติวิธี พบว่า หลักสาราณียธรรม 6 เป็นหลักธรรมที่สอดคล้องกับกระบวนการไกล่เกลี่ยในคดีอาญาในชั้นศาลอุทธรณ์ ได้แก่ (1) เมตตากายกรรม ช่วยเหลือกันอำนวยความสะดวกเมื่อคู่พิพาทมาเผชิญหน้ากัน (2) เมตตาวจีกรรม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี พูดอย่างเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (3) เมตตามโนกรรม เป็นผู้คิดดี ปรารถนาดี มีความรักความเมตตาต่อกัน (4) สาธารณโภคี อำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้มีการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นด้วยความชอบธรรม (5) สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตดีงาม ประพฤติตนถูกต้องตามกฎหมายและทำนองคลองธรรม และ (6) ทิฏฐิสามัญญตา มีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างถ่องแท้ และ 3) กระบวนการการไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์เพื่อสันติภาพ (Peace Restorative justice) ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ (1) ให้โอกาสจำเลยและผู้เสียหายบอกเล่าความจริงที่เกิดขึ้น (2) ให้จำเลยได้รู้สึกสำนึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของตน (3) จำเลยหามาตรการเยียวยา แก้ไข ฟื้นฟู ผู้เสียหาย (4) ให้จำเลยได้มีโอกาสแสดงความรับผิดชอบและแก้ไขพฤติกรรม (5) สามารถสานสัมพันธ์กันต่อไปได้ และจำเลยไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก และ (6) ผู้เสียหายได้ให้อภัย และถอนคำร้องทุกข์-จำหน่ายคดี และรอการลงโทษ</p>
สุนทร ทิมจ้อย
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1795
1808
-
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครูโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ศึกษาธิการจังหวัดยโสธร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/276556
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสานของครูโรงเรียนเอกชน 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครูโรงเรียน เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเป็นกลุ่ม ได้แก่ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดยโสธร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครูโรงเรียนเอกชน พบว่า ระดับสภาพปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.62) และระดับความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.75) 2. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะ เนื้อหา กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยมีผลการประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรมฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.42) และ ผลการศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ พบว่าหลังการฝึกอบรมกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของสมรรถนะฯ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของครูต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.62)</p>
เสาวลักษณ์ โซ่พิมาย
ภูมิพงศ์ จอมหงส์พิพัฒน์
พีรญา ทองเฉลิม
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1809
1823
-
กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้โดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณี ศาลอาญาพระโขนง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281743
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ของศาลอาญาพระโขนง 2) เพื่อบูรณาการกระบวนการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ตามแนวพุทธสันติวิธี และ 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้โดยพุทธสันติวิธี ของศาลอาญาพระโขนง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และได้พัฒนาเครื่องมือวิจัยตามแบบอริยสัจโมเดล โดยเดินตามบันได 9 ขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านศาลและนักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาและสันติวิธี จำนวน 10 ท่าน และวิเคราะห์ผลด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ ของศาลอาญาพระโขนง ในปัจจุบัน พบว่า ยังมิได้กำหนดนโยบายในการนำคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนการพิจารณาคดี และขั้นตอนในการปฏิบัติงานของผู้ประนีประนอมยังไม่ชัดเจน รวมทั้งผู้ประนีประนอมยังไม่เข้าใจเป้าหมายในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ และขาดความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ เช่น ป. อาญามาตรา 56, ป.วิ อาญามาตรา 35 และ มาตรา 39 (2) เป็นต้น 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้โดยพุทธสันติวิธี ได้แก่ หลักอริยสัจสี่ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค เมื่อคู่ความมีทุกข์ ผู้ประนีประนอมต้องค้นหาว่าโจทก์มีทุกข์อย่างไร จำเลยมีทุกข์อย่างไร และช่วยคู่ความหาสาเหตุของทุกข์นั้น และช่วยชี้แนะหาทางออก แห่งทุกข์ เพื่อให้คู่ความบรรลุแห่งการดับทุกข์และหลุดพ้นจากทุกข์ และผู้ประนีประนอมเองควรต้องมีหลักพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา) เป็นธรรมประจำใจ และต้องควบคุมกระบวนการด้วยการมีสติ มีขันติ เพื่อให้เกิดสันติ เกิดสันติภาพภายใน สันติภาพภายนอก และเกิดสังคมสันติสุข และ 3) กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญาความผิดอันยอมความได้ โดยพุทธสันติวิธีของศาลอาญา พระโขนง ได้แก่ การไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์เพื่อสันติภาพ (Peace Restorative Mediation) 6 ด้าน คือ (1) ให้โอกาสจำเลยและผู้เสียหายบอกเล่าความจริงที่เกิดขึ้น (Opportunity) (2) ให้จำเลยได้รู้สึกสำนึกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของตน (Remorse) (3) จำเลยหามาตรการเยียวยา แก้ไข ฟื้นฟู ผู้เสียหาย (Healing Solution) (4) ให้จำเลยได้มีโอกาสแสดงความรับผิดชอบและแก้ไขพฤติกรรม (Responsibility) (5) สามารถสานสัมพันธ์กันต่อไปได้ และจำเลยไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก (Relationship) และ (6) ผู้เสียหายได้ให้อภัย และถอนคำร้องทุกข์-จำหน่ายคดี (Forgiveness)</p>
กัญจน์นที รัตนศิลป์กัลชาญ
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1824
1837
-
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273771
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 159 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เลือกแบบเจาะจง 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ยุคใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง 3) ทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน โดยสมัครใจ 4) ประเมินรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความเหมาะสมองค์ประกอบ 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 5) แบบทดสอบ 6) แบบสอบถามพฤติกรรม 7) แบบสอบถามประสิทธิภาพ และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 การกล้าคิดสร้างสรรค์ 2) รูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) การกล้าคิดสร้างสรรค์ 2) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้ยุคใหม่ 3) การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมกับบริบทยุคใหม่ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนา สูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมพัฒนา ระดับพฤติกรรมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา 4) ด้านความเป็นประโยชน์รูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
