https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/issue/feed
วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
2025-02-28T21:37:36+07:00
พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. (หรรษา ธมฺมหาโส)
Journalpeacemcu@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>ISSN: 2985-1556 (Online) </strong></p> <p> <strong>วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้คณาจารย์บุคลากรเจ้าหน้าที่ นิสิต และผู้สนใจ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้เสนอและเผยแพร่บทความบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปริทรรศน์ และบทความพิเศษ ที่ได้มาตรฐานสู่สาธารณชน รวมทั้งยกระดับผลงานทางวิชาการให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายถอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เปิดรับบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา สันติศึกษา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีละ 6 ฉบับ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> </p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร</strong></p> <p> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปรัชญา สันติศึกษา สังคมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาชุมชม การศึกษา จิตวิทยา และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> <p> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p> 3) บทความปริทรรศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p> 4) บทความพิเศษ (Special Article) ในวาระครบรอบหรือในโอกาสสำคัญต่างๆ</p> <p> </p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร</strong></p> <p> วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ ดังนี้</p> <p> ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ </p> <p> ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน </p> <p> ฉบับที่ 3 พฤษภาคม - มิถุนายน </p> <p> ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - สิงหาคม </p> <p> ฉบับที่ 5 กันยายน - ตุลาคม</p> <p> ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม</p> <p> ทั้งนี้ เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป</p> <p> เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN) ประเภท Online ของวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร คือ ISSN: 2985-1556 (Online) เผยแพร่สืบค้น และดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ <u><a href="https://so03.tci-thaijo.org/index.%20php/journal-peace">https://so03.tci-thaijo.org/index. php/journal-peace</a></u></p> <p> </p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></p> <p> วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ โดยบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้บทความจากผู้นิพนธ์ภายในหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ส่วนบทความจากผู้นิพนธ์ภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหรือภายนอกหน่วยงานหรือสถาบันของวารสารฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขานั้นๆ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์</p>
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/276987
กระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขภายใต้พลังบวร โดยพุทธสันติวิธี
2024-05-23T14:51:08+07:00
ณัฐกิตติมา จิตรานุเคราะห์
123456@gmail.com
อุทัย สติมั่น
uthaisati@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา สาเหตุ ความต้องการจำเป็นด้านครอบครัวสันติสุขในเขตพื้นที่แขวงบางขุนนนท์ กรุงเทพมหานคร และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขภายใต้พลังบวรโดยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขภายใต้พลังบวรโดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในรูปแบบอริยสัจโมเดล มีขั้นตอนวิจัยตามแนวทางบันได 9 ขั้น การสัมภาษณ์เชิงลึก 3 กลุ่ม 1. กลุ่มประชากรในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) 22 คน 2. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 16 รูป/คน 3. สนทนากลุ่มย่อย 6 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการดำเนินชีวิตร่วมกันของครอบครัวในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) มีปัญหาจากสถานะทางเศรษฐกิจ การขาดศีลธรรม ขาดความซื่อสัตย์และขาดความตระหนักในหน้าที่ ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจและร่างกาย นำมาซึ่งครอบครัวแตกแยก 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข คือ หลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เพื่อให้การดำเนินชีวิตร่วมกันในครอบครัวระหว่างคู่สมรสได้รู้จักความซื่อสัตย์ อดทนก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรค ให้อภัยฝึกตนข่มใจ รู้จักเสียสละ ใส่ใจในบริบทรอบ ๆ ตัวของทั้งสองฝ่าย 3) กระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข ผ่านกิจกรรมเรียนรู้ 5 กิจกรรม เกิดองค์ความรู้ใหม่ คือ ครอบครัว สุกหรรษา โมเดล โดยการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) รู้จักใส่ใจ ยอมเสียสละ มีความรู้สึกเชิงบวก เห็นใจระหว่างกัน 2) รู้จักเปิดใจ มีความมั่นคงทางจิตใจ พูดจริงทำจริง มีความรักความอบอุ่น การดูแลด้านจิตใจกัน 3) รู้จักเข้าใจ รู้จักอดทนต่อสิ่งเย้ายวนใจ เข้าใจในตัวตนหาทางออกของปัญหาชีวิตได้ 4) รู้จักวางใจ เกิดสัมพันธภาพที่ดียิ่งขึ้น มีความเห็นอก เห็นใจกัน 5) กิจกรรมเรียนรู้สุกหรรษา เกิดพันธะสัญญาช่วยสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง ช่วยเหลือเกื้อกูล ในการดำเนินชีวิตครอบครัว ให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืน</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/282375
รูปแบบการจัดการเสนาสนะเพื่อการเยียวยาและฟื้นฟูสุขภาพของภิกษุชราภาพในสังคมไทย
2024-11-12T15:09:42+07:00
ณัฐชยา กำแพงแก้ว
sisi.nutchaya@gmail.com
ปริญญา ตรีธัญญา
sisi.nutchaya@gmail.com
<p>การศึกษาเรื่อง “รูปแบบการจัดการเสนาสนะเพื่อการเยียวยาและฟื้นฟูสุขภาพของภิกษุชราภาพในสังคมไทย” เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดเสนาสนะ การหารูปแบบการจัดการเสนาสนะ และเสนอรูปแบบการจัดเสนาสนะของภิกษุชราภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นพระภิกษุที่จำพรรษาในวัดเขตจังหวัดนครปฐม จำนวน 40 รูป/คน เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถาม 2 ชุด ซึ่งในแบบสอบถามชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามสำหรับภิกษุชราภาพและภิกษุผู้ดูแลภิกษุ ชราภาพ ส่วนแบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์ภิกษุชราภาพ ผู้ดูแลภิกษุชราภาพ และเชี่ยวชาญด้านการจัดเสนาสนะให้กับภิกษุชราภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพเสนาสนะของภิกษุชราภาพมีผลการประเมินตนเองด้านการจัดเสนาสนะภายในกุฏิ พบว่าส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสองชั้น ลักษณะของโครงสร้างของห้องน้ำเป็นห้องน้ำอยู่ห้องเดียวกัน ส่วนการจัดเสนาสนะภายนอกกุฏิ พบว่าลักษณะทางเดินที่เป็นคอนกรีต ไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณทางเดิน 2) การจัดเสนาสนะภายในกุฏิและภายนอกกุฏิต้องมีความสะอาด มีระเบียบ มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีความสว่าง 3) แนวทางการพัฒนาการจัดเสนาสนะที่เหมาะสมกับภิกษุชราภาพ ประกอบด้วย 1. สนับสนุนให้มีการปรับปรุงและพัฒนาเสนาสนะให้เหมาะสมสอดคล้องกับการดูแลภิกษุชราภาพมีออกแบบเสนาสนะให้มีความเหมาะสมกับภิกษุชราภาพ 2. ส่งเสริมให้มีหน่วยงานเฉพาะที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลภิกษุชราภาพอย่างครบวงจร และ 3. สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายในการดูแลภิกษุชราภาพในวัด ด้วยการอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดูแลภิกษุชราภาพ</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/277260
การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อการให้การบริหารนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพ : ศึกษากรณีสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
2024-04-29T11:13:20+07:00
พระเจตนิพิฐ พุทฺธญาโณ กาวิละ
jetnipit.kaw@mcu.ac.th
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ
jetnipit.kaw@mcu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักสติตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อเสนอการประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อการให้บริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพของหลักสูตรสันติศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (แบบภาคสนาม) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้รับบริการ จำนวน 13 รูป/คน กลุ่มผู้ให้บริการ จำนวน 6 รูป/คน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 5 รูป/คน รวม จำนวน 24 รูป/คน วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทสภาพปัญหาความต้องการและแนวคิดทฤษฎีการบริการของเจ้าหน้าที่หลักสูตรสันติศึกษาในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่การดูแลบริการนิสิตจำนวนมากทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ทำให้การดูแลบริการไม่ทั่วถึงได้ การให้บริการนิสิตต้องการให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด เจ้าหน้าที่ควรมีสติเป็นอย่างมาก มีสติตั้งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ การสื่อสาร การประสานงาน รวมถึงการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิสิต ต้องการให้มีการบริการผ่านทางการสื่อสารกลุ่มไลน์ใช้เทคโนโลยี ด้วยมีสติมุ่งมั่นเพื่อให้บริการประทับใจ 2) สติ หมายถึง ความระลึกได้ การมีสตินั้นคอยกำกับไม่ให้หลงลืม ระลึกรู้ไม่เลื่อนลอย สติเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงและเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ สติเป็นเกราะกันภัยไม่ให้เกิดปัญหา มีศรัทธาในการบริการ ไม่ทำความเบียดเบียนพยาบาท มีความพากเพียรในการทำงานและเป็นผู้มีปัญญา และ 3) การประยุกต์หลักสติให้เอื้อต่อการบริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพของหลักสูตรสันติศึกษา นั้นสามารถสรุปได้ 8 ประการ ได้แก่ (1) มีสติคอยกำกับไม่ให้หลงลืมไม่ให้เลื่อนลอยในการงานบริการนิสิตด้วยความรับผิดชอบ (2) มีสติยึดเหนี่ยวจิตใจศรัทธาแน่วแน่ในงานบริการนิสิตด้วยหัวใจ ไม่มีความคับแค้นใจบริการนิสิตด้วยใจ ที่เป็นสุข (3) มีสติตื่นตัวกับการบริการนิสิตด้วยความกระตือรือร้นเพื่อความอำนวยสะดวกรวดเร็ว (4) มีสติ การสื่อสารในการบริการนิสิตด้วยทักษะการสื่อสารเพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ดี ไม่กระทบกระทั้ง ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง (5) มีสติตั้งมั่นทำงานบริการนิสิตตามหน้าที่รับผิดชอบโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น (6) มีสติในการแสดงออกในการให้บริการนิสิตด้วยความสำรวมยิ้มแย้มแจ่มใส (7) มีสติตั้งจิตแน่วแน่ในความดี มีศีล มีความเพียรเพื่อการบริการนิสิตด้วยความโปร่งใส และ (8) มีสติอยู่เป็นสุขเพื่อการบริการนิสิตในปัจจุบัน ด้วยความเป็นผู้มีปัญญา </p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281224
กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง โดยพุทธสันติวิธี
2025-01-14T14:27:18+07:00
พิมพ์ภาวี สารินวงศ์
Uthaisati@gmail.com
อุทัย สติมั่น
uthaisati@gmail.com
<p>งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดี หมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง โดยพุทธสันติวิธี” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา บริบท ความต้องการจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง และ 3) เพื่อเสนอกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนงโดยพุทธสันติวิธี เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 25 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม จากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนทั้งสิ้น 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ ดังนี้</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหา บริบท ความต้องการจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องตามศาสตร์สมัยใหม่ พบว่า ปัญหาการเจรจาไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง คือประชาชนทั่วไปยังขาดความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ประนีประนอม บางท่านยังไม่เข้าใจในหลักกฎหมายว่าเราสมควรและไม่สมควรทำอะไร จำเลย คดีหมิ่นประมาทอาจเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบหรือการขาดสติ คู่ความมีอคติกับคู่กรณี ผู้ประนีประนอมต้องค้นหาความจริงว่าคู่กรณีมีความขัดแย้งเรื่องอะไร บางกรณีเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง มีความจำเป็นที่ควรจะทำ ผู้ประนีประนอมบางท่านทำเกินหน้าที่ ว่า สาเหตุแห่งคดีหมิ่นประมาท แสดงให้เห็นว่าผู้ละเมิดกระทำวจีทุจริต 4 ประการ คือการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ 2) หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง ได้แก่หลักวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และท่านผู้รู้ไม่ติเตียน วาจาประกอบด้วย 5 ประการอะไรบ้าง คือ 1. พูดถูกกาล 2. พูดคําจริง 3. พูดคําอ่อนหวาน 4. พูดคําประกอบด้วยประโยชน์ 5. พูดด้วยเมตตาจิต และหลักสติ ขันติ และสันติเป็นหลัก 3) กระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง “กรณีคดีหมิ่นประมาท” ของศาลอาญาพระโขนง โดยพุทธสันติวิธี ตามหลัก LOTUS Model ซึ่งประกอบไปด้วย L = พูดด้วยเมตตาจิต O = พูดถูกกาล T = พูดคำจริง U = คำพูดที่ประกอบด้วยประโยชน์ S = พูดคำอ่อนหวาน ทั้งนี้ โดยมีกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย 5 ขั้นตอน 1. เตรียมตัว เตรียมความพร้อมโดยการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2. เริ่มประชุม การเปิดประชุมไกล่เกลี่ยนัดแรก 3. เข้าสู่การแก้ปัญหา การค้นหาประเด็นข้อพิพาทและความต้องการของคู่พิพาท 4. เสนอทางออก การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งในประเด็นพิพาท และ 5. ปิดการเจรจาไกล่เกลี่ย การจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งหลักการทั้งสองอย่างมีความสอดคล้องและสามารถบูรณาการเป็นแนวปฏิบัติได้เป็นอย่างดี โดยมีหลักสติ ขันติ และสันติเป็นหลักธรรมสนับสนุน</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281184
การจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี โดยพุทธสันติวิธี
2025-01-17T10:06:10+07:00
ณัฐปุรเชษฐ์ สุขสมบัติวัฒนา
nawadpoorached@gmail.com
อุทัย สติมั่น
uthaisati@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหาความต้องการเกี่ยวกับการจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลีและแนวคิดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี 2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี และ 3. เพื่อนำเสนอการจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลีโดยพุทธสันติวิธี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. พิธีกรรมบวงสรวงกับยุคปัจจุบันพบว่า มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากดั้งเดิมและมีแนวโน้มเป็นไปในลักษณะส่งเสริมความเชื่อที่ผิด หรือการนำไปผูกโยงกับเรื่องงมงาย หรือเห็นคุณค่าของวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ รวมถึงไม่เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อของมนุษย์ในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือ เพื่อขอพร ขอบคุณ หรือเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสิ่งเหล่านั้น พิธีกรรมนี้มีรากฐานมาจากความเชื่อส่วนบุคคล ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคน โดยมีวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมบวงสรวงส่วนใหญ่ก็มักจะมีแนวโน้มหรือโน้มเอียงไปในด้านของการ 1) ขอพร 2) ขอบคุณ 3) แก้บน 4) ป้องกันภัย และ 5) สร้างขวัญกำลังใจ 2. หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลี ผลการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อจัดการวัฒนธรรมในพิธีกรรมการทำเทวตาพลี พบว่า 1) หลักโภคอาทิยะ หรือ โภคาทิยะ 5 ข้อว่าด้วยการทำพลี 5 อย่าง ข้อว่าด้วยเทวตาพลี ถวายเทวดา คือ สักการะบำรุงหรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชาตามความเชื่อถือ 2) หลักอนุสติ 10 ข้อว่าด้วยเทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา คือ น้อมจิตระลึกถึงเทวดาทั้งหลาย ที่ตนเคยรู้และพิจารณาเห็นคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดานั้น ๆ ตามที่มีอยู่ในตน และ3) หลักไตรสิกขา คือ ทาน ศีล ภาวนา 3. การจัดการพิธีกรรมการทำเทวตาพลีโดยพุทธสันติวิธี พบว่าควรประกอบไปด้วยหลัก 5 ประการ ดังนี้ 1) รักษาแก่นแท้ 2) ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง 3) สร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วม 4) ใช้เทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่ และ 5) ผสานกับหลักไตรสิกขา </p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281160
กระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตร โดยพุทธสันติวิธี
2024-09-05T15:13:02+07:00
จตุรงค์ วงค์สุวรรณ
jaturongwong217@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็นต้องการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตร 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตร โดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของการสื่อสารของบุคลากร ประกอบด้วย 1) บุคลากรขาดวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมในองค์กร 2) บุคลากรขาดทักษะการสื่อสารอย่างเป็นมืออาชีพ 3) บุคลากรขาดทักษะในการสื่อสารเมื่อเกิดความขัดแย้งในการสื่อสารระหว่างกัน 4) บุคลากรขาดเครื่องมือการทำงานเป็นทีมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากรในองค์กร 5) บุคลากรขาดการคุมควบคุมอารมณ์ในระหว่างการสื่อสารด้วยอารมณ์ในทางที่ลบ 6) บุคลากรไม่มีพื้นฐานของการสื่อสารตามแนวทางของพุทธสันติวิธี 2) หลักพุทธสันติวิธีที่จะเอื้อต่อกระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตรโดยพุทธสันติวิธี มีหลักสังคหวัตถุธรรม 4 เป็นหลักพุทธสันติวิธีสามารถไปแก้สาเหตุของความทุกข์กลุ่มเป้าหมาย วางตนเป็นต้นแบบนักสื่อสารมืออาชีพ โดยใช้หลักอริยสัจ 4 และมีการวัดผลการสื่อสารของบุคลากรผ่านภาวนา 4 3) กระบวนการพัฒนาการสื่อสารของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตรโดยพุทธสันติวิธี โดยมีองค์ความรู้ใหม่เป็น SM MR CF RT HD Model</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281547
ยันต์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ คุณค่า และกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะในล้านนา
2025-01-22T13:29:46+07:00
สุบิน ปวงดอกแดง
Subin2570@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ ความเป็นมาและคุณค่าของยันต์ล้านนา 2) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะจากภูมิปัญญายันต์ในล้านนา และ 3) ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปะเชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญายันต์ล้านนา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลทางด้านเอกสารที่เกี่ยวข้อง ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา ความเชื่อภูมิปัญญาล้านนา เครื่องรางของขลัง การประกอบพิธีกรรมของชาวล้านนารวมถึงบุคคลที่สนใจในยันต์ล้านนา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จากความเชื่อของชาวล้านนาที่มีต่อยันต์ล้านนา พบว่า ความเชื่อเป็นการสืบทอดที่เกิดจากภูมิปัญญาในเรื่องของยันต์ล้านนาที่ใช้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา จากการใช้อักขระรวมถึงตัวอักษรล้านนา การใช้ยันต์ล้านนาเพื่อเป็นเครื่องราง ของขลังที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ใช้คุ้มครองและป้องกันตัวจากอันตรายตามความเชื่อของทางล้านนา โดยยันต์ล้านนาส่งผลทางด้านจิตใจให้มีพลังการดำเนินชีวิตที่มีแต่ความสุข จากยันต์ล้านนาสู่งานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่ผสมผสานความเชื่อในเรื่องจาก ผี พราหมณ์ พุทธ อันเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน 2. กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะจากภูมิปัญญาล้านนา พบว่า เป็นกระบวนการที่นำเอาองค์ความรู้ทางด้านศิลปะพื้นบ้านของล้านนาที่เกี่ยวข้องของการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา ด้วยการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์ความเป็นล้านนา โดยเริ่มจาก “บุคคล” สู่ “วัด” “ชุมชน” และ “พื้นที่สาธารณะ” มีการพัฒนาศิลปะและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยันต์ล้านนาด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ เป็นการอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา ด้วยการพัฒนาศักยภาพและภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เกิดจากบุคคลจากความเชื่อ พิธีกรรม รวมถึงคำสอนที่ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในเรื่องของยันต์ล้านนา ซึ่งงานสร้างสรรค์เป็นการเปลี่ยนแปลงด้วยการพัฒนาที่ยังใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบตามข้อจำกัดและข้อปฏิบัติ ที่ยังคงด้วยยึดถือมาตามความเชื่อและทัศนคติของความเป็นล้านนา 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปะเชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญายันต์ล้านนา พบว่า ยุคสมัยเกิดการเปลี่ยนแปลง จากรูปแบบเดิมของยันต์ล้านนาที่เขียนลงบน กระดาษสา ใบลาน แผ่นตอง บนผ้า เขาสัตว์ และไม้ ด้วยข้อจำกัดของขนาดที่ใหญ่รวมถึงลวดลาย จึงเกิดแนวคิดของการพัฒนารูปแบบให้มีขนาดเล็กสามารถพกพาได้ง่าย แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนา เช่น การสร้างยันต์ล้านนาที่มีรูปแบบเดิมเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ที่มีความสวยงาม มีการเรียนรู้ที่เกิดจากภูมิปัญญายันต์ล้านนาจากครูอาจารย์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์ของผู้ถือยันต์ล้านนา จึงเกิดเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปะเชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญายันต์ล้านนาด้วยการสร้างทัศนคติความเชื่อให้กับบุคคลรุ่นใหม่ที่สนใจในงานศิลปะของยันต์ที่ยังคงมีเอกลักษณ์เป็นทั้งงานศิลปะที่ทรงคุณค่าและควรรักษาสืบไป</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/282374
การพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากเพื่อการดูแลภิกษุชราภาพแบบมีส่วนร่วมในสังคมไทย
2024-11-12T15:15:51+07:00
กฤติกา ชนะกุล
kridtika31@gmail.com
พระครูธรรมธรปุญญาพัฒน์ แสงวงค์ดี
Kridtika31@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์งานวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพการดูแลภิกษุชราภาพของพระคิลานุปัฏฐาก 2) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากในการดูแลภิกษุชราภาพ 3) เพื่อเสนอแนวทางการดูแลภิกษุ ชราภาพของพระคิลานุปัฏฐาก การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลจาก บทสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา ของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพระคิลานุปัฏฐากในวัด จำนวน 10 รูป บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 4 คน นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา จำนวน 4 คน จำนวน 18 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อการดูแลพระภิกษุชราภาพของพระคิลานุปัฏฐากได้ใช้ความรู้และทักษะพื้นฐานที่ได้รับการอบรมมาในการดูแลเบื้องต้น โดยเฉพาะในด้านการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฉันท์ยา การป้องกันโรคติดต่อ และการเฝ้าดูอาการเบื้องต้น ส่วนระดับศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากในการดูแลภิกษุ ชราภาพ พระคิลานุปัฏฐากมีศักยภาพในการดูแลพระภิกษุชราภาพ โดยมีความรู้ เช่น ความรู้เรื่องโรค ทักษะ เช่น การวัดความดันให้กับพระภิกษุชราภาพ และคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น การทบทวน องค์ความรู้ สำหรับแนวทางการดูแลภิกษุชราภาพของพระคิลานุปัฏฐาก ได้แก่ ด้านการเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง และฝึกทักษะทางการแพทย์ เช่น การวัดค่าความดันและน้ำตาลในเลือด รวมถึงการดูแลผู้ป่วย ติดเตียง เป็นต้น</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281548
การจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์บนฐานระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธ
2025-01-22T13:27:00+07:00
พระปลัดพุฒิพงษ์ พุทฺธิวํโส กล่ำทวี
phuttiphong.kla@mcu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ระบบนิเวศภูมิปัญญาของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อการจัดการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บนฐานระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธของชุมชน ในจังหวัดอุทัยธานี และ 3. เพื่อนำเสนอฐานข้อมูลและองค์ความรู้จากระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธสู่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติการด้วยการจัดเวทีเสวนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ การเสริมสร้างจิตสำนึกของชุมชนในการจัดการภูมิปัญญา ด้านสมุนไพรในแต่ละพื้นที่ เพื่อสรุปประเด็น รูปแบบ วิธีการ หาแนวทางการส่งเสริม การสร้างจิตสำนึก กิจกรรมในการดำเนินงานจัดการภูมิปัญญา ด้านสมุนไพร จำนวน 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วม 61 ท่าน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การสังเคราะห์องค์ความรู้ระบบนิเวศภูมิปัญญาของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี ชุมชนในจังหวัดอุทัยธานีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและถ่ายทอดภูมิปัญญาเชิงพุทธเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และหัตถกรรม ซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจชุมชน 2. การจัดการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บนฐานระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี สมุนไพรเป็นทรัพยากรสำคัญของชุมชนทั้งในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการพูดคุยและการสอน โดยบางชุมชนมีการจดบันทึกข้อมูลสมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา นอกจากนี้ การบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้สมุนไพรอย่างยั่งยืน 3. การนำเสนอฐานข้อมูลและองค์ความรู้จากระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธสู่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ การนำเสนอฐานข้อมูลและองค์ความรู้จากระบบนิเวศภูมิปัญญาเชิงพุทธสู่ชุมชนเชิงสร้างสรรค์สามารถสร้างความเข้าใจและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้เชิงสร้างสรรค์เพื่อให้ชุมชนเข้าใจและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่บูรณาการภูมิปัญญากับการศึกษา ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/283808
รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชน ยุคเปลี่ยนผ่าน
2024-11-27T16:28:46+07:00
ปิยวัน เครือนาค
piyawan.kru@outlook.rmutr.ac.th
วิรัตน์ มณีพฤกษ์
kumod.piyawan@gmail.com
ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร
piyawan.kru@outlook.rmutr.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชนยุคเปลี่ยนผ่าน 2) เพื่อสร้างแบบจำลองสมการโครงสร้างช่องว่างทางดิจิทัล 3) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงช่องว่างทางดิจิทัล โดยใช้สถิติการวิจัยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์องค์ประกอบของช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชนยุคเปลี่ยนผ่าน โดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการวิเคราะห์ช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชน ผู้วิจัยได้กำหนด 6 องค์ประกอบหลัก และ 30 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ การมีภาวะผู้นำการบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร การสร้างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) แสดงว่า รูปแบบที่พัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างดี โดยค่าดัชนีต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เช่น ค่า RMSEA=0.002 และ p-value=0.427 3) ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบ ได้รับการประเมินในระดับมาก โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การมีภาวะผู้นำ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลที่ได้คะแนนสูงสุด การวิจัยนี้จึงชี้แนวทางสำคัญในการบริหารจัดการช่องว่างทางดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาเอกชนยุคดิจิทัล</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281137
ของเล่นพื้นบ้าน : ประวัติ คุณค่า และการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา
2025-01-22T13:42:21+07:00
ฉัตรชัย อุประแสน
chatchai062@hotmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ คุณค่า การผลิตของเล่นพื้นบ้านและการสร้างมูลค่าเพิ่มในวัฒนธรรมล้านนา 2) พัฒนาของเล่นพื้นบ้านเชิงสร้างสรรค์ในวัฒนธรรมล้านนา 3) ส่งเสริมกลไกการตลาดของเล่นพื้นบ้านเชิงสร้างสรรค์ในวัฒนธรรมล้านนา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เป็นแบบสัมภาษณ์ กลุ่มชุมชน ภาครัฐ และนักปราชญ์ชุมชน แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม เป็นแนวคำถามในการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพ ที่สามารถให้คำแนะนำสิ่งที่สร้าง ประดิษฐ์ ของเล่นครอบคลุมตั้งแต่ประวัติ อันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม และสามารถสร้างการเรียนรู้นวัตกรรม มีการพัฒนาให้เกิดการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. ของเล่นพื้นบ้านล้านนาเป็นกิจกรรมนันทนาการที่สะท้อนวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชน มีคุณค่าในการพัฒนาทักษะทางกายและจิตใจ อีกทั้งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และจินตนาการ โดยเฉพาะของเล่นที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติภายในชุมชน 2. การพัฒนาของเล่นพื้นบ้านใน 3 จังหวัด ได้แก่ ของเล่นคนเลื่อยไม้ จังหวัดเชียงราย, ของเล่นของโหว้ จังหวัดเชียงใหม่, และของเล่นม้า ไม้ไผ่ จังหวัดลำพูน เป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม เพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ และขยายโอกาสสู่ตลาด ผ่านการออกแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้วัสดุท้องถิ่นและสร้างแบรนด์ของเล่นชุมชน 3. การส่งเสริมกลไกตลาดของเล่นพื้นบ้านต้องพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพิ่มมาตรฐานคุณภาพ และใช้ช่องทางออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ของเล่นพื้นบ้านล้านนาจึงไม่เพียงเป็นมรดกวัฒนธรรม แต่ยังเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่สามารถขยายตัวในระดับสากลได้</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281537
การพัฒนารูปแบบการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบครบวงจร ในจังหวัดสมุทรปราการ
