TY - JOUR AU - สามขุนทด, อรอำไพ AU - ลิ้มทองสกุล, ศนิ PY - 2021/07/15 Y2 - 2024/03/28 TI - ศึกษาวิเคราะห์พืชพรรณเชิงภูมิสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 10 IS - 4 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249933 SP - 1610-1624 AB - <p>บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืชพรรณที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 2) วิเคราะห์พืชพรรณในเชิงภูมิสถาปัตยกรรม บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยมีพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นแหล่งข้อมูลหลัก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p><p>ผลการวิจัยพบว่า ในพระไตรปิฎกปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับพืชพรรณหลากหลายชนิดในบริบทที่แตกต่างกันไป สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติและสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ พืชพรรณที่ปรากฏในชาดกเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของวิมานและอาศรม พืชพรรณที่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นเครื่องใช้ อาหาร น้ำ ยา หรืออื่นๆ พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับคำสอนและการเปรียบเทียบ เป็นการจัดกลุ่มโดยอิงกับลักษณะทางกายภาพหรือสภาพแวดล้อมเป็นหลัก ส่วนการวิเคราะห์พืชพรรณในเชิงภูมิสถาปัตยกรรม เน้นที่การจำแนกพืชพรรณตามลักษณะทางกายภาพเพื่อผลในการนำไปใช้ในงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ทั้งการออกแบบวางผังบริเวณ การสร้างพื้นที่ ทัศนภาพ เป็นต้น แบ่งได้ 5 ประเภท คือ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน ไม้เลื้อย ไม้น้ำ พืชพรรณที่มีจำนวนมากที่สุดคือไม้ยืนต้น ดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมักจะมีการเข้าไปใช้งานใต้ไม้ยืนต้นเช่นการตรัสรู้ใต้ต้นไม้ของพระพุทธเจ้า การวิเคราะห์พืชพรรณที่สัมพันธ์กับที่ว่างและการใช้งาน ประกอบด้วย บริเวณโคนไม้ พื้นที่ป่า อุทยานหรือสวนป่า และบริเวณที่มีบรรยากาศน่ารื่นรมย์ แสดงให้เห็นถึงการจัดพืชพรรณเพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่และสร้างบรรยากาศให้แก่สภาพแวดล้อม ผลสรุปจากงานวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบวางผังปรับภูมิทัศน์วัดหรือสถานที่เนื่องในพระพุทธศาสนาได้ต่อไป</p> ER -