บรรจง วันทา
เสน่ห์ คำสมหมาย
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1838
1852
-
กระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/270015
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีกระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี 3) พัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจำนวน 35 รูป/คน ได้แก่ นักวิชาการ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา จำนวน 20 รูป/คน ผู้สูงวัย จำนวน 15 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง และนำมาวิเคราะห์อธิบาย เชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของผู้สูงวัยโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย มีปัญหาด้านสุขภาพ การปรับตัวให้เข้ากับครอบครัวสังคม สถานที่ทำงาน มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ การช่วยเหลือตนเองน้อยลงซึ่งจะต้องพึ่งพาผู้อื่น ผู้สูงวัยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อจะอยู่กับครอบครัวและสังคมอย่างมีความสุข 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี ผู้สูงวัยมีการพัฒนาฝึกฝนอย่างเป็นองค์รวมตามหลักของอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย (1) ฉันทะ มีความความพอใจในชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลง (2) วิริยะ มีความเพียรพยายามพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (3) จิตตะ มีสติ มีสมาธิสมบูรณ์ด้วยสุขภาพจิต ผ่องใส และสงบสุข 4) วิมังสา มีความใคร่ครวญมรปัญญา รู้จักแก้ปัญหาและรู้จักดำเนินชีวิต 3) กระบวนการพัฒนาสันติสุขภาวะผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี มุ่งพัฒนาเพื่อให้ผู้สูงวัย “เปิดใจ เรียนรู้ คิดบวก และพัฒนา” เริ่มจากการเสริมสร้างสติ เรียนรู้แบบองค์รวม สนทนาปลูกปัญญา และนำไปใช้พัฒนาในชีวิต ผู้วิจัยพบ “สูงสุขโมเดล” ประกอบด้วย สูงภายนอก (สุขภาพกายแข็งแรง) สูงภายใน (จิตแจ่มใส) สูงสติ (ฉลาดในการใช้ชีวิต) ส่งผลให้ผู้สูงวัย “เป็นที่รัก หนักแน่น มั่นคง”</p>
กันยารัตน์ คอนกรีต
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1853
1866
-
การพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273932
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์หลักอริยสัจ 4 ในการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2) เพื่อพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3) เพื่อวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหลักอริยสัจ 4 ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยใช้การวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง สัมมนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์และทางด้านนิติศาสตร์ จำนวน 10 รูป/คน วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสัมมนากลุ่มเฉพาะมาศึกษาวิเคราะห์ตามขอบเขตของการวิจัย โดยการสังเคราะห์จากเอกสาร นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบอุปมัย และนำเสนอสรุปการวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การบูรณาการอริยสัจ 4 เป็นการนำแนวคิดทฤษฎีของหลักธรรม “ทุกข์” ผู้ร้องแสวงหาหลักฐานในการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้ง ผู้ถูกร้องคิดวิธีกลยุทธ์ทางการเมืองเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งและควบคุมดูแลการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม “สมุทัย” ผู้ร้องอาจสร้างพยานหลักฐานเท็จ ผู้ถูกร้องอาจใช้เทคนิควิธีการจูงใจผู้มีสิทธิการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องกลั่นกรองพยานหลักฐานให้รอบด้าน “นิโรธ” ผู้ร้องต้องไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกร้อง ผู้ถูกร้องต้องไม่ทุจริตการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกระบวนการสืบสวนหรือไต่สวนตรวจสอบและรับฟังพยานหลักฐาน มีความเป็นกลาง โปร่งใส และ “มรรค” ผู้ร้องจะต้องไม่กลั่นแกล้งทางการเมือง ผู้ถูกร้องให้ถ้อยคำต่อความเป็นจริง 2. การพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐาน เป็นการตรวจสอบภายในองค์กร แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน คณะอนุกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ควรให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสวนหรือไต่สวน 3. ทิศทางและแนวโน้ม ควรให้คณะกรรมการภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสวนและไต่สวน นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาตรวจสอบ วิเคราะห์พยานหลักฐาน การให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง โดยเปิดโอกาสนำพยานหลักฐานมาเข้าสู่สำนวนเต็มที่ 4. แนวทางการพัฒนาการตรวจสอบพยานหลักฐาน ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการตรวจสอบภายในองค์กร องค์กรตุลาการและภาคประชาชน</p>
ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1867
1879
-
คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/272934
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 คน ซึ่งประกอบด้วย 1) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ 2) นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ระดับบริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายที่นำมาเป็นแนวทางปฏิบัติในพื้นที่ 3) ผู้นำศาสนาและประชาชนทั่วไปที่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและประเด็นสนทนากลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และการตีความสร้างข้อสรุป และสรุปข้อค้นพบ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำคัญยิ่งมี 5 ประการ ได้แก่ คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ คุณลักษณะด้านความรู้ คุณลักษณะด้านทักษะ คุณลักษณะด้านทัศนคติ และคุณลักษณะที่สอดคล้องกับศาสตร์พระราชทาน คุณลักษณะดังกล่าวนั้นจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบลเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างยิ่ง และจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างความสมานฉันท์และความสันติให้กับพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นในด้านพหุวัฒนธรรม</p>
นิพนธ์ ชายใหญ่
ปัญญา เทพสิงห์
เกษตรชัย และหีม
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1880
1891
-
ครอบครัวไร้ความรุนแรงด้วยพี่เลี้ยงชุมชน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/278994
