TY - JOUR AU - โกเมนต์, จริยา AU - ปัญญาดี, เฉลิมชัย AU - เอกเอี่ยม, บงกชมาศ AU - เตชะตันมีนสกุล, สุริยจรัส PY - 2020/03/23 Y2 - 2024/03/29 TI - นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนกับความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 8 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/236075 SP - 608 - 620 AB - <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยว และ 2) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยเชิงนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนทั้งปัจจัยระดับชุมชน และระดับครัวเรือนที่ส่งผลต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ชุมชนท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน 88 ชุมชน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยโปรแกรม G*Power ได้กลุ่มตัวอย่างระดับชุมชน 56 ชุมชน และระดับครัวเรือน 672 ครัวเรือน ทำการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สมการโครงสร้างพหุระดับ</p><p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาครัวเรือนในชุมชนท่องเที่ยวมีความเป็นปึกแผ่นระดับปานกลาง (= 3.31, S.D. = 0.84) โดยมิติที่มีความเป็นปึกแผ่นมากที่สุด คือ การบูรณาการทางวัฒนธรรม น้อยที่สุด คือ การบูรณาการทางการสื่อสาร 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชน พบว่า ปัจจัยระดับครัวเรือน การตอบสนองของครัวเรือนต่อนโยบายท่องเที่ยวชุมชน และผลประโยชน์จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเป็นปึกแผ่นของชุมชนได้ร้อยละ 40.50 (R<sup>2</sup> = 0.405, P&lt;0.05) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกมากที่สุด คือ การตอบสนองของครัวเรือนต่อนโยบายท่องเที่ยวชุมชน (&nbsp;= 0.658, P&lt;0.05) ส่วนปัจจัยระดับชุมชน ผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อชุมชน การสนับสนุนจากภายนอก การจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน และระยะเวลาการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเป็นปึกแผ่นของชุมชนได้ร้อยละ 76.80 (R<sup>2</sup> =0.768, P&lt;0.05) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบมากที่สุด คือ การจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน (= - 0.502, P&lt;0.05)</p> ER -