TY - JOUR AU - ปิยภาณี, พระมหานันทกรณ์ AU - สิริวโร, พระมหาพรชัย AU - กิตฺติเมธี, พระมหาขวัญชัย AU - เฟื่องฟูลอย, เพ็ญพรรณ PY - 2019/03/29 Y2 - 2024/03/29 TI - พุทธจริยธรรมกับแนวทางการแก้ปัญหาการอุ้มบุญในสังคมไทย JF - วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร JA - JMPS VL - 7 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/165635 SP - 570-584 AB - <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1)&nbsp; เพื่อศึกษาการอุ้มบุญในสังคมไทย 2) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธจริยธรรมกับแนวทางการแก้ไขปัญหาการอุ้มบุญในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ในสังคมไทยมีการแก้ปัญหาการมีบุตรยากสามารถทำได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทำให้เกิดปัญหาทางด้านต่างๆ คือ ปัญหาด้านศีลธรรมทางศาสนาว่าการอุ้มบุญแม้จะอ้างถึงการเกิดจากครรภ์ก็ตาม แต่เป็นการเกิดขึ้นที่ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ&nbsp; แต่เป็นไปตามเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์&nbsp; ปัญหาด้านจริยธรรมเรื่องทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการแสวงหาประโยชน์ ปัญหาด้านกฎหมายเรื่องปัญหาด้านสิทธิในเรื่องเด็ก ความเป็นบิดามารดา</p><p style="margin: 0px; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แนวทางการแก้ปัญหาการอุ้มบุญในสังคมไทยตามหลักพุทธจริยธรรม คือ การแก้ไขปัญหาทางด้านกฎหมายด้วยหลักมรรค เพื่อเป็นการพิจารณาข้อห้ามและข้ออนุญาตในการอุ้มบุญอย่างถูกต้อง แก้ปัญหาเรื่องสิทธิด้วยหลักเจตนาที่เป็นฉันทะและเมตตา แก้ปัญหาทางด้านแพทย์ด้วยการเข้าใจหลักพีชนิยาม หลักศีล และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยหลักโยนิโสมนสิการก่อนการตัดสินใจทำการอุ้มบุญ และแก้ปัญหาจริยธรรมทางการแพทย์ด้วยหลักสัปปุริสธรรม เพื่อเข้าใจหลักการและข้อกำหนดต่างๆ ให้เหมาะสมกับการอุ้มบุญ สุดท้ายคือด้านศีลธรรมอันดีตามหลักจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยหลักพรหมวิหาร 4 หลักทิศ หลักสังคหวัตถุ 4 ให้เกิดธรรมะเจริญขึ้นเมื่อมีการอุ้มบุญ และพิจารณาไปถึงปัญหาการอุ้มบุญที่สาเหตุคือความอยากด้วยการไม่ควรทำการอุ้มบุญ แต่ควรดับทุกข์ภายในของผู้ต้องการอุ้มบุญ</p> ER -