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากฎหมายด้านความรุนแรงในครอบครัวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและนำเสนอแนวทางพัฒนาที่สามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 2) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิที่เกี่ยวข้อง และทักษะการจัดการกับความรุนแรง ทักษะการให้ความช่วยเหลือ 3) เพื่อสร้างพี่เลี้ยงชุมชนที่สามารถให้ความช่วยเหลือและถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาให้กับผู้อื่น ในชุมชน ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง กลุ่มผู้นำ อาสาชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายท้องถิ่น ในพื้นที่ 4 ภาค จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เชียงราย อุดรธานี และสุราษฎร์ธานี และขยายผลต่อ 9 จังหวัด เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเฉพาะตัวอย่าง แนวทางสนทนากลุ่มมีดังนี้ แนวทางการพัฒนาสาระสำคัญของกฎหมายความรุนแรงในครอบครัวที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงและเหมาะสมกับบริบทสังคมไทยควรเป็นอย่างไร คำสำคัญอะไรที่ควรให้เกิดความเข้าใจตรงกันในแต่ละกลุ่ม เช่น นิยาม ความรุนแรงในครอบครัว และ สาระเกี่ยวกับกฎหมายความรุนแรงในครอบครัว (และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) และสิทธิมนุษยชนที่แต่ละกลุ่มควรรู้ การให้น้ำหนักความสำคัญในแต่ละกลุ่มสาระ ควรให้สาระใดที่เหมาะสม ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชน กับกลุ่มผู้ใหญ่ เช่น ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน แบบประเมินความรู้และความพึงพอใจ การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสะท้อนคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย Wilcoxon Signed Ranks</p> <p>ผลการศึกษาสรุปผลได้ดังนี้ พบว่าความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมและยังมีข้อกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่ควรปรับปรุงแก้ไขในบางมาตราเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงยังมีผู้คนจำนวนมากที่ยังไม่ทราบถึงกฎหมายและสิทธิที่เกี่ยวข้อง เมื่อเกิดความรุนแรงแล้วไม่ทราบว่าจะแจ้งหน่วยงานใด และไม่ทราบว่าจะปรึกษาใคร ผู้วิจัยจึงนำเสนอ ดังนี้ 1) ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 16 2) การให้ความรู้กฎหมายและสิทธิที่เกี่ยวข้องและทักษะการจัดการกับความรุนแรง ทักษะการให้ความช่วยเหลือ ด้วยหลักสูตร (1) การเสริมสร้างเยาวชนพลังบวกร่วมแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (2) การพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนครอบครัวพลังบวก โดยอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ 3 วัน มีเยาวชนที่เข้าอบรม 4 จังหวัดนำร่อง จำนวน 1,175 และกลุ่มแกนนำผู้ใหญ่ จำนวน 235 คน ผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เกิดเยาวชนพลังบวกร่วมยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัวร่วมผลิตสื่อรวม 40 ชิ้นงาน โครงการขับเคลื่อน 1 หมู่บ้าน 1 ตำบล ครอบครัวพลังบวก 2 ตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการสถานศึกษาสีขาว ร่วมยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 6 แห่ง 3) การสร้างพี่เลี้ยงชุมชนที่เข้มแข็งในพื้นที่ 9 จังหวัดขยาย โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ระยะอบรม 2 วัน มี 11 กิจกรรม ผู้เข้าอบรม รวม 357 คน ใน 9 จังหวัด ขยายผล ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีความรู้ เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว การประสานต่อช่วยเหลือ ทักษะในการเป็นที่ปรึกษา เกิดพื้นที่ชุมชนที่นำไปขยายผลเผยแพร่ความรู้ 3 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพ สุพรรณบุรี และพะเยา</p>
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
สุริยเดว ทรีปาตี
สีฟ้า ณ นคร
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1892
1908
-
การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275773
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนา และ 2) เปรียบเทียบภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้มีส่วนได้เสียของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้แก่ 1) นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 182 คน 2) ศิษย์เก่า จำนวน 169 คน และ 3) สถานประกอบการ จำนวน 49 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ เป็นคำถามเกี่ยวกับภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี 1) เชิงพรรณนา 2) เชิงอนุมาน ด้วยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลความ ค่าสมมติฐาน ค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) การจำแนกวิเคราะห์องค์ประกอบตัวแปร</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในทัศนะของผู้มีส่วนได้เสียมีความแตกต่างกัน 2) เมื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาของคณะศิลปศาสตร์ฯ ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มมีระดับความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สำหรับภาพลักษณ์ปัจจุบัน กลุ่มศิษย์เก่าและสถานประกอบการเห็นภาพลักษณ์ด้านบุคลากรมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักศึกษาปัจจุบันเห็นภาพลักษณ์ด้านคุณภาพบัณฑิตมากที่สุด นอกจากนี้ทุกกลุ่มยังคาดหวังให้มีภาพลักษณ์ที่พึงปรารถนาที่ดีขึ้นไปอีก โดยนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าพึงปรารถนาให้มีภาพลักษณ์ด้านความเป็นนานาชาติมากที่สุด และสถานประกอบการพึงปรารถนาให้มีภาพลักษณ์ด้านนวัตกรรมมากที่สุด</p>
เวธนี ประสาทธัมมาภรณ์
จินตวีร์ เกษมศุข
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1909
1922
-
การเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดการสวัสดิการชุมชนในสถานการณ์วิกฤติ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273563
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ของพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนในสถานการณ์วิกฤติ 2. เพื่อเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนในสถานการณ์วิกฤติ และ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนในการณ์การณ์วิกฤติ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 60 คน ประกอบด้วย ตัวแทนคนในชุมชน ตัวแทนกลุ่มสวัสดิการในชุมชน และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้แบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานการณ์ของพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการในชุมชนนั้นเป็นการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นใจแก่คนในชุมชนตำบลน้ำโจ้ ทำให้คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น โดยไม่เน้นเรื่องตัวเงินแบบสงเคราะห์ แต่มุ่งสร้างความมั่นใจอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีความสุข 2. ในการเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนที่ดี คนในชุมชนร่วมกันมีบทบาทพัฒนากระตุ้นชี้นำให้คนในชุมชนเกิดความคิดริเริ่มในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งผู้ด้อยโอกาสจะได้รับความช่วยเหลือให้มีโอกาสมีส่วนร่วมและสามารถทั้งเป็นผู้ให้และผู้รับอย่างมีศักดิ์ศรี 3. สำหรับรูปแบบการสร้างพลังชุมชนเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนในการณ์การณ์วิกฤติ มีกระบวนการ ดังนี้ 1) สร้างการรับรู้แบ่งปันข้อมูลกับคนในกลุ่ม 2) มีเป้าหมายการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน 3) เน้นส่วนร่วมในการทำงาน 4) สร้างเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น ศาสนา (นักพัฒนา)แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีการช่วยเหลือระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนี้ ยังสามารถต่อยอดไปสู่การสร้างอาชีพ และ 5) การจัดการที่ดี มีการบริหารงานอย่างโปร่งใส</p>
ธีระวัฒน์ แก้วลังกา
ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1923
1937
-
การสื่อสารผ่านอัตลักษณ์กับการคงอยู่ของชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนจังหวัดราชบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/274737
