TY - JOUR AU - พระครูรัตนญาณโสภิต , PY - 2020/04/27 Y2 - 2024/03/29 TI - การอนุรักษ์ประเพณีแซนโฎนตาที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 8 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/240408 SP - 561 - 573 AB - <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการประเพณีแซนโฎนตาของชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์ประเพณีแซนโฎนตาที่มีผลต่อวิถีชีวิตของชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์</p><p>ผลจากการศึกษาพบว่า กำเนิดและพัฒนาการความเป็นมาประเพณีแซนโฎนตาโดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้นกำเนิดของแนวความคิดของประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบ่วงกรรมมีความบรรเทา ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแซนโฎนตาเห็นแนวทางในการที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป&nbsp; ทำให้ทุกข์เวทนาจากบ่วงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตาขึ้น แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ&nbsp; สะท้อนให้เห็นความรัก ความเมตตา ความกรุณา ความผูกพัน <br>ของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และชุมชน ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามประเพณีและพิธีกรรมแซนโฎนตา (สารทเดือนสิบ)&nbsp; ก็จะถูกสังคมลงโทษกล่าวหาว่าเป็นคนอกตัญญู และเชื่อว่าคนที่อกตัญญูจะประสบแต่ความล้มเหลวในชีวิตหาความสุขความเจริญไม่ได้ การทำประเพณีแซนโฎนตา ถือได้ว่าผู้ที่ได้ทำเป็นผู้มีใจชอบในการทำบุญสุนทาน <br>มีพื้นฐานนิสัยที่แสดงออกถึงความโอบอ้อมอารี รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติตน ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ส่งผลต่อ สังคม และประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เราต้องเข้าร่วมตั้งแต่เกิดจนตาย รวมถึงแม้จะเสียชีวิตไปแล้ว ก็ยังมีการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้วโดยมีความเชื่อว่าบุญกุศลที่ทำให้เมื่อมีการสิ้นชีวิตไปแล้วจะส่งผลบุญให้ผู้ที่เสียชีวิตนั้น ได้ไปสู่สุคติภพภูมิที่ดี</p> ER -