TY - JOUR AU - กีรตินวนันท์, แสน AU - รัตนช่วย, สิริยา PY - 2019/10/15 Y2 - 2024/03/28 TI - กลไกการสร้างความเข้มแข็งสวัสดิการชุมชนเมือง กรณีศึกษา ชุมชนชาวไทยเกาะกลาง ชุมชนชาวจีนโบ๊เบ๊ ชุมชนคริสต์กุฎีจีน และชุมชนมุสลิมมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 7 IS - 5 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/208074 SP - 1253-1268 AB - <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากลไกที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนเมือง โดยเฉพาะชุมชนเมืองหลวง ในเขตกรุงเทพมหานคร และสามารถพัฒนาไป สู่การจัดสวัสดิการชุมชนเมืองได้อย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะสำคัญและรูปแบบการจัด สวัสดิการชุมชนเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เกิดจากฐานวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 3 กลุ่มหลักคือ 1) กลุ่มผู้นำจำนวน 16 คน 2) กลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่และพนักงานของหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 4 คน 3) กลุ่มสมาชิกชุมชนทั้ง 4 ชุมชน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์กลุ่ม 4) การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกสำคัญของชุมชนเมืองที่เป็นกรณีศึกษา 4 ชุมชน ได้นำมาใช้และถือเป็นกลไกหลักร่วมกัน มี 5 กลไก ประกอบด้วยหลักศาสนาและความเชื่อสำคัญของแต่ละศาสนา ประเพณีและวันสำคัญของชุมชน ระบบเครือญาติ ศูนย์รวมจิตใจชุมชน และระบบเครือข่ายความสัมพันธ์ 2) รูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนเมืองมี 7 รูปแบบ คือ สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านความปลอดภัย สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านการเงิน สวัสดิการชุมชน เมืองทางด้านสิ่งแวดล้อม สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านการศึกษา สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านนันทนาการ สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านที่อยู่อาศัย สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านความมั่นคงในการดำรงชีวิต ดังนั้น สรุปผลการศึกษาเชิงเปรียบเทียบรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองที่เกิดขึ้น สามารถแสดงให้เห็นถึงรูปแบบ สวัสดิการชุมชนเมืองที่ทุกชุมชนเมืองต้องการและเหมาะสมกับชุมชนที่มีฐานอัตลักษณ์ศาสนาทุกศาสนา 2 รูปแบบ คือ สวัสดิการชุมชนเมืองด้านความปลอดภัย และสวัสดิการชุมชนเมืองด้านการเงิน ส่วนสวัสดิการ ชุมชนเมืองด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นรูปแบบที่ปรากฏกับชุมชนที่ล้อมรอบด้วยลำคลองเป็นหลัก สำหรับสวัสดิการ ชุมชนเมืองด้านการศึกษาจะเป็นรูปแบบที่ปรากฏกับชุมชนคริสต์และชุมชนมุสลิม ส่วนสวัสดิการชุมชนเมือง ด้านนันทนาการจะเป็นรูปแบบที่โดดเด่นของชุมชนคริสต์และชุมชนชาวจีน</p> ER -