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและแนวทางการสื่อสารของชาติพันธุ์ตามแนวชายแดน 2) ศึกษาอัตลักษณ์กับการคงอยู่ของชาติพันธุ์ตามแนวชายแดน และ 3) ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสื่อสารผ่านอัตลักษณ์ที่เสริมสร้างการธำรงทางวัฒนธรรมสู่การกำหนดแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวชายแดนจังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ และค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา ใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทชุมชนส่งผลต่อแนวทางการสื่อสารของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดนเพราะในอดีตกลุ่มชาติพันธุ์ มีการนับถือผีและพลังของธรรมชาติ แม้จะมีการเผยแพร่ศาสนาเข้ามาในชุมชน ผีก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มมาจนถึงปัจจุบัน 2) อัตลักษณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องเล่าและวิถีชีวิตส่งผลต่อการคงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวชายแดน โดยมีการแสดงออกใน 4 กลุ่ม คือ อัตลักษณ์ที่รู้จักกันทั่วไป อัตลักษณ์ที่ปัจจุบันได้เลือนหายไปแล้ว อัตลักษณ์ที่ต้องอาศัยวาระหรือโอกาสพิเศษ และอัตลักษณ์ที่มีการปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนักท่องเที่ยวมีการรับรู้อัตลักษณ์ผ่านสถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม และประเพณี กิจกรรมทางการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตามลำดับ และ 3) การคงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยกันเพื่อให้เกิดการผสมกลมกลืนและการยอมรับระหว่างกัน การมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการยอมรับ มีอำนาจต่อรองเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ การมีส่วนร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อฟื้นฟู เชิดชูภูมิปัญญา การสร้างรายได้จากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน การมีส่วนร่วมกับโรงเรียนเพื่อส่งผลให้เยาวชนมีความสมัครสมานสามัคคี และหวงแหนในความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง และมีส่วนร่วมกับวัดเพื่อส่งผลให้เกิดความผูกพันระหว่างศาสนากับความเชื่อดั้งเดิมเกิดเป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ นำไปสู่การกำหนดแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวชายแดนจังหวัดราชบุรีได้ในอนาคต</p>
อรรณพ แสงภู
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1938
1953
-
การพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/274570
<p>บทความวิจัย เรื่อง การพัฒนาแบบวัดและการเสริมเสร้างวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคะแนนวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรวมและรายด้าน 2) เพื่อพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพโดยรวมและรายด้านได้แก่ ด้านการวางแผนอาชีพ ด้านการสำรวจอาชีพ ด้านการตัดสินใจ และด้านข้อมูลของโลกการทำงานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อประเมินระดับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1, 2 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2, โรงเรียนในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,245 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การวางแผนอาชีพ การสำรวจอาชีพ การตัดสินใจ และข้อมูลของโลกการทำงาน จำนวน 32 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง และค่า T-Score</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า คะแนนวุฒิภาวะทางอาชีพโดยภาพรวมและรายด้านได้แก่ ด้านการวางแผนอาชีพ ด้านการสำรวจอาชีพ ด้านการตัดสินใจ และด้านข้อมูลของโลกการทำงาน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายมีวุฒิภาวะทางอาชีพอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพโดยรวม ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T<sub>14.52 </sub>ถึง T<sub>68.88</sub> (P<sub>.02</sub> - P<sub>97.05</sub>) และเกณฑ์ปกติของแบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนอาชีพ มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T<sub>16.06 </sub>ถึง T<sub>67</sub> (P<sub>.03</sub> - P<sub>95.55</sub>) ด้านการสำรวจอาชีพ มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T<sub>19.20 </sub>ถึง T<sub>67.06</sub> (P<sub>.10</sub> - P<sub>95.60</sub>) ด้านการตัดสินใจ มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T<sub>7.27 </sub>ถึง T<sub>69.06</sub> (P<sub>.01</sub> - P<sub>97.17</sub>) และด้านข้อมูลของโลกการทำงาน มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T<sub>18.20 </sub>ถึง T<sub>66.89</sub> (P<sub>.07</sub> - P<sub>95.44</sub>) และมีระดับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ดังนี้ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวุฒิภาวะทางอาชีพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 25.62) เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนอาชีพ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 29.40) ด้านการสำรวจอาชีพ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 29.72) ด้านการตัดสินใจ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ร้อยละ 29.88) และด้านข้อมูลของโลกการทำงาน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 29.64)</p>
สุมาลี ขำอิน
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์
วิไลลักษณ์ ลังกา
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1954
1970
-
การพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275500
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาเปรียบเทียบพลังสุขภาพจิตระหว่างก่อนและหลัง ของผู้เรียน และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจระบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการ เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 35 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) แบบประเมินพลังสุขภาพจิต 3) แบบประเมินความพึงพอใจ และ 4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นการศึกษาเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับพลังสุขภาพจิตด้วยระบบออนไลน์และการทำกิจกรรมกลุ่มในสถานศึกษา โดยนักเรียนจะได้ทำแบบประเมินพลังสุขภาพจิต Resilience Scale (RS-48, 13-18 years) ของกรมสุขภาพจิต ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (<img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test แบบ paired-sample t test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตที่พัฒนาขึ้นนั้น ทำให้จำนวนนักเรียนในกลุ่มพลังสุขภาพจิตต่ำและปานกลางลดลง แต่กลุ่มพลังสุขภาพจิตสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้น เมื่อนักเรียนได้ทำแบบประเมินพลังสุขภาพจิตอีกครั้งหลังผ่านการเข้าร่วมโครงการวิจัย 2) การเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยระบบออนไลน์และแบบเผชิญหน้า เพื่อเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต ทำให้ระดับพลังสุขภาพจิตของนักเรียนดีกว่าก่อนการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการวิจัย ประเมินความพึงพอใจระบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตให้กับปัจจัยด้านกระบวนการสูงเป็นลำดับแรก โดยมีด้านปัจจัยนำเข้าเป็นลำดับที่สอง และปัจจัยด้านผลผลิตเป็นลำดับที่สามตามลำดับ</p>
ศศิวัฒน์ ตันติบุญยานนท์
ธนะวัฒน์ วรรณประภา
