TY - JOUR AU - แก้วเกตุพงษ์, ประภาส AU - แสนมี , วิเชียร AU - สายจันเจียม, จุรี PY - 2022/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - เส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 10 IS - 5 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/250672 SP - 2113-2129 AB - <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อเสนอแนะส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี คือ เชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักท่องเที่ยวจำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถามโดยได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .87 และแบบสัมภาษณ์ใช้วิธีการอธิบายความในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p><p><strong>ผลการวิจัยพบว่า </strong></p><p>1) เส้นทางการท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้ง 3 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />) = 3.74 ด้านประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />) = 3.64 ด้านการคมนาคม มีค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />) = 3.59</p><p>2) ด้านการจัดการท่องเที่ยว พบว่า เส้นทางการท่องเที่ยวยังขาดการจัดการที่เป็นระบบและสัดส่วนที่เหมาะสม รวมถึงระบบสาธารณูปโภคโดยรวมน้อยมาก ด้านการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ ยังไม่ทั่วถึง คนที่มาส่วนมากจะเป็นศิษยานุศิษย์ในสายธรรม เส้นทางการเข้าถึงวัดยังไม่สะดวกพอทำให้ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่รู้จักเส้นทาง ด้านการคมนาคม ระบบให้บริการขนส่งยังไม่เพียงพอ เช่น รถตู้ รถสองแถว รถจักรยานยนต์รับจ้าง ป้ายบอกทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวยังไม่ชัดเจนและไม่เพียง ส่วนป้ายบอกสถานที่และจุดบริการต่าง ๆ มองไม่ชัดและชำรุด</p><p> 3) ด้านการจัดการท่องเที่ยว บุคลากรภายในเองควรเอาใจใส่ร่วมกันคิดช่วยกันรักษาร่วมกันพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องของความสะอาด เพราะความสะอาดของสถานที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของแหล่งที่ท่องเที่ยว ควรบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ที่ชำรุดทรุดโทรม ควรปลูกต้นไม้ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มความร่มรื่น ซึ่งเป็นการทำให้ภูมิทัศน์ของวัดสวยงามเหมาะกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการประชาสัมพันธ์ ควรเพิ่มจำนวนป้ายบอกสถานที่ ป้ายชี้ทางเข้าสู่วัดให้ชัดเจนและจุดบริการต่าง ๆ ควรเพิ่มจำนวนป้ายบอกทางเดินชมภายในสถานที่ เพื่อให้ผู้มาเที่ยวได้รับความสะดวกสบาย ไม่งง ไม่สับสน ควรมีการทำสื่อหรือประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้หลายช่องทาง ด้านการคมนาคม ควรมีระบบขนส่งที่ให้บริการอย่างเพียงพอเพื่อให้เข้าถึงวัดได้สะดวก เพราะสถานที่ตั้งของวัดส่วนมากอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนที่มีการบริการน้อย</p> ER -