TY - JOUR AU - โพธิ์ทอง, พระครูรัตนสุตาภรณ์ PY - 2021/04/07 Y2 - 2024/03/28 TI - สี่แยกอินโดจีน: กระบวนการและกลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 9 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/242162 SP - 755-765 AB - <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการ และกระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคมในการพัฒนาสี่แยกอินโดจีน 2) เพื่อศึกษากลไก กระบวนการภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามยุทธศาสตร์ สี่แยกอินโดจีน 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ การกำหนดยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ และแนวโน้มการพัฒนาสี่แยกอินโดจีน และ 4) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครือข่ายทางสังคม นโยบาย และผลกระทบของการพัฒนา และเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับกลไกภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามยุทธศาสตร์สี่แยกอินโดจีน ภาคประชาชน ตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนภาคเอกชนในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 37 ราย เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อหลัก และการจัดสนทนากลุ่มเฉพาะ</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาสี่แยกอินโดจีน เริ่มจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 เป็นพื้นที่ของการพัฒนาเป็นสี่แยก ที่เรียกว่า East-West และ North-South Corridor 2) กลไก กระบวนการภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามยุทธศาสตร์ คือ นโยบายของรัฐบาลเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทาง แนวทางการพัฒนา การแก้ไขปัญหา 3) ภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน เป็นตัวกลางที่ต้องประสาน และเชื่อมต่อความสัมพันธ์ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยต้องอาศัยปัจจัยทั้งทางด้านทุนทางสังคม องค์กรชุมชน และเครือข่ายทางสังคม 4) การสร้างจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า คือ ประชาชนชาวพิษณุโลกต้องได้รับประโยชน์มากที่สุด และต้องได้รับผลกระทบที่เป็นผลเสียจากโครงการให้น้อยที่สุด</p> ER -