นคร ละลอกน้ำ
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1971
1984
-
การยกระดับคุณภาพสินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275783
<p>งานวิจัยเรื่อง “การยกระดับคุณภาพสินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน 2) พัฒนากลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรม และ 3) ถ่ายทอดและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ โดยศึกษาจากประชากร 3 หมู่บ้าน คือ 1) บ้านไม้สลี 2) บ้านแม่แสม และ 3) บ้านห้วยไร่สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเจาะจง โดยคัดเลือกจากประชากรบ้านไม้สลี จำนวน 72 คน บ้านแม่แสม จำนวน 70 คน และบ้านห้วยไร่ จำนวน 90 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 หมู่บ้าน จำนวนทั้งสิ้น 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมเป็นการนำทุนวัฒนธรรมหรืออัตลักษณ์ที่เป็นสี ลวดลาย ของกลุ่มชาติพันธุ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบเสื้อผ้า นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาตินิยมนำลูกเดือยมาประดับเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่แฝงด้วยความเชื่อของชุมชนตนเอง 2) การพัฒนากลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย การผลิตที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค การสร้างความแตกต่าง การผลิตให้มีคุณภาพ และการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบ และ 3) การถ่ายทอด และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผ้าย้อมจากสีธรรมชาติด้วยทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน โดยที่การถ่ายทอดนั้นเป็นการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการย้อมสีธรรมชาติ และกลไกการตลาด ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ นิสิตวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ ส่วนการสร้างเครือข่ายนั้นเป็นการทำสัญญาข้อตกลงความร่วมมือกับ 7 หน่วยงาน คือ 1) วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน 2) สถาบันวิจัยหริภุญชัย 3) องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนปม 4) โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน 5) สภาวัฒนธรรมตำบลตะเคียนปม 6) สภาวัฒนธรรมอำเภอทุ่งหัวช้าง และ 7) วิสาหกิจชุมชนในตำบลตะเคียนปม</p>
เสน่ห์ ใจสิทธิ์
ญาณิศา โกมลสิริโชค
ไพรินทร์ ณ วันนา
อาเดช อุปนันท์
จันทรัสม์ ตาปูลิง
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
1985
1999
-
การพัฒนาสามเณรภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี ของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/276836
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสามเณรของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร ภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสามเณรของวัดสารอด และ 3) เพื่อพัฒนา และนำเสนอการพัฒนาสามเณรของวัดสารอด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบอริยสัจโมเดลสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตามแนวบันได 9 ขั้น โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นการเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก รวม 30 รูป/คน ประกอบด้วย พระภิกษุสงฆ์ 6 รูป แม่ชี 1 รูป กลุ่มอุบาสก อุบาสิกา 23 คน การวิจัยเชิงคุณภาพลงพื้นที่จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาเกี่ยวกับสามเณรวัดสารอด คือ ขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่ตรงต่อเวลา ไม่สามารถที่จะซักจีวร เก็บจีวร ดูแลรักษาจีวร และเก็บสิ่งของเครื่องใช้ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยตนเองได้ ชอบหลบนั่งหลับในห้องน้ำ ความจำสั้น ขาดทักษะในการใช้ภาษาไทย ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ติดโทรศัพท์มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงติดเกมส์ มีอารมณ์ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังคำสอนพระอาจารย์ต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง ไม่อยู่ในกฎระเบียบ ไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่เคารพพระพี่เลี้ยง กระทำความผิดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน พูดจาหยาบคาย และสามเณรกับพี่เลี้ยงขัดแย้งทะเลาะกันเอง 2. พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสามเณรของ วัดสารอดภายใต้กรอบบวรของวัดสารอด มุ่งที่หลักแห่งอริยสัจ 4 หลักกิจวัตร 10 ประการ มาเป็นเครื่องมือใช้ในการปกครอง และนำเอาเครื่องมือแห่งไตรสิกขา พัฒนาที่ละขั้นที่ละตอนอย่างเหมาะสม กับธรรมชาติของสามเณร และ 3. ผลการพัฒนาสามเณรภายใต้กรอบพลังบวร สามเณรต้องการมีพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิดให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติที่ถูก ใส่ใจดูแลสามเณรให้อยู่ในโอวาท ทำให้สามเณรอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีสามัคคีปรองดอง มีความรู้ มีปัญญาแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ การพัฒนาสามเณร เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพลังบวรที่ต้องร่วมมือกันในการพัฒนาสามเณร ทำให้ได้รูปแบบกอบัวโมเดล “KORBUA Model” มีองค์ประกอบย่อย 8 ประการ ได้แก่ กอบัวที่ 1 K=Knowledge มีความรู้ดี กอบัวที่ 2 O = Operation การจัดการ กอบัวที่ 3 B = Behave พากันประพฤติดี กอบัวที่ 4 R= Relation สานสัมพันธ์ กอบัวที่ 5 U = Unique มีลักษณะเฉพาะ กอบัวที่ 6 A = Assist อนุเคราะห์ผู้อื่น องค์ความรู้ใหม่ในงานวิจัยนี้ คือ เพื่อพัฒนาสามเณรให้มีความเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี ท่าทีน่าเลื่อมใส จิตใจสุขสม และอุดมปัญญา</p> <p> </p>
พระภวัต ธมฺมจาโร เหลืองศิล
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2000
2012
-
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสู่คุณภาพการศึกษายุคประเทศไทย 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273774
<p>วิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสู่คุณภาพการศึกษายุคประเทศไทย 4.0 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 160 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และจากผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 คน เลือกแบบเจาะจง 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง 3) ทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน โดยสมัครใจ และ 4) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินองค์ประกอบ 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.55-0.85 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.51-0.88 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบทดสอบ 5) แบบสอบถามระดับพฤติกรรม 6) แบบสอบถามประสิทธิภาพ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม 2) รูปแบบ ประกอบด้วย 5 ส่วน (1) หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ (2) สาระสำคัญของรูปแบบ (3) วิธีพัฒนาของรูปแบบ (4) การประเมินผลรูปแบบ และ (5) เงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด <br />3) คะแนนประเมินความรู้หลังการพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนการพัฒนา ระดับพฤติกรรมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา คะแนนจำแนกตามระดับการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ประสิทธิภาพด้านความถูกต้องและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดและระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ภูมิศักดิ์ แสนกันยา