2025-01-30T16:09:27+07:00
สาลินี สมบูรณ์ไพศาล
ajsalineemmtc@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. ศึกษาปัญหาและผลกระทบทรัพยากรชายฝั่ง 2. พัฒนารูปแบบการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบครบวงจรอย่างสร้างสรรค์ ในตำบลทรงคนอง อำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และ 3. เสริมสร้างเครือข่ายด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเลแก่หน่วยงานภาค รัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในจังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัย แบบผสมผสาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากเจ้าหน้าที่รัฐ เอกชน และประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์จากเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและผลกระทบทรัพยากรชายฝั่งใน ตำบล ทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า 1. มลพิษทางน้ำ: น้ำน้ำเสียจากโรงงาน อุตสาหกรรม และชุมชนถูกปล่อยโดยไม่มีการบำบัดที่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล 2. มลพิษทางอากาศ: มีค่า PM 2.5 อยู่ในระดับสูงจากกิจกรรมอุตสาหกรรมและการขนส่ง ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน 3. มลพิษขยะ พบการจัดการขยะ ไม่เป็นระบบ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลแบบครบวงจรอย่างสร้างสรรค์ ใน ตำบล ทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านกิจกรรมรณรงค์ เช่น Big Cleaning Day และการประกวดสื่อสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทุกภาคส่วนร่วมกันวางแผนพัฒนาระดับชุมชน อำเภอ และจังหวัด รวมถึงสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมและแนวทางการบริหารจัดการขยะผ่านโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งยังพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สถานีวัดระดับน้ำออนไลน์ ระบบแจ้งเตือนมลพิษ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการออกแบบนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 3. การเสริมสร้างเครือข่ายด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเลแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต้องอาศัยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจชีวภาพ และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน พร้อมทั้งพัฒนากิจกรรมอบรมและสัมมนาให้เหมาะสมกับทุกช่วงวัย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ละคร ภาพยนตร์ และโฆษณา โดยร่วมมือกับบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างครบวงจร สุดท้ายคือการปรับปรุงกฎหมายและมาตรการทางภาษีให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วน โดยมีการจัดทำแผนแม่บทด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน อำเภอ และจังหวัดให้เกิดผลในระยะสั้นและระยะยาว</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280961
กระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี
2024-11-11T14:27:07+07:00
ปุญญาพร ธนัชชวลัย
dadawinny@yahoo.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความจำเป็นต้องการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พบว่า (1) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยภายใน (สันติภายใน) เนื่องจากมุ่งเน้นแต่การไกล่เกลี่ยภายนอก (2) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยที่เพิ่งขึ้นทะเบียน ยังขาดทักษะในการไกล่เกลี่ย เนื่องจากมีชั่วโมงในภาคปฏิบัติน้อย ทำให้ขาดความมั่นใจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (3) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยยังขาดความรู้เรื่องขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ถูกต้องเป็นระบบ (4) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยยังขาดเทคนิควิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เป็นมืออาชีพ (5) ผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยยังเขียนบันทึกข้อตกลงไม่ถูกต้อง 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท พบว่าหลักไตรสิกขามุ่งพัฒนาคุณลักษณะของผู้สูงวัยเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มุ่งพัฒนาผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยให้สามารถไกล่เกลี่ยเป็นมืออาชีพ โดยใช้หลักพุทธสันติวิธีในการวิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ และมีผลลัพธ์ของการพัฒนาผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านภาวนา 4 ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านกายภาพ ผลลัพธ์ด้านพฤติภาพ ผลลัพธ์ด้านจิตตภาพ และผลลัพธ์ด้านปัญญาภาพของผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 3) กระบวนการพัฒนาผู้สูงวัยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธี พบว่า องค์ความรู้ใหม่ของกระบวนการพัฒนา เป็น MEDR Model โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้สูงวัย โดยพุทธสันติวิธี 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 คือการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ขั้นที่ 2 มองหาจุดยืนแต่ละฝ่าย ขั้นที่ 3 สร้างทางเลือกผ่าทางตัน ขั้นที่ 4 ค้นหาความต้องการที่แท้จริง การฟังอย่างลึกซึ้ง ขั้นที่ 5 หาจุดร่วมอย่างพอใจ ขั้นที่ 6 รักษาความสัมพันธ์ </p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/284430
อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านความสามารถเชิงนวัตกรรมของธุรกิจการค้าทองคำ
2025-01-23T21:44:19+07:00
จินดา มหาพัณณาภรณ์
scj.zhuang@gmail.com
ณัฐพร ฉายประเสริฐ
scj.zhuang@gmail.com
อนุสรณ์ คุณานุสรณ์
scj.zhuang@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการเชิงกลยุทธ์ ความสามารถเชิงนวัตกรรม และความได้เปรียบทางการแข่งขัน 2) อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการเชิงกลยุทธ์ ความสามารถเชิงนวัตกรรม และความได้เปรียบทางการแข่งขัน และ 3) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านความสามารถเชิงนวัตกรรมของธุรกิจการค้าทองคำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจการค้าทองคำ จำนวน 300 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการเชิงกลยุทธ์ ความสามารถเชิงนวัตกรรม และความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจการค้าทองคำ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการเชิงกลยุทธ์ ผ่านความสามารถเชิงนวัตกรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจการค้าทองคำ อย่างมีนัยสำคัญ 3) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการจัดการเชิงกลยุทธ์มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผ่านความสามารถเชิงนวัตกรรมของธุรกิจการค้าทองคำ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญ ค่าไคสแควร์ มีค่าเท่ากับ 1.129 แสดงว่ามีความสอดคล้องกับค่าดัชนีอื่น ๆ เช่น GFI, AGFI, CFI, และ RMSEA เป็นสมการโครงสร้างที่มุ่งเน้นให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจการค้าทองคำ</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/277967
การพัฒนาหลักสูตรเสริมวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2024-05-28T14:04:48+07:00
รัตนาพร แก้วมณี
rattana_rat2525@hotmail.com
กชกร ธิปัตดี
rattanaporn11242525@gmail.com
สาวิตรี เถาว์โท
rattanaporn11242525@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างหลักสูตรเสริมวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมจาก 3.1) การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 3.2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยของหลักสูตรเสริม กับนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรปกติ 3.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรเสริม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ คือ ครู 24 คน และนักเรียน 316 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริม คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 88 คน ที่ศึกษาในโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วสุ่มอย่างง่ายให้ 1 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง และอีก 1 ห้องเรียนเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม หลักสูตรเสริม แบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนเห็นว่าสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.18, S.D. = 0.70) ส่วนความต้องการอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.13, S.D. = 0.69) ครูเห็นว่าสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.99, S.D. = 0.90) และความต้องการอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.88, S.D. = 1.06) 2. หลักสูตรเสริมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย ผลการเรียนรู้ โครงสร้างเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้การวัดและประเมินผล และเกณฑ์การจบหลักสูตร ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.01, S.D. = 0.52) 3. หลักสูตรเสริมมีประสิทธิผล โดยพบว่า 3.1) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์โดยรวมร้อยละ 83.65 ซึ่งอยู่ในระดับดี ทั้งนี้พบว่าหลักสูตรเสริมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.65/81.07 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3.2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยหลักสูตรเสริม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนตามหลักสูตรปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรเสริมในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.75, S.D. = 0.49)</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/281159
กระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจังหวัดสุรินทร์ โดยพุทธสันติวิธี
2024-10-09T13:47:37+07:00
ธัญญธร หฤทัยถาวร
