TY - JOUR AU - เชี่ยวเวช, ณัฐสุดา AU - บุญเจือ, กีรติ AU - หริมเทพาธิป, เมธา PY - 2020/02/08 Y2 - 2024/03/29 TI - อรรถปริวรรตการรักษาศีลแปดตามหลักปรัชญาหลังนวยุค: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 8 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/223847 SP - 257-267 AB - <p>&nbsp;การรักษาศีลแปดของอุบาสิกาเป็นการสมาทานเพื่อการประพฤติพรหมจรรย์อันเป็นแนวทางการพัฒนาฝึกฝนตนเองและเป็นครื่องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง&nbsp; แต่การรักษาศีลแปดไม่ใช่การรักษากฎเคร่งครัด&nbsp; ผู้วิจัยจึงต้องการที่จะหาคำตอบของคำถามวิจัยที่ว่า การรักษาศีลแปดสามารถตีความใหม่ด้วยกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลางได้หรือไม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน การตีความการรักษาศีลแปดตามหลักปรัชญาหลังนวยุคด้วยหลักอรรถปริวรรต เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอุบาสิกาและแม่ชี งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยทางปรัชญาอันได้แก่&nbsp; วิภาษวิธีและวิธีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างฝ่ายตรงข้ามที่ยึดมั่นในปรัชญากระบวนทรรศน์ยุคกลางกับฝ่ายผู้วิจัยและผู้สนับสนุนความคิดของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่า ฝ่ายตรงข้ามมีมุมมองว่า การรักษาศีลแปดไม่สามารถตีความใหม่ด้วยกระบวนทรรศ์หลังนวยุคสายกลางได้ แต่ต้องตีความตามหลักการของกระบวนทัศน์ยุคกลางเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะเหตุผล 2 ประการ คือ ประการแรก ศีลแปดเป็นเรื่องของศาสนาเป็นข้อประพฤติของผู้รักษาพรหมจรรย์ตามหลักศาสนา ประการที่สอง ศีลแปด เป็นศีลพรหมจรรย์ที่มุ่งโลกุตตระ &nbsp;แต่ผู้วิจัยมีความคิดเห็นแย้งกับข้อเสนอดังกล่าว และได้เสนอคำตอบใหม่ว่า การรักษาศีลแปดสามารถตีความใหม่ได้ด้วยหลักอรรถปริวรรตของปรัชญาหลังนวยุค ด้วยเหตุผลที่ว่า คำว่าพรหมจรรย์ในทางพุทธศาสนาเมื่อตีความโดยบริบทของคำแล้ว ความหมายของ “พรหมจรรย์” มีหลายอย่าง เช่น ทาน&nbsp; วิริยะ อริยมรรค&nbsp; ธรรมเทศนา เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นข้อธรรมที่ใช้สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องต้องกันกับหลักปรัชญาหลังนวยุคทั้งสิ้น ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นเหตุผลและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอุบาสิกา แม่ชีและผู้ปฏิบัติถือครองพรหมจรรย์เพื่อให้เกิดความสุขแท้ในโลกนี้และโลกหน้าด้วย</p> ER -