เสน่ห์ คำสมหมาย
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2013
2027
-
การพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนง ตามแนวทางพุทธสันติวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/276304
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา สาเหตุของการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนง 2) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนงตามแนวทางพุทธสันติวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา และ 3) นำเสนอการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนงตามแนวทาง พุทธสันติวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คน แล้วสรุปข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. บริบท สภาพปัญหา และสาเหตุของการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนง มีปัญหาด้านการฝึกอบรม การเข้าถึงข้อมูล การประเมินผล การสนับสนุน การจัดการ ในการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอม 2. หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนง ได้แก่ หลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค 3. กระบวนการการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนงตามแนวทางพุทธสันติวิธี ประกอบด้วย 6 กระบวนการ ดังนี้ 1) การพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมในศาลอาญาพระโขนงตามแนวทางพุทธ 2) การพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาตามแนวทางพุทธสันติ โดยการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ากับการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่และการบริหารงานยุติธรรมได้อย่างสำเร็จ 3) การพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมในศาลอาญาตามแนวทางพุทธสันติวิธี (อริยสัจ 4) 4) ผลจากการพัฒนาสมรรถนะการจัดการของบุคลากรในศาลอาญาพระโขนงตามหลักอริยสัจ 4 5) องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาสมรรถนะในการไกล่เกลี่ยคดีอาญาตามแนวทางพุทธสันติวิธี และ 6) การติดตามการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมในศาลอาญาตามแนวทางพุทธสันติวิธี</p>
จาตุรงค์ สรนุวัตร
อดุลย์ ขันทอง
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2028
2040
-
การพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบเพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนบ้านเหมือดแอ่ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมาลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/276972
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบททั่วไป สภาพปัญหาชุมชน และคุณลักษณะจิตอาสาของเยาวชน ในชุมชนบ้านเหมือดแอ่ และแนวคิด ทฤษฎี การพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข ตามหลักวิทยาการร่วมสมัย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข โดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนบ้านเหมือดแอ่ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยวิเคราะห์ตามแบบอริยสัจจ์โมเดล ใช้ขั้นตอนบันได 9 ขั้น ประกอบหลักการคิดเชิงออแบบ ร่วมกับการใช้วิธีการ 5 ป. นำหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 และสติ มาบูรณาการสร้างเครื่องมือในการฝึกอบรม กับกลุ่มทดลอง 16 คน กิจกรรมในการฝึกอบรม 8 กิจกรรม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เยาวชนในชุมชนยังขาดคุณลักษณะความเป็นจิตอาสา ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ใช้แนวคิดทฤษฎีจิตอาสา การพัฒนาการของเด็กและเยาวชน ทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผูอื่น ชุมชน และกระบวนการเสริมสร้างชุมชนสันติสุข เป็นต้น 2) หลักธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบที่นำมาใช้ คือ สังคหวัตถุ 4 และสติ 3) กระบวนการพัฒนาเยาวชนจิตอาสาต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างชุมชนสันติสุข โดยพุทธสันติวิธี ด้วยรูปแบบ <strong>“</strong><strong>YOUTH Volunteering Model” </strong>หลักการสำคัญ ดังนี้ <strong>Y = Yourself</strong> หมายถึง การเริ่มต้นจากตนเองทั้งด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ ด้านจิตวิทยารวมไปถึง การมีคุณธรรมประจำใจที่จะช่วยเหลือบุคคลที่มีความลำบากกว่าตน <strong>O = Opportunity</strong> หมายถึง การมีโอกาสทางการศึกษา ทางสังคม ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างโอกาสให้แก่ผู้อื่นในการสร้างจิตอาสา <strong>U = Unity</strong> หมายถึง ความสามัคคีและการร่วมมือกันให้เกิดผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ <strong>T = Talk</strong> หมายถึง คำพูดเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์อันดีงามในการทำงานจิตอาสา <strong>H = Hospitality</strong> หมายถึง การเสียสละและเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม</p> <p>ผลการประเมินการนำกระบวนการไปใช้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากแบบประเมินหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และ คะแนนเฉลี่ยระยะติดตามผลหลังจบกิจกรรมสูงกว่าหลังการทดลอง แสดงให้เห็นว่า กลุ่มทดลองได้รับการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการเป็นต้นแบบจิตอาสาเพิ่มสูงขึ้น</p>
ปัญจรีย์ จุลไกรอานิสงส์
ถวิลวดี บุรีกุล
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2041
2056
-
การสังเคราะห์นวัตกรรมจิตตปัญญาศึกษาพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/271259
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาองค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ และเพื่อพัฒนานวัตกรรมจิตตปัญญาศึกษาส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมจิตตปัญญาศึกษาพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครู ระยะที่ 2 ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ ณ สถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา ฐานข้อมูลที่มูลที่ใช้ในการสืบค้น 6 ฐาน ได้แก่ Thailis Google Scholar Eric Research Gate Springer และ ProQuest เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์นวัตกรรมจิตตปัญญาศึกษา แบบประเมินความสอดคล้อง แบบสังเกตการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา และแบบสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันจิตตานุภาพ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของจิตวิญญาณความเป็นครูของครูรุ่นใหม่ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การรับผิดชอบหน้าที่ของครู (2) การเสียสละในงานของครู (3) ความเสมอภาคต่อนักเรียน และ (4) ความเชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์ 2) แนวทางการใช้นวัตกรรมจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นการนำนวัตกรรมจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ในเชิงกระบวนทัศน์ 3 ลักษณะ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในรายวิชาชีพครู การจัดอบรมโดยโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษา และ การสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้จิตตปัญญาศึกษาออนไลน์</p>
ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์
ประสาท เนืองเฉลิม
วาสนาไทย วิเศษสัตย์
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2057
2067
-
มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273704
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความหมาย แนวคิดทฤษฎี แนวคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และต่างประเทศ คำพิพากษาของศาล มาตรการทางกฎหมายและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของไทยและต่างประเทศ 4) เพื่อนำมาตรการทางกฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาของต่างประเทศที่มีความเหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้กับกฎหมายไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของไทยและของต่างประเทศ มีการจัดทำสนทนากลุ่ม มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 6 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้พิพากษา 3 คน กลุ่มพนักงานอัยการ 3 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 คน กลุ่มทนายความ 3 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานกระบวนการยุติธรรม 3 คน กลุ่มประชาชนและนักศึกษา 25 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในคดีอาญาได้รับอิทธิพลจากกฎหมายธรรมชาติและได้รับการพัฒนาในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยนำแนวทางการคุ้มครองสิทธิมาใช้ตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังมีการนำหลักกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในปี 2539 มาใช้ในการรับรองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรม 2) พบปัญหา 4 ประการ ได้แก่ การที่ผู้เสียหายไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลความคืบหน้าของคดี การขาดความชัดเจนของกฎหมายในการเรียกค่าสินไหมทดแทน การไม่ปฏิบัติตามหลักสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และข้อยกเว้นในกฎหมายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของผู้เสียหาย ในคดีอาญา 3) เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศและประเทศไทย พบว่ากฎหมายของประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มีระบบที่ชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย โดยเฉพาะ การแยกกระบวนการสอบสวนและพิจารณาคดี การให้สิทธิผู้เสียหายมีส่วนร่วม การจัดตั้งกองทุนชดเชย และการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) เสนอว่าแนวทางจากต่างประเทศสามารถนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในประเทศไทย</p>
พัฒนี พ่วงสมุทร์
รัฐชฏา ฤาแรง
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2068
2083
-
รูปแบบการบริหารจัดการน้ำของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอย่างยั่งยืน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281540
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเรื่องน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. ศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการน้ำของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. ยกระดับและสร้างเครือข่ายการจัดการน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้อาศัยในชุมชน นักวิชาการด้านน้ำ ผู้แทนภาครัฐ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การวิเคราะห์โดยวิเคราะห์เชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานการณ์น้ำในอดีตและผลกระทบเรื่องน้ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่มีหลายปัจจัย ทั้งที่เป็นปัจจัยทางธรรมชาติ และปัจจัยที่เกิดขึ้นจากมาตรการ โดยปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ฝนตกรุนแรงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม ทางระบายน้ำอุดตัน ส่วนปัจจัยที่เกิดขึ้นจากมาตรการ เช่น แผนการจัดการน้ำ การใช้ที่ดิน และการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลกระทบทางตรงที่เกิดจากอุทกภัยส่งผลให้น้ำท่วมอาคาร บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง คนและสัตว์เลี้ยงอาจจะได้รับอันตรายถึงชีวิต ระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณูปการได้รับความเสียหาย เส้นทางคมนาคมอาจถูกตัดขาดเป็นบางพื้นที่ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนได้ร่วมกันวางแนวทางเพื่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การบรรเทาวิกฤติอุทกภัย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ และสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้น 2. ในส่วนของการบริหารจัดการน้ำของชุมชน การวิจัยพบว่ามีการดำเนินการหลายขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจและเก็บข้อมูลการใช้น้ำ การวิเคราะห์แนวโน้มปัญหา การกำหนดหลักการบริหารจัดการน้ำ การสร้างคณะกรรมการน้ำชุมชน รวมถึงการฝึกอบรมสมาชิก และการส่งเสริมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการจัดการน้ำเสียและวางแผนการใช้น้ำในชุมชน 3. การยกระดับการจัดการน้ำในชุมชนใช้เทคนิค 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ในการลดการใช้น้ำ ใช้น้ำซ้ำ และบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อพัฒนาการจัดการน้ำให้ยั่งยืนในพื้นที่ต่าง ๆ</p>
อนุชิดา แสงอรุณ
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2084
2096
-
รูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/276422
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น 4) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนวิถีใหม่ของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 298 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาแนวทางพัฒนา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 6 คน เลือกแบบเจาะจง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 20 คน โดยสมัครใจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 30 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสอบถามประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 ด้านการเรียนการสอน 2) รูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ (1) หลักการและวัตถุประสงค์ (2) วิธีการดำเนินการ (3) กลไกการดำเนินการ (4) แนวทางการพัฒนา และ (5) เงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมพัฒนา สูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมพัฒนา ระดับพฤติกรรมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา 4) ความเหมาะสมและด้านความเป็นประโยชน์ของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด และระดับ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
สุจิตรา หล้าอามาตย์
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2097
2111
-
กระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยพุทธสันติวิธี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/269765