tanyatorn.h2505@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็นต้องการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจังหวัดสุรินทร์โดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจังหวัดสุรินทร์ พบว่า 1) ผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนขาดทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 2) ผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนไม่สามารถวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ 3) ผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนไม่เข้าใจขั้นตอนกระบวนการไกล่เกลี่ยภาคประชาชน 4) ผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนขาดเทคนิควิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เป็นมืออาชีพ 5) ผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนเข้าใจเพียงทฤษฎีแต่ขาดการลงมือปฏิบัติการเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างแท้จริง 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน หลักอริยสัจ 4 เป็นหลักของการวิเคราะห์คู่ขัดแย้ง โดยมุ่งการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนตามแนวทางของไตรสิกขาซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน และหลักภาวนา 4 ในแสดงผลลัพธ์ด้านกายภาพของผู้ไกล่เกลี่ยพฤติภาพของผู้ไกล่เกลี่ย จิตตภาพของผู้ไกล่เกลี่ย และปัญญาภาพของผู้ไกล่เกลี่ย 3) กระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจังหวัดสุรินทร์โดยพุทธสันติวิธี พบว่า องค์ความรู้ใหม่เป็นสันตินวัตกรรม เป็นขั้นตอนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจังหวัดสุรินทร์โดยพุทธสันติวิธี มี 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สมัครใจ ขั้นที่ 2 ไว้วางใจ ขั้นที่ 3 เข้าใจ ขั้นที่ 4 เห็นใจ ขั้นที่ 5 พึงพอใจ ขั้นที่ 6 ประทับใจ</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280963
การพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
2024-08-26T16:27:27+07:00
สาโรจน์ พึ่งไทย
trainersarojj@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบท ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาความผูกพันในองค์กรตามแนวทางศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลัก พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาความผูกพันในองค์กร ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาภาพรวมของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ และสภาพปัญหาภาพรวมของบุคลากรวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานานชาติ ประกอบด้วย 1) การจัดการงานยังซับซ้อนคลุมครือ 2) ขาดความรู้เรื่องกำหนดแนวทางให้บุคลากรพัฒนาตัวเองด้านต่าง ๆ 3) ขาดความรู้การพัฒนาบทบาทกระบวนการสร้างความผูกพัน 4) ขาดเทคนิคการสร้างแนวความคิดในการปฏิบัติตัวตามค่านิยม 2) หลักพุทธสันติวิธีที่จะเอื้อต่อการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณี วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้ของหลักไตรสิกขา 3 มุ่งพัฒนาความผูกพันของบุคลากรในองค์กรผ่านเครื่องมือของศีล สมาธิและปัญญา โดยมีการวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของบุคลากรในองค์กรด้วยหลักอริยสัจ และมีการวัดผลความผูกพันในองค์กรผ่านภาวนา 4 3) ขั้นตอนในการพัฒนาความผูกพันในองค์กรโดยพุทธสันติวิธี ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 คือ ขั้นตอนการตระหนักรู้ ขั้นตอนที่ 2 สิ่งแวดล้อม ขั้นตอนที่ 3 สร้างแรงบันดาลใจ ขั้นตอนที่ 4 ระบบองค์กร ขั้นตอนที่ 5 ความเข้าใจ โดยมุ่งการพัฒนา 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) พัฒนาให้บุคลากรเกิดความตระหนักในเรื่องต่าง ๆ โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดในการดำเนินการ 2) กระตุ้นให้บุคลากรมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้งานที่ตนเองรับผิดชอบประสบความสำเร็จ และองค์กรมีความก้าวหน้า 3) มุ่งการลงมือทำเน้นให้ลงมือทำ อิสระริเริ่มความคิดและลงมือทำตามความคิด ใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการทดลองทดสอบ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้และเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อให้ทุก ๆ กิจกรรมสำเร็จ</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/282370
พุทธบูรณาการกับการฝึกภาคปฏิบัติทางสังคมสงเคราะห์
2024-11-27T15:52:48+07:00
ณัฐหทัย นิรัติศัย
Nathataini@gmail.com
พระมหาสุรไกร ชินพุทฺธิสิริ คงบุญวาสน์
little26nok@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่นำไปใช้ในการฝึกภาคปฏิบัติสังคมสงเคราะห์ 2) ศึกษาวิธีบูรณาการหลักพุทธธรรมกับงานสังคมสงเคราะห์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบูรณาการการฝึกภาคปฏิบัติของหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลางและวิทยาเขตอีสานที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการฝึกภาคปฏิบัติ 1 การฝึกภาคปฏิบัติ 2 และการฝึกภาคปฏิบัติ 3 โดยเก็บข้อมูลทุกรูป/คน อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และอาจารย์ที่ปรึกษาภาคสนาม รวมทั้งสิ้น 77 รูป/คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. มีการใช้หลักพุทธธรรม (สัปปุริสธรรม 7) ทุกด้านในระดับมากที่สุดในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา โดยด้านที่มากที่สุดได้แก่ ด้านกาลัญญุตา (ผู้รู้จักกาล) ด้านมัตตัญญุตา (ผู้รู้จักประมาณ) ด้านธัมมัญญุตา (ผู้รู้จักเหตุ) ด้านอัตตัญญุตา (ผู้รู้จักตน) ด้านปุคลัญญุตา (ผู้รู้จักบุคคล) ด้านอัตถัญญุตา (ผู้รู้จักผล/รู้จุดมุ่งหมาย) และ ด้านปริสัญญุตา (ผู้รู้จักชุมชน) ตามลำดับ 2. การบูรณาการ หลักพุทธธรรมกับสังคมสงเคราะห์ นักศึกษามีการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับสังคมสงเคราะห์ในระดับมากที่สุด ในเรื่องการบูรณาการด้านความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานพื้นฐาน ด้านเทคนิค ด้านทัศนคติ ด้านทักษะ และด้านหลักการให้บริการของนักสังคมสงเคราะห์ 3. ด้านความคิดเห็นต่อแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมสำหรับการฝึกภาคปฏิบัติทางสังคมสงเคราะห์ นักศึกษามีความคิดเห็นต่อแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมสำหรับการฝึกภาคปฏิบัติทางสังคมสงเคราะห์ด้านอาจารย์ มากที่สุด รองลงมาด้านนักศึกษา ด้านหลักสูตร และด้านหน่วยงานฝึกภาคปฏิบัติ ตามลำดับ</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280959
กระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี
2024-11-11T14:25:42+07:00
กชพร สอดส่อง
bbour.cm@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความจำเป็นต้องการ และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลัก พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยตามกรอบของอริยสัจโมเดลตามแนวทางของบันได 9 ขั้น ของหลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พบว่า (1) ผู้ไกล่เกลี่ยขาดทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ (2) ผู้ไกล่เกลี่ยขาดสติไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ เมื่อเผชิญกับคู่กรณี (3) ผู้ไกล่เกลี่ยไม่สามารถวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ (4) ผู้ไกล่เกลี่ยขาดเทคนิควิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เป็นมืออาชีพ (5) ผู้ไกล่เกลี่ยขาดกระบวนการฝึกปฏิบัติด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเรียนเพียงทฤษฎีจึงไม่สามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบ พบว่า หลักไตรสิกขา 3 มุ่งพัฒนาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยต้นแบบตามกรอบของ “CAP” ภายใต้การบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรที่พัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นมืออาชีพ โดยผู้ไกล่เกลี่ยสามารถไกล่เกลี่ยได้อย่างเป็นมืออาชีพ สามารถวิเคราะห์ความขัดแย้งผ่านอริยสัจโมเดล พัฒนาคุณลักษณะของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วยไตรสิกขา และวัดผลประเมินผลผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านภาวนา 4 ประกอบด้วย วัดผลด้านกายภาพ วัดผลด้านพฤติภาพ วัดผลด้านจิตตภาพ วัดผลด้านปัญญาภาพของผู้ไกล่เกลี่ยต้นแบบ 3) กระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี พบว่า องค์ความรู้ใหม่ของกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี เป็น MMKS Model</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/284100
การพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
2024-12-21T16:10:04+07:00
นงนุช ปานทุบวร
Mindy-liu2904@outlook.co.th
สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย
Mindy-liu2904@outlook.co.th
พนิต เข็มทอง
Mindy-liu2904@outlook.co.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และ 2. ศึกษาผลการใช้รูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) การพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี และ 2) ผลการใช้รูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่า IOC เท่ากับ 0.87 สำหรับสถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ประชากรเป้าหมายประกอบด้วยผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป ในโรงเรียนผู้สูงอายุของเมืองพัทยา ซึ่งเป็นผู้มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 ชนิด ประกอบด้วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง จำนวน 33 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบส่งเสริมสุขภาพด้วยการท่องเที่ยววิถีใหม่ของผู้สูงอายุ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สภาพปัญหาและความต้องการ 2) หลักการของรูปแบบ 3) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 4) องค์ประกอบของรูปแบบ 5) กิจกรรมฝึกประสบการณ์เรียนรู้ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า เป็นรูปแบบที่มีคุณภาพที่ดี สามารถนำไปใช้ในการดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างความรู้ เจตคติและทักษะในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเพื่อการมีสุขภาพที่ดีต่อไป 2. ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต ลดลงจากก่อนการทดลอง ส่วนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุหลังการใช้รูปแบบอยู่ในระดับดี ความรู้ของการปฏิบัติตามรูปแบบ หลังการทดลองมีคะแนนสูงขึ้น ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อรูปแบบส่งเสริมสุขภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รวมถึงพฤติกรรมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามรูปแบบส่งเสริมสุขภาพ หลังการใช้รูปแบบเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนพฤติกรรมเฉลี่ยอยู่ในระดับดี</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/274774
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
