TY - JOUR AU - เฮืองวงษา, อำนวย AU - ครองยุติ, วิรญา AU - ไชยเสนา, มาลี PY - 2020/02/26 Y2 - 2024/03/29 TI - รูปแบบการพัฒนาการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 8 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/219316 SP - 108-120 AB - <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการผลิต การจำหน่ายและการส่งเสริมข้าวของแขวงจำปาสัก สปป.ลาว 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของแขวงจำปาสัก สปป.ลาว และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของแขวงจำปาสัก สปป.ลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชาวนาแขวงจำปาสัก สปป.ลาว จำนวน 396 คน ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาร่างรูปแบบ จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการผลิต การจำหน่ายและการส่งเสริมข้าวของแขวงจำปาสัก อยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการพัฒนาการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกของแขวงจำปาสัก สปป.ลาว ประกอบด้วย 2.1) การพัฒนาความรู้ในกระบวนการผลิต โดยการพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว 2.2) การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว การผลิตข้าวอย่างครบวงจร การทำนาแปลงรวม การผลิตข้าวที่มีราคาสูง การผลิตตามศักยภาพของพื้นที่ การลดต้นทุน การเตือนภัยป้องกัน การจัดทำฐานข้อมูล และการรับรองมาตรฐานคุณภาพข้าว 2.3) การสร้างเสริมศักยภาพชาวนา โดยปลูกฝังการพึ่งตนเอง การพัฒนาเครือข่าย การสร้างชาวนารุ่นใหม่ การตั้งกองทุนพัฒนาชาวนา และการตั้งศูนย์เรียนรู้ชาวนา 2.4) การพัฒนาตลาดส่งออก โดยการพัฒนาตลาดส่งออกข้าวคุณภาพสูง การตั้งหน่วยงานรับผิดชอบ การพัฒนาผลผลิตข้าว การพัฒนาเอกลักษณ์ข้าว การกำหนดตำแหน่งในตลาด การสร้างตราสินค้า การลดอุปสรรคการส่งออก การลดข้อกีดกันทางการค้า และการอำนวยความสะดวกผู้ส่งออก 2.5) การวิจัยและพัฒนาข้าว โดยการวิจัยลดความสูญเสียผลผลิต การเพิ่มผลผลิต การผลิตตามศักยภาพพื้นที่ การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรม การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว การผลิตเชิงพาณิชย์ การเพิ่มมูลค่า และการจัดตั้งศูนย์วิจัยในชุมชน 3) ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก</p> ER -