TY - JOUR AU - พีรพัชระ, จุฑามาศ AU - ยังวรวิเชียร, พัชรนันท์ AU - ประจักษ์จิตร, ชนิดา AU - สุวรรณรักษ์, จอมขวัญ PY - 2022/04/30 Y2 - 2024/03/28 TI - แนวทางการจัดอบรมวิชาชีพด้านอาหาร สำหรับผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 10 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/248958 SP - 538-552 AB - <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการหลักสูตรอบรมวิชาชีพด้านอาหาร 2) จัดทำหลักสูตรและแนวทางที่เหมาะสมในการอบรมวิชาชีพด้านอาหาร และ 3) ทดลองใช้หลักสูตรวิชาชีพด้านอาหารของกลุ่มผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี ผู้ให้ข้อมูลหลักและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นผู้บริหารเทศบาลเมืองชะอำ กรรมการและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือ จำนวน 7 คน และ 170 คนตามลำดับ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม แบบประเมินผลภาคทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p><p>            ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรวิชาชีพด้านอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการอบรม 3 ลำดับ ได้แก่ อาหารว่าง ขนมหวาน และน้ำพริก ใช้สถานที่ของชมรม อบรมในวันทำการครั้งละ 3 ชั่วโมง โดยวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับวิทยากรจากสถาบันการศึกษา ใช้สื่อประเภทรูปภาพประกอบคำบรรยาย ใช้วิธีการอบรมที่เน้นภาคทักษะ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าอบรม จัดกิจกรรมทางสังคมระหว่างการอบรม <br />มีการประเมินผลก่อนและหลังอบรมแบบมีส่วนร่วม 2) จัดทำหลักสูตรและแนวทางที่เหมาะสมในการอบรมวิชาชีพด้านอาหาร พบว่า หลักสูตรอบรมประกอบด้วย 11 หัวข้อ มีความเหมาะสมในระดับมาก 3) การทดลองใช้หลักสูตรวิชาชีพด้านอาหาร พบว่า คะแนนการทดสอบความรู้หลังการอบรมของผู้รับการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทักษะการปฏิบัติ 5 ใน 7 ด้านอยู่ในระดับดีมาก ผู้รับการอบรม<br />พึงพอใจต่อกระบวนการอบรมในระดับมาก ผู้รับการอบรมที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้รับการอบรมที่มีอายุต่างกันและสถานภาพในชมรมต่างกันมีความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p><p><br /><br /></p> ER -