2025-01-26T16:57:38+07:00
นุสรา แสงชาติ
nusara091024@gmail.com
สุภัทรา คงเรือง
ksupatthara@aru.ac.th
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงนวัตกรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 มีนักเรียนจำนวน 46 คน จัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และกลุ่มควบคุม เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีนักเรียนจำนวน 46 คน จัดการเรียนการสอนแบบปกติในห้องเรียน โรงเรียนราษฎร์บำรุงศิลป์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 24 แผน มีค่า IOC เท่ากับ 0.5-1.00 แบบประเมินการคิดเชิงนวัตกรรม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การคิดเชิงนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br />4) ความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การคิดเชิงนวัตกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อยู่ในระดับมากขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.61 และ S.D. = 0.51</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/277860
การพัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง จำนวนและพีชคณิตวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2024-07-09T19:55:15+07:00
ธนพร งามเถื่อน
toirthana@gmail.com
กชกร ธิปัตดี
toirthana@gmail.com
จำลอง วงษ์ประเสริฐ
toirthana@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องจำนวนและพีชคณิตวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรเสริม 3) ทดลองและศึกษาผลการใช้หลักสูตรตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง จำนวนและพีชคณิตวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะที่ 1 มีสองกลุ่มคือครูผู้สอน จำนวน 40 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 400 คน สหวิทยาเขตเดชนาอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตรเสริม คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 35 คน โรงเรียนนากระแซงศึกษา ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบวัดพฤติกรรมอันพึงประสงค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> <strong>= </strong>2.77, S.D. = 1.03) และนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> <strong>= </strong>2.80, S.D. = 1.32) 2) หลักสูตรเสริมที่สร้างขึ้นประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง และแนวดำเนินการที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะการแก้ปัญหา และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> <strong>= </strong>4.57, S.D. = 0.10) 3) ผลการใช้หลักสูตรเสริมทดสอบหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.09 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.21 พบว่าหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><strong> </strong><strong>= </strong>4.24, S.D. = 0.08) นักเรียนมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><strong> </strong><strong>= </strong>4.21, S.D. = 0.07) นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><strong> </strong><strong>= </strong>4.61, S.D. = 0.11) หลักสูตรเสริมได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลักการ จุดหมาย โครงสร้างเนื้อหาและแนวดำเนินการให้สอดคล้องกัน</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/278693
สันตินวัตกรรมการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรม
2024-06-14T13:51:03+07:00
เกรียงไกร บุตรมาลา
kao.cop@gmail.com
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
kao.cop@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรม 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิด ศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรม 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอสันตินวัตกรรมการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรม ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน ใช้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 25 รูป/คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 รูป/ คน ทดลองนำร่องกับกลุ่มภาคเครือข่ายชุมชนรอบวัดสารอดจำนวน 19 รูป/คน วัดผลด้วยเครื่องมือแบบสอบถามคุณลักษณะและสมรรถนะพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสังเกตการณ์ การสะท้อนคิด การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการทำบันทึกรายงานตนเอง การทำกิจกรรมกลุ่ม การถอดบทเรียน การวิเคราะห์และประเมินผลเชิงคุณภาพด้วยอุปนัยวิธี เชิงปริมาณด้วยสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพบริบท ปัญหา ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรม พบว่า ชุมชนมีปัญหาที่สำคัญคือยาเสพติด ซึ่งขาดผู้นำในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรม พบว่า ชุมชนขาดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชนเพื่อช่วยกันสอดส่องดูแลป้องกันอาชญากรรมในชุมชน ขาดทักษะความรู้ทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรม และ ขาดทักษะในการเป็นพี่เลี้ยงชุมชนและทำงานร่วมกับเครือข่าย 2) แนวคิดทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนได้แก่ (1) แนวคิด เกี่ยวกับอาชญากรรมและปัญหาอาชญากรรม (2) แนวคิด เกี่ยวกับพี่เลี้ยงชุมชนและการพัฒนา และ (3) แนวคิด เกี่ยวกับสันตินวัตกรรมจากแนวคิด ทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่นั้นคือการป้องกันอาชญากรรม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อนำมาบูรณาการกับหลักพุทธสันติวิธีคือ เบญจศีล เบญจธรรม และสังคหวัตถุ 4 ซึ่งช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กลับชุมชน สร้างชุมชนให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม และยังช่วยสร้างความสามัคคีปรองดองให้กับชุมชน 3) การสร้างสันตินวัตกรรมการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรม ด้วยการออกแบบหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีกรอบเนื้อหาที่บูรณาการจากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ร่วมกับแนวคิดศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธี โดยใช้กลุ่มกลุ่มตัวอย่าง 19 คน โดยการอบรม 2 วัน จำนวน 5 โมดูล และติดตามผล 21 วัน ผลการทดลองพบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยการอบรม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า t-test = 3.54 ที่ระดับ .05 เชิงคุณภาพผู้เข้าอบรมพึงพอใจในการอบรมและนำความรู้ไปใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัย คือ โมเดล C L A M P 5 องค์ประกอบที่ใช้ในการพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชน คือ พี่เลี้ยงต้องมีจิตสาธารณะสำนึกคุณธรรม จิตจดจำกฎหมายใกล้ตัว จิตแจ่มใส่สื่อสารเชิงบวกมุ่งการมีส่วนร่วม จิตวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จิตจดจ่อปฏิบัติอย่างมีระบบในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมให้ได้ผลอย่างยั่งยืน</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280340
สันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ
2024-08-14T09:07:08+07:00
ขวัญยุุภา หุ่นงาม
kwanyupa@outlook.com
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
kwanyupa@outlook.com
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาสันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความและ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการสันตินวัตกรรมการพัฒนาการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ใช้รูปแบบวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการทดลองนำร่อง เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก 13 รูป/คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 รูป/คน ทดลองกลุ่มทนายความ จำนวน 11 คน วัดผลด้วยแบบประเมินสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสะท้อนความรู้สึกด้วยเทคนิค AAR ใช้สถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยค่า t-test สรุปผล แบบพรรณนาโวหาร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพบริบท ปัญหา ความต้องการจำเป็นพบว่า ในปัจจุบัน การสื่อสารสาธารณะของทนายความผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว เผชิญปัญหา หลายประการ เช่น การให้ข่าวและสัมภาษณ์ที่ไม่เหมาะสม การใช้คำหยาบคาย การโจมตีทนายฝั่งตรงข้าม และการให้ข้อมูลทางกฎหมายในลักษณะอวดอ้างตนเอง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ขัดต่อมรรยาททนายความและสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับวิชาชีพ 2) แนวคิด ทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธี ที่เอื้อต่อการพัฒนาการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ได้แก่ (1) แนวคิด ทฤษฎีจริยธรรมการสื่อสาร (2) แนวคิดทฤษฎีการสื่อสารที่มีสติ จากแนวคิด ทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่ทางด้านการสื่อสาร เมื่อนำมาบูรณาการกับหลักพุทธสันติวิธี คือ สัปปุริสธรรม 7 สัมมาวาจา วาจาสุภาษิต จะช่วยพัฒนาการสื่อสารสาธารณะของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความให้สื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ได้ 3) การสร้างสันตินวัตกรรมการสื่อสารสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ด้วยการออกแบบหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย (1) รู้สติ (2) รู้จักตน (3) รู้ต่อยอด สื่อสารสร้างสรรค์ไม่ขัดมรรยาททนายความ (4) รู้รับผิดชอบต่อยอดสู่สังคม (5) รู้ปัญญา ใช้สื่อออนไลน์สร้างประโยชน์และคุณค่า (6) รู้การพัฒนา</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/278610
สันตินวัตกรรมชุดความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนามนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่
2024-06-10T07:56:50+07:00
ยุติธรรม สินธุ
yutitham@hotmail.com
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
