TY - JOUR AU - บุตรศักดิ์ศรี, ภราดี AU - สติวโร, พระมหาอภิเดช AU - โอฐสู, บุญเลิศ PY - 2019/10/29 Y2 - 2024/03/29 TI - การประเมินความก้าวหน้าการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 7 IS - 5 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/189792 SP - 1434-1446 AB - <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสังโยชน์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาการละสังโยชน์กับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 3) ศึกษาการประเมินความก้าวหน้าการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารในคัมภีร์พระพุทธศาสนาร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากพระวิปัสสนาจารย์ และผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน</p><p>ผลการศึกษา พบว่า 1) สังโยชน์ เป็นธรรมที่ผูกมัดสัตว์ให้ติดอยู่ในวงจรแห่งทุกข์ มี 10 ประการ&nbsp; ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สังโยชน์เบื้องต่ำ หมายถึง สังโยชน์ที่นำพาสัตว์ไปเกิดในรูปาวจรภูมิ มี 5 ประการ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และปฏิฆะ กับสังโยชน์เบื้องสูง หมายถึง สังโยชน์ที่นำพาสัตว์ไปเกิดในอรูปาวจรภูมิ มี 5 ประการ ได้แก่ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะและอวิชชา&nbsp;&nbsp;</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) หลักธรรมที่สัมพันธ์กับการละสังโยชน์ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ประกอบด้วย สติปัฏฐาน 4&nbsp; สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4&nbsp; อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 และการพิจารณาไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 โดยแนวทางการปฏิบัติสำหรับละสังโยชน์ทั้ง 10 ประการ ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน</p><p>3) ความก้าวหน้าในการละสังโยชน์ของผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นไปตามลำดับ ดังนี้ ผู้เจริญสติปัฏฐาน มีสติอยู่ที่อารมณ์กรรมฐาน แยกรูปแยกนามออกจากกัน เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 หรือรูปนาม และเกิดวิปัสสนูปกิเลส อาการทั้ง ๔ นี้ จะปรากฏขึ้นตามลำดับ ซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าของการละสังโยชน์ในเบื้องต้น เมื่อเจริญสติปัฏฐานอย่างต่อเนื่อง จะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การละสังโยชน์เป็นสมุจเฉทได้ในที่สุด โดยมีหลักปฏิบัติคือมรรค 8 สรุปเป็นสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิและปัญญา ซึ่งมีอยู่พร้อมในสติปัฏฐาน</p> ER -