TY - JOUR AU - มีเพียร, เพ็ญประภา AU - สิงห์พันธ์, พงษ์ธร AU - ปะโคทัง, จิณณวัตร PY - 2021/12/20 Y2 - 2024/03/28 TI - รูปแบบการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 10 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/251973 SP - 1146-1161 AB - <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบ 3) เพื่อทดลองรูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบ มีการดำเนินการ 4 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ โดยการสัมภาษณ์ สถานศึกษาต้นแบบ 3 แห่ง ใช้แบบสอบถามกับ ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการ และครู จำนวน 224 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น 2) สร้างรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 3) ทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการ และครู โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 4) ประเมินผลรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการ และครู โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p><p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 6 องค์ประกอบ 1) วัตถุประสงค์ 2) หลักการ 3) ระบบและกลไก 4) วิธีดำเนินการ 5) แนวการประเมิน 6) เงื่อนไขความสำเร็จ การดำเนินการมี 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา 1.1) นโยบาย 1.2) ด้านวิชาการ 1.3) ด้านงบประมาณ 1.4) ด้านบริหารทั่วไป 1.5) ด้านบริหารบุคคล 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 2.1) การดำเนินการด้านหลักสูตรสถานศึกษา 2.2) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 2.3) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 2.4) การวัดผลและประเมินผล 3) ด้านครูผู้สอน 3.1) คุณสมบัติครูผู้สอน 3.2) การพัฒนาครู 3.3) กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู 4) ด้านคุณภาพผู้เรียน 4.1) ผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการ 4.2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน การประเมินรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ มากที่สุด</p><p><br /><br /></p> ER -