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์ สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็นและแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนาตามแนวทางสมัยใหม่ของ UNESCO 2) ศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนา 3) พัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนา เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตัวอย่างชุมชนที่ใช้ในการวิจัยคือ ตำบลบ้านป้อม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หมู่ที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 จำนวน 2,407 ครัวเรือน มี 3 ศาสนาคือ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม โดยเป็นงานวิจัยรูปแบบอริยสัจโมเดล สอดคล้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ภายใต้กรอบการดำเนินการวิจัย 9 ขั้นตอน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงจำนวน 25 รูป/คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้ 1) สภาพปัญหาของชุมชนคือ (1) พื้นที่สาธารณะบนถนนมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอในการใช้ร่วมกันช่วงน้ำท่วมซึ่งปรากฏทุกปี (2) ทำให้เกิดความขัดแย้งการแย่งการใช้ พื้นที่สาธารณะ (3) ส่งผลทางอารมณ์ ความอดทน อดกลั้น ไม่พูดกัน (4) ขาดผู้นำที่เข้าใจมาช่วยแก้ความขัดแย้ง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องนำแนวคิดสมัยใหม่ที่สอดรับกับปฏิญญาขันติธรรมของ UNESCO มาบูรณาการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีผลตามเป้าหมาย 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนาเพื่อการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติในสังคม คือ ขันติธรรม ได้แก่ การอยู่ร่วมกันในความแตกต่าง การยอมรับกัน การเคารพกัน การอนุญาต ในความแตกต่าง 3) ผู้วิจัยได้พัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนา ตามองค์ประกอบ 9 ประการของขันติธรรม TOLERANCE MODEL ได้แก่ เสริมสร้างขันติ T = Tolerance, ส่งเสริมโอกาส O = Opportunity, สันติภายใน L = Love, สังเคราะห์ร่วมรู้ E = Empathy, สุขสันต์ สังสรรค์ R = Relationship, สร้างสรรค์สิ่งดี A = Advice, สนับสนุนสันติวิธี N = Nonviolent, สื่อสารเสนาะ C = Communication, เสาะหาพยายาม E = Effort ส่งผลในกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนา ให้ชุมชน มีความรักความสามัคคี ทำให้เกิดสันติภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน</p>
อรวรรณ พรจุลศักดิ์
พระธรรมวัชรบัณฑิต
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2112
2124
-
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมการเงินที่มีผลต่อสถาบันทางการเงินไทย ในศตวรรษที่ 21
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/275695
<p>การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการเงินเป็นโอกาสสำคัญสำหรับสถาบันการเงินไทยในการเติบโตและพัฒนา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายที่สถาบันการเงินต้องเตรียมพร้อมรับมือ สถาบันการเงิน ที่สามารถปรับตัวและนำนวัตกรรมมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน นวัตกรรมการเงินที่มีผลต่อสถาบันทางการเงินไทยในศตวรรษที่ 21 ที่น่าสนใจ คือ Robotic Process Automation (RPA) บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมการเงินที่มีผลต่อสถาบันทางการเงินไทยในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) พบว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมการเงิน คือ Robotic Process Automation (RPA) ที่มีผลต่อสถาบันทางการเงินไทยในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การลดต้นทุน การปรับปรุงคุณภาพบริการ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และการปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัล จากข้อค้นพบดังกล่าว มีประโยชน์ คือ การนำ Robotic Process Automation (RPA) มาใช้ในสถาบันการเงินไทยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางการเงิน เพราะนอกจากจะช่วยให้สถาบันการเงินมีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย</p>
วัลลภ สุรทศ
พระปลัดสุระ ญาณธโร
พระครูปริยัติปัญญาโสภณ
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2125
2134
-
กลยุทธ์การตลาดกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/273509
<p>การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวหรือชุมชน ในด้านกลยุทธ์การตลาดกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจในกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการท่องเที่ยว เชิงนิเวศเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับหลักการคิดขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. คือ ทรัพยากรท้องถิ่น ต้องให้คนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล ไม่ทำลายหรือ บุกรุกเพิ่ม แต่นำทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่มาสร้างกิจกรรมทางการท่องเที่ยว และมีระบบการจัดการที่ดีที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์สามารถใช้เป็นจุดขาย มีประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงยังมีภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อสร้างความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวอื่น สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สามารถสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยว ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว ชุมชน และชาวบ้านให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ การเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวหรือชุมชนต้องให้ความสำคัญ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม</p>
ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน
ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล
วิณาภรณ์ แตงจุ้ย
สฤษดิ์ ศรีโยธิน
จิรัฐ ชวนชม
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2135
2147
-
การเจรจาไกล่เกลี่ยข้ามวัฒนธรรม คดีนักท่องเที่ยว
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281763
<p>บทความเรื่องนี้มุ่งเน้นให้ความรู้ความสำคัญกับการ เจรจาไกล่เกลี่ยในคดีที่นักท่องเที่ยวที่มีปัญหา ทางคดีไม่ว่าจะเป็นคดีอาญา การลักขโมย การโกง อุบัติเหตุ ฯลฯ คดีแพ่ง ผิดสัญญาการเข้าพัก คดีเช่าเรือ เช่ารถ เป็นต้น ที่เกิดขึ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยต้องมีความเข้าใจบริบทของความแตกต่างตั้งแต่การสื่อสารด้วย ภาษาพูด วิธีการพูด เช่นน้ำเสียงกระโชกโฮกฮาก น้ำเสียงดุดันเช่นชาวเกาหลี หรือบางประเทศวิธีการพูดค่อย ๆ พูด เช่น ชาวญี่ปุ่น เป็นต้น ยังมีภาษากาย และการแสดงออก ท่าทาง สีหน้า ทุบโต๊ะ ไม่ให้ความเคารพสถานที่ วัฒนธรรมที่ต่างในความเชื่อ ในศาสนาที่ต่างกัน ความนึกคิดวิธีปฏิบัติธรรมเนียมที่ต่างกัน ผู้ไกล่เกลี่ยคดีเหล่านี้ต้องเข้าใจบริบทของชนชาติต่าง ๆ ที่เช้ามาสู่กระบวนการนี้ด้วย เพื่อให้การเจรจาไกล่เกลี่ย ประสบผลสำเร็จได้สร้างความเป็นมิตรที่ดีต่อชาวต่างชาติที่ต้องเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม การเข้าใจในธรรมเนียมวัฒนธรรมของชาวต่างชาติจะทำให้การเจรจาระหว่างคู่พิพาทที่เป็นชาวไทยง่ายขึ้น เพราะ ผู้เสียหายที่เป็นต่างชาติมักจะคิดว่าคนไทยที่มาไกล่เกลี่ยจะช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน ดังนั้น ความเป็นกันเอง และการเข้าถึงวัฒนธรรมที่ต่างกัน จึงทำให้ผู้เสียหายมีความรู้สึกได้รับความเป็นกลางจากผู้ไกล่เกลี่ย และทำให้ชาวต่างชาติยินดีที่จะเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยและเมื่อคดีสำเร็จทุกฝ่ายได้รับความพึงพอใจจะทำให้ชาวต่างชาติกลับมาเที่ยวเมืองไทยอีกครั้งเป็นผลดีต่อประเทศชาติบ้านเมือง</p>
สมเกียรติ รัตนโอภาส
Copyright (c) 2024 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-31
2024-10-31
12 5
2148
2157