yutitham@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท และความต้องการจำเป็นในพัฒนาในการพัฒนามนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิด ศาสตร์สมัยใหม่และหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อสันตินวัตกรรมชุดความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนามนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่และ 3) เพื่อสร้างและนำเสนอสันตินวัตกรรมชุดความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนามนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่ ดำเนินการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานแบบแผนเชิงทดลอง เครื่องมือวิจัย คือการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างมนุษย์เงินเดือนองค์กรเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 20 คน ด้วยเครื่องมือแบบสอบถามพลังความคิดและพฤติกรรมการทำงาน ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสังเกตการณ์ การสะท้อนคิด การวิเคราะห์และประเมินผลเชิงคุณภาพด้วยอุปนัยวิธี เชิงปริมาณด้วยสถิติวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ t-test สรุปผลแบบพรรณนาโวหาร</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยและสถานการณ์โลกที่ผันผวน ทำให้มนุษย์เงินเดือนกำลังเผชิญกับสภาวะความรู้สึกไม่มั่นคงในการทำงานจนเกิดความเครียดและขาดพลังทุ่มเทในการทำงาน สภาพปัญหาที่พบคือปัญหาจากการปรับตัวไม่ทันสำหรับการเปลี่ยนแปลง ปัญหาด้านการสื่อสารในองค์กร การขาดสมดุลชีวิตและวินัยทางการเงินของมนุษย์เงินเดือนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้รับมือกับสภาพการณ์เหล่านั้นทั้งนี้ความต้องการจำเป็นในการพัฒนามนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่ ได้แก่ การเปลี่ยนชุดความคิดการเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง พัฒนาทักษะการสื่อสารเชิงบวก สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว รวมถึงการพัฒนาวินัยทางการเงินและการสร้างระบบนิเวศในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้พนักงานมีความสุขในการทำงานและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 2) แนวคิดทฤษฎีศาสตร์สมัยใหม่คือการเรียนรู้เกี่ยวกับชุดความคิดแบบเติบโต การสื่อสารสร้างพลังบวกและการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ การบูรณาการแนวคิดเหล่านี้กับหลักพุทธสันติวิธี ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ 3) การสร้างสันตินวัตกรรมชุดความคิดแบบเติบโตเพื่อพัฒนามนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่ด้วยหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยการอบรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285406
การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2025-02-21T20:09:21+07:00
ธราเชฎฐ์ สุคนธ์
pichet.s@dmtc.ac.th
พิสิฐ เมธาภัทร
pichet.s@dmtc.ac.th
ไพโรจน์ สถิรยากร
pichet.s@dmtc.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการในสถานประกอบการตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา 1) สถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) สถานประกอบการ และ 3) นักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ฯ และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารศูนย์ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดประชุมกลุ่มย่อย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.05, S.D. = 1.03) จัดลำดับความสำคัญของสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น 6 ด้าน จากมากไปน้อย คือ ด้านการวัดและประเมินผลการฝึกอาชีพรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการ ด้านการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ด้านการฝึกอาชีพในสถานประกอบการด้านการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการกลุ่มสมรรถนะวิชาชีพเลือก ด้านการจัดทำแผนการฝึกอาชีพรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการ และด้านศูนย์การเรียนการสอนรายวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของสถานประกอบการตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบทวิภาคี จัดตั้งภายในสถานศึกษา พบว่าผลการจัดอันดับความต้องการจำเป็นทุกข้อมีความสำคัญระดับมาก 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ฯ นำผลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ฯ ในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มาใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนารูปแบบ ภายใต้รูปแบบวงจรเดมมิ่ง (PDCA) และจากการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ท่าน พบว่า รูปแบบการบริหารศูนย์การจัดการเรียนการสอน รายวิชาฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 13 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (P: Plan) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 2) การดำเนินการ (D: Do) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 3) การปฏิบัติในสถานประกอบการ (C: Check) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน และ 4) การประเมินผล (A: Action) ประกอบด้วย 1 ขั้นตอน โดยผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.76, S.D. = 0.39) ดังนั้น จึงมีความเหมาะสมที่จะไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารศูนย์ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285819
การปฏิบัติกัมมัฏฐานในคัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อความเป็นอิสระแห่งจิต
2025-02-17T09:01:55+07:00
สมบูรณ์ ตาสนธิ
sdtasonthi@gmail.com
พระครูพิลาสธรรมากร ณัฐพล ประชุณหะ
sdtasonthi@gmail.com
พระมหาธนัชพงศ์ สุพฺรหฺมปญฺโญ
sdtasonthi@gmail.com
บัวสวรรค์ จันทร์พันดาว
buaswan_angel@hotmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์คัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน 4 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ในคัมภีร์สฬายตนะสู่การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติกัมมัฏฐานในคัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อความเป็นอิสระแห่งจิต เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ พื้นที่การวิจัย คือ สวนทัมมอิสโรและวัดป่านันทบุรีญาณสังวราราม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 24 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินองค์ความรู้ และวัดระดับความพึงพอใจจากแบบประเมินตนเอง แบบสัมภาษณ์กลุ่มแบบกึ่งมีโครงสร้าง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิเคราะห์และสังเคราะห์คัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน ในคัมภีร์สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่มที่ 18 จัดองค์ความรู้ได้ 2 หมวด คือ 1) สฬายตนะ ที่เป็นไปเพื่อการเกิดทุกข์ในภพภูมิ เรียกว่า สมุทยวาระ 2) สฬายตนะ ที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์และภพภูมิ เรียกว่า นิโรธวาระ 2. องค์ความรู้ในคัมภีร์สฬายตนะสู่การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติไปกำกับอายตนะภายในทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ถูกอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ มากระทบแล้ว มีสติรู้ปัจจุบันขณะใน 4 ฐาน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งความเข้าใจเรื่องอายตนะภายในกับภายนอกของผู้ให้ข้อมูล มีผลไม่แตกต่างกันมากนัก 3. การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติกัมมัฏฐานในคัมภีร์สฬายตนะตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อความเป็นอิสระแห่งจิต ประกอบด้วยสัทธรรม 3 คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นแนวทางการฝึกปฏิบัติ ซึ่งไม่มีคำบริกรรมในอารมณ์กัมมัฏฐาน บูรณาการร่วมกับปาริสุทธิศีล 4 ได้แก่ 1) ปาติโมกขสังวรศีล การมีศรัทธารักษาศีล 2) อินทรียสังวรศีล การมีสติรักษาอายตนะภายใน 6 3) อาชีวปริสุทธิศีล การมีความเพียรในสัมมาชีพ 4) ปัจจยสันนิสิตศีล การมีปัญญาเสพบริโภคปัจจัยภายนอก</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/280887
กระบวนการพัฒนาโค้ชสู่การเป็นมืออาชีพโดยพุทธสันติวิธี
2024-09-14T18:58:05+07:00
พจนารถ ซีบังเกิด
jimi@jimithecoach.com
<p>การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของโค้ช และแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาโค้ชสู่ความเป็นมืออาชีพตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) วิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาโค้ชสู่การเป็นมืออาชีพ และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการพัฒนาโค้ชสู่การเป็นมืออาชีพโดยหลักพุทธสันติวิธี การวิจัยดำเนินการในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับการวิจัยเพื่อนำผลสู่การปฏิบัติ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ช ผู้ที่มีประสบการณ์การโค้ช ผู้นำทางความคิด และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบหลักสูตร รวมทั้งการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยถูกนำไปสังเคราะห์เพื่อพัฒนากระบวนการ โมเดล และหลักสูตร ซึ่งได้รับการทดลองและประเมินผลในเชิงปฏิบัติ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันยังคงมีความคลาดเคลื่อนในความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ชแบบมืออาชีพในสังคม อีกทั้งผู้ประกอบอาชีพโค้ชมีทักษะและมาตรฐานการปฏิบัติที่หลากหลาย และบางส่วนยังขาดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ 2) การพัฒนาโค้ชสู่ความเป็นมืออาชีพเป็นความจำเป็นทางสังคม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมและความสัมพันธ์ที่รวดเร็ว โค้ชจึงต้องมีศักยภาพในการปรับตัวและทำหน้าที่เป็นที่พึ่งทางสังคม 3) มาตรฐานของสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ เป็นกรอบการพัฒนาที่เหมาะสม เนื่องจากได้รับการยอมรับในระดับสากล 4) หลักธรรมในพุทธศาสนา เช่น อริยสัจ 4 กัลยาณมิตรธรรม ฆราวาสธรรม พรหมวิหาร และโยนิโสมนสิการ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความสามารถของโค้ช โดยเฉพาะการฝึกสติที่มีความสำคัญยิ่ง และ 5) กระบวนการพัฒนาที่ใช้แนวทางการเรียนรู้แบบ 70:20:10 ของ Center for Creative Leadership (CCL) มีความเหมาะสมในบริบทของการพัฒนาโค้ช</p> <p>องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย ได้แก่ 1) กระบวนการพัฒนาโค้ชตามหลักพุทธสันติวิธีเชิงบูรณาการ 2) โมเดล “รู้จริง อิงหลัก เจริญมรรค เจริญธรรม” (J.I.M.I. Model) และ 3) หลักสูตรการพัฒนาที่ผสมผสานระหว่างหลักการโค้ชสากลและหลักพุทธธรรม</p> <p>ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของโค้ช และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม อันจะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางจิตใจและความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างสันติในระดับบุคคลและระดับสังคม</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285972
การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดีย เรื่อง พัดจักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดมหาวงษ์
2025-02-14T13:42:49+07:00
นุสบา บุญโนนแต้
nutsababoonnonta@gmail.com
ชญาภัทร์ กี่อาริโย
nutsababoonnonta@gmail.com
เปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ
nutsababoonnonta@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของสื่อการสอนมัลติมีเดีย เรื่อง พัดจักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย วิชาการงานอาชีพ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนมัลติมีเดีย เรื่อง พัดจักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย วิชาการงานอาชีพ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดมหาวงษ์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จํานวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอนมัลติมีเดียพัด จักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย แบบทดสอบภาคปฏิบัติ แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อการสอน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อพัดจักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้เรื่องพัดจักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย วิชาการงานอาชีพ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 จากการวิเคราะห์ผลประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้เรื่องพัดจักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย วิชาการงานอาชีพ คะแนนจากการฝึกทักษะระหว่างเรียน (E<sub>1</sub>) และคะแนนจากการทดสอบทักษะปฏิบัติชิ้นงานหลังเรียน (E<sub>2</sub>) ของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเท่ากับ 81.75/89.87 2) นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ต่อสื่อการเรียนรู้เรื่องพัดจักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย วิชาการงานอาชีพ จากการวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนรู้เรื่องพัดจักสานไม้ไผ่ลายขิดไทย วิชาการงานอาชีพ โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285551
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน ศึกษากรณีวัดปากน้ำอเมริกา
2025-02-03T11:44:52+07:00
พระวิเทศวิสุทธิคุณ สมัคร สมคฺโค
watohio@gmail.com
<p>การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดนนั้น พระธรรมทูตสายต่างประเทศจะต้องได้รับการอบรมให้มีความรู้ความสามารถ จริยาวัตรอันงดงาม พระธรรมทูตต้องมีความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนไปเผยแผ่ให้ดีพอ ทำให้การการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และสื่อสารกับคนในประเทศนั้นได้ดี และมีความมั่นใจในการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะไปปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่ในต่างประเทศ เพื่อสนองงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย ทำหน้าที่ในการส่งสารซึ่งก็คือธรรมะอันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา นำไปให้ถึงประชาชนเพื่อให้เข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นผู้นำในการสั่งสอนให้คำแนะนำประชาชนให้เกิดศรัทธา และน้อมนำเอาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาสู่การปฏิบัติในวิถีชีวิต</p> <p>พระธรรมทูตผู้ทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาและทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ไทยเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ เดินทางไปเพื่อฉลองศรัทธา พุทธศาสนิกชนไทยที่มีถิ่นฐานอยู่ที่นั้นเป็นชุมชนและปรารถนาที่จะให้มีวัดไทยขึ้น พระสงฆ์ทำหน้าที่หลักในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อบรมสั่งสอนประชาชนให้เข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การสร้างวัดจึงเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเช่นกัน เพราะวัดเป็นศูนย์กลางการพบปะของชุมชนคนไทยที่อยู่ต่างแดนในเมืองนั้น ๆ และเป็นสถานที่ที่ผู้สนใจพระพุทธศาสนาจะได้ศึกษาพระพุทธศาสนาสืบต่อไป</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285235
กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องโดยพุทธสันติวิธี
2025-01-19T17:05:03+07:00
กัญจน์นที รัตนศิลป์กัลชาญ
kanrat88@gmail.com
<p>ในปัจจุบันเกิดมีความขัดแย้งในสังคมกันมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างบุคคล ระหว่างองค์กร และต่อมาได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคล ชุมชน และท้ายที่สุดจะนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคม และประเทศชาติ รวมทั้งนานาชาติต่อไป เช่น การเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ แล้วใช้กำลังทหารเข้าสู้รบกัน ย่อมทำให้ประเทศต้องใช้งบประมาณในการต่อสู้กัน ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งด้านชีวิต ทรัพย์สิน และทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดความติดขัด ล่าช้าในการพัฒนาประเทศ อันเนื่องมาจากผลเสียจากความขัดแย้งกัน ตามกระบวนการยุติธรรมหลัก ในด้านกฎหมายนั้น เมื่อผู้กระทำความเสียหายแก่บุคคลอื่น ศาลจะมีกระบวนการพิจารณาความผิดตามกฎหมายและต้องได้รับโทษ ย่อมทำให้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น รัฐ ต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจ พนักงานอัยการ จำเลยหรือผู้เสียหายต้องมีทนายความ และผู้พิพากษาเป็นผู้วินิจฉัยคดี เมื่อผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดทางอาญา ต้องได้รับโทษจำคุก พร้อมทั้งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายกลับไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจากจำเลย เพราะจำเลยถูกจำคุกเสียแล้ว นอกจากนั้น หากจำเลยมีครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนหรือผู้ใกล้ชิด ก็จะรู้สึกทุกข์ใจไปกับจำเลยด้วย รวมทั้งผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากจำเลยและจากรัฐ ผู้เสียหายก็จะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมด้วย</p> <p>การแก้ไขความขัดแย้งต่าง ๆ ดังกล่าวมีหลายวิธีแต่ในบทความนี้ จะเสนอกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี คือ การนำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและหลักพุทธสันติวิธีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมของบุคคล และองค์กรในปัจจุบัน เพื่อช่วยในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคู่ความให้เกิดประสิทธิภาพ โดยยังมิต้องนำข้อขัดแย้งขึ้นสู่กระบวนการของศาล</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/285381
แนวทางการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญา
2025-01-26T14:41:16+07:00
สุนทร ทิมจ้อย
S.timchoi29@gmail.com
<p>กระบวนการไกล่เกลี่ยคดีอาญา มีเป้าหมายสร้างสันติภาพใน 6 ด้านหลัก ได้แก่ 1) เปิดโอกาสให้จำเลยและผู้เสียหายบอกเล่าความจริง 2) ให้จำเลยสำนึกถึงผลกระทบจากการกระทำผิด 3) ส่งเสริมการเยียวยาผู้เสียหาย 4) เปิดโอกาสให้จำเลยรับผิดชอบและปรับปรุงพฤติกรรม 5) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างจำเลยและผู้เสียหาย และ 6) ให้ผู้เสียหายให้อภัยและยุติคดี</p> <p>กระบวนการดังกล่าวมุ่งแก้ไขข้อจำกัดของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาแบบดั้งเดิม ที่เน้นการลงโทษจำเลยผ่านกระบวนการพิจารณาคดีโดยศาล แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเยียวยาผู้เสียหายและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรม กระบวนการไกล่เกลี่ยจึงเน้นความร่วมมือจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้เสียหาย ชุมชน และจำเลย เพื่อให้เกิดการเยียวยาความเสียหายทางอารมณ์ ความรู้สึก และสถานะทางสังคม เมื่อศาลนำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้ก่อนตัดสินคดี ผู้เสียหายและจำเลยจะได้รับโอกาสแก้ไขความขัดแย้ง โดยจำเลยแสดงความรับผิดชอบ เยียวยาผู้เสียหาย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีใหม่ ผู้เสียหายที่ได้รับการเยียวยาและให้อภัย สามารถถอนฟ้องหรือยุติการดำเนินคดีได้ ศาลจึงสามารถใช้ดุลพินิจรอลงอาญาหรือกำหนดโทษเบาลง เพื่อลดการคุมขังที่ไม่จำเป็น ซึ่งช่วยลดงบประมาณรัฐและส่งเสริมการกลับตัวของจำเลย กระบวนการนี้ยังต้องการผู้ประนีประนอมที่มีความเป็นกลาง ช่วยค้นหาข้อเท็จจริง ทั้งนี้กระบวนการไกล่เกลี่ยช่วยเติมเต็มช่องว่างของระบบยุติธรรมในแง่ของการเยียวยาและการสร้างสันติภาพอย่างแท้จริง</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/279827
ผู้นำพันธุ์ใหม่สร้างสุขในองค์กร
2024-08-10T20:49:26+07:00
สุภกิจ บุญเลี้ยง
supakit.bunleang@gmail.com
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
supakit.bunleang@gmail.com
<p>ในยุคที่โลกอยู่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากโลกยุค VUCA ที่ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือ สู่โลกยุค BANI ที่มีความเปราะบาง วิตกกังวล ความสัมพันธ์ไม่เป็นเส้นตรง และมีความซับซ้อนเข้าใจได้ยาก ส่งผลให้องค์กรในโลกธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของผู้นำองค์กร ผู้นำในศตวรรษที่ 21 จึงต้องการ “ผู้นำพันธุ์ใหม่” ที่มีทักษะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำพาองค์กรให้สามารถเผชิญกับการแข่งขันที่สูง พร้อมกับความสามารถในการผูกใจคนให้เกิดความรักความผูกพันในองค์กรจึงจะนำพาให้องค์กรเกิดสันติสุขและมีพลังนำพาความสำเร็จมาสู่องค์กร บทความนี้ผู้เขียนได้เสนอ “ผู้นำพันธุ์ใหม่” ซึ่งเป็นการบูรณาการแนวคิดทฤษฎีผู้นำการเปลี่ยนแปลงร่วมกับหลักพรหมวิหาร 4 โดยมีองค์ประกอบสำคัญของผู้นำเรียกว่า “MEKMU” ที่สามารถสร้างคุณลักษณะของผู้นำพันธุ์ใหม่ 16 ประการ เพื่อใช้บริหารตน บริหารคน บริหารงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้พนักงาน เกิดความผูกพันกับองค์กร ผูกพันกับงานที่ทำ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีพลังและเกิดสันติสุขในองค์กร ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและสามารถรับมือกับโลกในยุคใหม่ที่นับวันจะคาดเดาได้ยากและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา</p>
2025-02-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร